You are viewing this post: ขั้นตอนเขียนสัญญาจะซื้อจะขายเพื่อขอสินเชื่อซื้อบ้าน | แบบ ฟอร์ม ใบรับ เงิน มัดจำ
Table of Contents
ขั้นตอนเขียนสัญญาจะซื้อจะขายเพื่อขอสินเชื่อซื้อบ้าน | สาระน่ารู้อัพเดททุกวันที่นี่.
- 1.ชื่อของคู่สัญญา …
- 2.อสังหาริมทรัพย์ที่ตกลงจะซื้อขาย …
- 3.ราคาที่ตกลงซื้อขาย …
- 4.การชำระเงิน …
- 5.กำหนดเวลาการโอนกรรมสิทธิ์ …
- 6.ค่าธรรมเนียมโอนกรรมสิทธิ์และภาษี
รูปภาพที่เกี่ยวข้องกับเนื้อหา ขั้นตอนเขียนสัญญาจะซื้อจะขายเพื่อขอสินเชื่อซื้อบ้าน.
สามารถดูข้อมูลที่เป็นประโยชน์เพิ่มเติมได้ที่นี่: อ่านเพิ่มเติมเกี่ยวกับข้อมูลล่าสุดที่นี่
ที่เกี่ยวข้องกับหัวข้อ แบบ ฟอร์ม ใบรับ เงิน มัดจำ
ขั้นตอนการเขียนสัญญาจะซื้อจะขายสินเชื่อบ้านกับธนาคาร
>>https://castu.org เราหวังว่าข้อมูลนี้จะมีคุณค่าอย่างยิ่งสำหรับคุณ ขอบคุณมากที่รับชม.
แท็กเกี่ยวข้องกับเนื้อหาแบบ ฟอร์ม ใบรับ เงิน มัดจำ.
#ขนตอนเขยนสญญาจะซอจะขายเพอขอสนเชอซอบาน
วิธีเขียนสัญญาจะซื้อจะขาย,สัญญาซื้อบ้าน,สัญญาขายบ้าน,สัญญาจะซื้อจะขาย,ขั้นตอนการเขียนสัญญาจะซื้อจะขาย,ซื้อบ้าน,ขายบ้าน,สัญญาจะซื้อจะขายเขียนอย่างไร
ขั้นตอนเขียนสัญญาจะซื้อจะขายเพื่อขอสินเชื่อซื้อบ้าน
แบบ ฟอร์ม ใบรับ เงิน มัดจำ.
สัญญาซื้อขายที่ดิน สัญญาจะซื้อจะขาย ที่ผู้ซื้อและผู้ขาย 2 ฝ่ายควรรู้
การจะมีบ้านเป็นของตัวเองสักหลัง ต้องเกี่ยวข้องกับสัญญาหลายฉบับ หนึ่งในนั้นคือสัญญาจะซื้อจะขาย ไม่ว่าจะเป็นสัญญาจะซื้อจะขายที่ดิน หรือสัญญาจะซื้อจะขายบ้าน ซึ่งผู้ซื้อจะต้องทำความเข้าใจก่อนทำสัญญาดังกล่าว
สัญญาซื้อขายที่ดิน และสัญญาจะซื้อจะขาย เป็นสัญญาที่เกี่ยวข้องกับการซื้อขายที่ดิน หรือการจะมีบ้านของตัวเองสักหลัง ซึ่งผู้ซื้อจะต้องทำความเข้าใจก่อนทำสัญญาดังกล่าว
หลังจากตระเวนหาบ้านที่ถูกใจอยู่นาน จนกระทั่งในที่สุดคุณก็ตกลงใจที่บ้านหลังหนึ่งในบรรดาตัวเลือกที่คัดเอาไว้เปรียบเทียบ หากคุณมีเงินสดในมือมากพอสำหรับมูลค่าบ้านทั้งหลังก็อาจจะชวนเจ้าของบ้านไปยังสำนักงานที่ดินเพื่อทำสัญญาซื้อขายที่ดิน จดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์กันได้เลยในทันที
