You are viewing this post: ดอกเบี้ย เขาคิดกันยังไง? | MONEY 101 EP.1 | อัตราดอกเบี้ยลอยตัว
ดอกเบี้ย เขาคิดกันยังไง? | MONEY 101 EP.1
นอกจากการดูบทความนี้แล้ว คุณยังสามารถดูข้อมูลที่เป็นประโยชน์อื่นๆ อีกมากมายที่เราให้ไว้ที่นี่: ดูความรู้เพิ่มเติมที่นี่
MONEY 101 ความรู้การเงินพื้นฐานสั้นๆ ง่ายๆ เริ่มตอนแรกด้วยเรื่อง ‘ดอกเบี้ย’ เคยรู้กันหรือเปล่าว่าเขาคำนวณดอกเบี้ยกันอย่างไร?
———————————————
THE STANDARD : STAND UP FOR THE PEOPLE
สำนักข่าวที่นำเสนอข้อมูลข่าวสารในแนวทางสร้างสรรค์
THE STANDARD Website : http://www.thestandard.co
Facebook : https://www.facebook.com/thestandardth
Twitter : https://twitter.com/thestandardth
Ig : @thestandardth.ig
ดอกเบี้ย Money101 KrungthaiAXALife TheStandardco TheStandardth StandUpforThePeople MoneyCoachTH
#คุยต้องรวย “รีไฟแนนซ์,ดอกเบี้ยลอยตัว” เข้าใจง่ายในคลิปนี้!!!
หลายๆคนอาจจะยังไม่เข้าใจว่า การรีไฟแนนซ์,ดอกเบี้ยลอยตัว คืออะไร
ถ้าอยากจะแก้ปัญหาด้านการเงินก็ต้องรู้กันไว้หน่อย…
ในคลิปโค้ชหนุ่มอธิบายไว้แล้ว ลองฟังดู!!
คุยต้องรวย หนุ่มมันนี่โค้ช รีไฟแนนซ์ดอกเบี้ยลอยตัวเข้าใจง่ายในคลิปนี้
กู้ซื้อบ้านจะเลือกดอกเบี้ยบ้านแบบไหนดี | วิธีเลือกสินเชื่อบ้าน
กู้ซื้อบ้านจะเลือกดอกเบี้ยบ้านแบบไหนดี | วิธีเลือกสินเชื่อบ้าน
สวัสดีครับผม วิน Guru Living ครับ วันนี้ผมจะคุยกับหัวข้อที่ได้รับความสนใจมากๆและผมเชื่อว่าต้องเป็นปัญหาของหลายๆคนแน่ๆครับ นั่นคือ เวลาที่เราจะกู้ขอสินเชื่อบ้านเราจะเลือกดอกเบี้ยบ้านแบบไหนดี ดอกเบี้ยบ้านแบบไหนที่เหมาะกับเราคลิปนี้ผมจะมาสรุปให้ฟังครับ
ลักษณะของดอกเบี้ยบ้านที่เราจะมาคุยกันวันนี้นะครับมันจะแบ่งได้ 2 แบบหลักๆครับนั่นคือแบบคงที่และแบบลอยตัวครับ
ดอกเบี้ยบ้านแบบคงที่คือ
ดอกเบี้ยบ้านที่ธนาคารจะกำหนดเป็นค่าตายตัวเลยครับว่าปีที่เท่านี้เราจ่ายดอกเบี้ยเท่าไหร่ยกตัวอย่างเช่นบางธนาคารบอกว่าให้อัตราดอกเบี้ยคงที่
ปีที่ 1 2.5%
ปีที่ 2 2.8%
ปีที่ 3 3%
ดอกเบี้ยที่เราต้องจ่ายให้กับธนาคารก็จะเป็นไปตามที่ตกลงตามนี้เลยครับไม่มีการเพิ่มขึ้นหรือลดลง
แต่สำหรับดอกเบี้ยบ้านอีกแบบนะครับเรียกว่าดอกเบี้ยแบบลอยตัวครับ
ขึ้นดอกเบี้ยแบบลอยตัวนี้ครับอัตราดอกเบี้ยจะถูกหรือแพงจะขึ้นอยู่กับค่าที่เรียกว่า MRR ครับ Minimum Retail Rate อัตราดอกเบี้ยที่ธนาคารปล่อยให้กับลูกค้ารายย่อยนะครับก็คือถ้าเรากู้สินเชื่อบ้านหรือว่าสินเชื่อส่วนบุคคลเนี่ยเราก็จะใช้ค่า mrr ตัวนี้ล่ะครับในกรณีเราเป็นลูกค้ารายย่อยทั่วไป
โดยถ้าเป็นดอกเบี้ยแบบลอยตัวธนาคารก็อาจจะกำหนดว่าเช่น
ปีที่ 1 MRR 4
ปีที่ 23 MRR 3
ซึ่งถ้าธนาคารให้อัตราดอกเบี้ยมาแบบนี้ครับเราก็ต้องมาดูค่า mrr ปัจจุบันของธนาคารนั้นๆครับว่าตอนนี้ MRR ของเขาอยู่ที่เท่าไร
ยกตัวอย่างให้ดูแบบเห็นภาพชัดๆเลยนะครับสมมุติว่าผมไปกู้เงิน
ธนาคาร A ตอนนี้ mrr ของธนาคารนี้อยู่ที่ 6%
ถ้าแทนค่าจากโจทย์ด้านบนจะได้เป็น
ปีที่ 1 MRR 4 = 64 = 2%
ปีที่ 23 MRR 3 = 6 3 = 3%
สวัสดีครับก็เป็นทั้ง 2 รูปแบบของอัตราดอกเบี้ยนะครับซึ่งโดยปกติเวลาเราไปกู้ซื้อบ้านหรือรีไฟแนนซ์บ้านครับเราจะต้องเลือกว่าเราจะเลือกแบบไหน
มาถึงคำถามสำคัญนะครับว่าตกลงแบบไหนดีกว่ากันนะครับ
โดยส่วนมากแล้วนะครับ ถ้าเราเลือกอัตราดอกเบี้ยแบบลอยตัวครับอัตราดอกเบี้ยเฉลี่ยแล้วจะถูกกว่าแบบคงที่มากๆครับเพราะธนาคารไม่จำเป็นต้องแบกความเสี่ยง
ความเสี่ยงอะไรรู้ไหมครับ ถ้าเราเลือกอัตราดอกเบี้ยแบบลอยตัวครับอัตราดอกเบี้ยที่เราต้องจ่ายธนาคารจะขึ้นอยู่กับภาวะเศรษฐกิจและอัตราดอกเบี้ยนโยบายโดยรวมของประเทศครับ ดังนั้นครับหมายความว่าถ้าช่วงไหนอัตราดอกเบี้ยนโยบาย ที่ออกโดยธนาคารแห่งประเทศไทยประกาศลดลงช่วงนั้นเราก็จะจ่ายดอกเบี้ยต่ำไปด้วยครับ เหมือนช่วงเวลานี้นะครับที่อัตราดอกเบี้ยนโยบายค่อนข้างต่ำ แต่ในทางกลับกันครับ ถ้าเกิดว่าช่วงไหนอัตราดอกเบี้ยนโยบายปรับขึ้นหมายความว่าเราต้องจ่ายดอกเบี้ยใน Rate ที่แพงขึ้นเหมือนกันครับ
ซึ่งจริงๆแล้วแนวโน้มอัตราดอกเบี้ยนโยบายครับ ของประเทศต่างๆทั่วทั้งโลกเลยนะครับจริงๆมันมีแนวโน้มเป็น Down Trend หรือจะลดลงเรื่อยๆครับ แต่มันก็มีบางช่วงเวลาเหมือนกันนะครับที่ดอกเบี้ยนโยบายปรับตัวขึ้นดังนั้นก็เป็นเรื่องที่ต้องระมัดระวังและทำความเข้าใจกันนะครับ
แต่สำหรับคนที่เลือกอัตราดอกเบี้ยแบบคงที่หรือที่เรียกว่า Fix Rate นะครับ ผมต้องบอกว่าการเลือกแบบนี้ครับเราไม่ต้องสนใจเศรษฐกิจไม่ต้องสนใจดอกเบี้ยนโยบายว่าเขาจะเพิ่มหรือเขาจะลดเลยครับเราจ่ายดอกเบี้ยตามแต่ตกลงกับธนาคารเลย
ดังนั้นครับกลับมาคำถามเลยว่าตกลงเราควรเลือกอะไรดีครับของผมนะครับเอาที่เราสบายใจครับถ้าเกิดว่าเราคาดการณ์ว่าดอกเบี้ยนโยบายจะลดลงเรื่อยๆนะครับเราก็อาจจะเลือกเป็นอัตราดอกเบี้ยแบบลอยตัวก็ได้เพราะเราจะได้ดอกเบี้ยที่ถูกลงเรื่อยๆครับแบบนี้ก็โอเคหรือถ้าใครเป็นคนไม่ชอบเสี่ยงหรือไม่ชอบลุ้นนะครับอยากได้อะไรที่มันคงที่เป็นตัวเลขที่สามารถคำนวณได้ก็อาจจะเลือกเป็นอัตราดอกเบี้ยแบบคงที่ซึ่งมันก็ไม่มีผิดไม่มีถูกนะครับ
ต้องบอกอย่างนี้นะครับว่าอัตราดอกเบี้ยที่แตกต่างกันสัก 12 เปอร์เซ็นต์ สำหรับบางคนเขายอมแลกมาครับเพื่อความสบายใจเล็กๆน้อยๆนะไม่ต้องมากังวลว่าต่อให้เศรษฐกิจมันเปลี่ยนแปลงไปขนาดไหนต่อให้ดอกเบี้ยมันขึ้นขนาดไหนเขาก็ยังจ่ายในอัตราที่เขายอมรับได้แบบนี้มันก็มีเหมือนกันนะครับสุดท้ายก็ลองไปพิจารณากันดูนะฮะ
ดอกเบี้ยบ้าน กู้บ้าน เลือกดอกเบี้ยบ้าน ดอกเบี้ย สินเชื่อบ้าน
ดอกเบี้ยเงินกู้แบบ ลอยตัว กับ คงที่ ต่างกันยังไง??
Created by VideoShow:http://videoeditorglobalserver.com/free
อัตราดอกเบี้ยบ้าน MRR MLR MOR คืออะไร เกี่ยวข้องยังไงกับคนที่จะกู้ซื้อบ้าน ? | Guru Living
MRR MLR MOR คืออะไร เกี่ยวข้องยังไงกับคนที่กู้ซื้อบ้าน
MRR MLR MOR คนที่กำลังวางแผนจะขอินเชื่อกับทางธนาคารคงเคยได้ยินตัวย่อพวกนี้กันมาแล้วใช่ไหมครับ เพราะปรกติเวลาเราไปสอบถามข้อมูลเกี่ยวกับสินเชื่อบ้านมา พนักงานเขาจะบอกเป็น MRR บ้างหละ MLR อะไรบ้างหละ วันนี้ผมจะมาอธิบายคำศัพย์เหล่านี้กันครับว่ามันเกี่ยวข้องยังไงกับคนที่กพลีงวางแผนจะกู้ซื้อบ้าน มาดูกันครับ
ก่อนอื่นขออธิบายโครงสร้างสินเชื่อที่อยู่อาศัยหรือโครงสร้างของหนี้บ้านเราก่อนนะครับว่า โดยปรกติแล้วหนี้ที่เราไปกู้ธนาคารมาเนี่ยเขามีลักษณะการคิดดอกเบี้ยอย่างไรบ้าง
โดยปรกติแล้วสินเชื่อที่อยู่อาศัยของธนาคารพาณิชย์แต่ละที่จะมีการกำหนดอัตราดอกเบี้ยของสินเชื่อนั้นๆเป็นสองลักษณะใหญ่ๆครับคือ
1.ดอกเบี้ยเงินกู้แบบคงที่ (Fixed Rate)
อัตราดอกเบี้ยแบบคงที่หมายความว่าอัตราดอกเบี้ยจะคงที่ไว้ตามที่เราได้ตกลงกับธนาคารที่ปล่อยสินเชื่อนั้นๆ เช่นถ้าเราตกลงว่าเราจะขอกู้ในอัตราดอกเบี้ยคงที่ 5% ในช่วง 3 ปีแรกเราก็จะได้ดอกเบี้ยตามที่ตกลงไว้ครับ ทางธนาคารจะไม่สามารถเรียกเก็บอัตราดอกเบี้ยเกินกว่าที่ตกลงกับเราไว้ได้
2 ดอกเบี้ยเงินกู้แบบลอยตัว ( Floating Rate )
อัตราดอกเบี้ยแบบลอยตัวหมายความว่า ดอกเบี้ยสินเชื่อของเราจะเปลี่ยนแปลงไปตามที่สถาบันการเงินกำหนดครับ โดยอัตราดอกเบี้ยในส่วนนี้สถาบันการเงินจะออกมากำหนดเป็นงวดๆแล้วแต่นโยบายในแต่ละช่วงครับ โดยจะอ้างอิงตามค่า MRR , MOR , MLR ในแต่ละช่วงเวลา
โดยปรกติการที่เราาไปกู้สินเชื่ที่อยู่อาศัย ทางธนาคารส่วนมากจะกำหนดอัตราดอกเบี้ยในช่วง 1 3 ปีแรกเป็นแบบคงที่ Fixrate ครับและที่สำคัญเป็นอัตราดอกเบี้ยที่ค่อนข้างจะต่ำด้วยครับเช่น คิดคงที่ 3 ปีแรก 5 % และในปีที่ 3 เป็นต้นไปดอกเบี้ยสินเชื่อของเราก็จะปรับเป็นแบบลอยตัวตามค่า MRR , MLR และ MOR ตามที่ธนาคารกำหนดในช่วงนั้นๆครับ
ดังนั้นเห็นไหมครับว่า MRR MLR MOR เป็นตัวกำหนดอัตราดอกเบี้ยของเราเลยครับว่าเราจะต้องจ่ายดอกเบี้ยแพงหรือถูก
MLR (Minimum Loan Rate)
หมายถึงอัตราดอกเบี้ยที่ธนาคารพาณิชย์เรียกเก็บจากลูกค้ารายใหญ่ชั้นดี เช่น มีประวัติการเงินที่ดี มีหลักทรัพย์ค้ำประกันอย่างเพียงพอ โดยส่วนใหญ่ใช้กับเงินกู้ระยะยาวที่มีกำหนดระยะเวลาที่แน่นอน เช่น สินเชื่อเพื่อการประกอบธุรกิจ
MOR (Minimum Overdraft Rate)
หมายถึงอัตราดอกเบี้ยที่ธนาคารพาณิชย์เรียกเก็บจากลูกค้ารายใหญ่ชั้นดีประเภทวงเงินเบิกเกินบัญชี
MRR (Minimum Retail Rate)
หมายถึงอัตราดอกเบี้ยที่ธนาคารพาณิชย์เรียกเก็บจากลูกค้ารายย่อยชั้นดี เช่น สินเชื่อส่วนบุคคล, สินเชื่อที่อยู่อาศัย
โดยทั่วไป อัตราดอกเบี้ย MRR จะสูงกว่า MOR และ อัตราดอกเบี้ย MOR จะสูงกว่า MLR ซึ่งส่วนต่างระหว่างอัตราดอกเบี้ย MRR และ MLR เป็นตัวสะท้อนระดับความเสี่ยงที่ต่างกันระหว่างลูกค้ารายใหญ่และรายย่อย
ยกตัวอย่างเช่น ธนาคารกำหนดว่า อัตราดอกเบี้ยของเราจะคงที่ 4% ในช่วง 3 ปีแรก และในปีที่ 4 อัตราดอกเบี้ยจะเป็น MRR 2 หมายความว่าเราต้องไปดูว่าช่วงนั้น MRR ของธนาคารที่เราขอสินเชื่อเป็นเท่าไร (ถ้าเกิดว่าสมมุติ MRR = 7 ) หมายความว่าดอกเบี้ยที่เราต้องจ่ายในปีที่ 4 จะเป็น 7 2 = 5% ต่อปีครับ ซึ่งในแต่ละช่วง MRR จะเปลี่ยนไปเรื่อยๆนะครับแล้วแต่นโยบายของธนาคาแห่งประเทศไทย
โดยอัตราของ MRR , MOR และ MLR จะมีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดครับขึ้นอยู่กับช่วงเวลาและนโยบายของธนาคารแห่งประเทศไทยครับ และที่สำคัญ MRR MOR และ MLR ของแต่ละธนาคารจะไม่เท่ากันนะครับ ขึ้นอยู่กับนโยบายของแต่ละธนาคาร เราในฐานะผู้บริโภคควรศึกษาข้อมูล และ รายละเอียดให้รอบคอบก่อนการขอสินเชื่อนะครับ
………………………………………………
ติดต่องาน
Mail: [email protected]
website: https://gurulivingth.com/
Youtube : https://www.youtube.com/channel/UCSqymhgsUgVLaQNF6L5gg
Facebook: https://www.facebook.com/gurulivingth/
………………………………………………
mrr mlr ดอกเบี้ยบ้าน สินเชื่อที่อยู่อาศัย mrrคือ mlrคือ morคือ mrrแต่ละธนาคาร mrr2563 mrr2562 mlrแต่ละธนาคาร mlr2563 ดอกเบี้ยบ้าน2563 กู้ซื้อบ้าน
นอกจากการดูหัวข้อนี้แล้ว คุณยังสามารถเข้าถึงบทวิจารณ์ดีๆ อื่นๆ อีกมากมายได้ที่นี่: ดูวิธีอื่นๆINVESTMENT
Articles compiled by CASTU. See more articles in category: INVESTMENT