แต่โดยส่วนใหญ่แล้วผู้ซื้อจะไม่มีกำลังทรัพย์มากพอที่จะซื้อขาย ทำสัญญาซื้อขายที่ดินได้ในทันที จึงจำเป็นที่จะต้องกู้เงินมาเพื่อซื้อบ้านด้วยการขอสินเชื่อจากสถาบันการเงินก่อน และเพื่อป้องกันผู้ซื้อรายอื่นที่มีความพร้อมมากกว่าชิงซื้อตัดหน้าไป เจ้าของบ้านกับผู้ซื้อจึงทำสัญญาระหว่างกัน ไม่ว่าจะเป็นสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้าง สัญญาจะซื้อจะขายที่ดิน หรือสัญญาจะซื้อจะขายบ้าน และพร้อมซื้อขายจริง ๆ ถึงจะเข้าสู่การทำสัญญาซื้อขายที่ดินร่วมกันหรือโอนกรรมสิทธิ์
สัญญาเหล่านี้มีประเด็นอะไรที่ควรดู มาเรียนรู้ไปพร้อม ๆ กัน และในตอนท้ายเรามีสัญญาจะซื้อจะขายที่คุณสามารถดาวน์โหลดไปใช้ได้ด้วย
อ่านหัวข้อที่คุณสนใจ
- สัญญาจะซื้อจะขายคืออะไร และมีจุดประสงค์ใด
- ถ้าหากมีการผิดสัญญาจะซื้อจะขายขึ้นจะมีผลอย่างไรบ้าง
- ซื้อขายอสังหาริมทรัพย์ควรมีการวางมัดจำเท่าไร
- กำหนดระยะเวลาเท่าไร ในการชำระเงินและขอสินเชื่อ
- ส่วนประกอบของสัญญาจะซื้อจะขาย
สัญญาจะซื้อจะขายคืออะไร และมีจุดประสงค์ใด
สัญญาจะซื้อจะขาย ไม่ว่าจะเป็นสัญญาจะซื้อจะขายที่ดิน สัญญาจะซื้อจะขายบ้าน หรือสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้าง เป็นสัญญาที่ทำขึ้นเพื่อให้เกิดนิติสัมพันธ์ระหว่างผู้จะซื้ออสังหาริมทรัพย์และผู้จะขายอสังหาริมทรัพย์
ถือเป็นการแสดงเจตนาของฝ่ายผู้จะซื้อว่าต้องการจะซื้ออสังหาริมทรัพย์ของผู้จะขาย และวางเงินมัดจำไว้เป็นประกันว่าจะมีการทำสัญญาซื้อขายระหว่างกัน และเกิดการโอนกรรมสิทธิ์ขึ้นภายในช่วงระยะเวลาที่กำหนด ขณะเดียวกันก็แสดงเจตนาของผู้จะขายที่จะไม่ขายอสังหาริมทรัพย์ให้บุคคลอื่นในช่วงเวลาที่กำหนดในสัญญาฯ
ถ้าหากมีการผิดสัญญาจะซื้อจะขายขึ้นจะมีผลอย่างไรบ้าง
ถ้าหากพ้นจากช่วงเวลาดังกล่าวไปแล้ว หรือผู้จะซื้อเปลี่ยนใจไม่ซื้อ ถือว่าเป็นฝ่ายผิดสัญญาและให้ฝ่ายผู้จะขายริบเงินมัดจำนั้นเสีย ส่วนฝ่ายผู้จะขายนั้นมีหน้าที่ไม่ขายอสังหาริมทรัพย์นั้นให้กับผู้จะซื้อรายอื่นในช่วงระยะเวลาดังกล่าว และกรณีที่ผู้จะขายผิดสัญญา ผู้จะซื้อไม่เพียงแต่เรียกเงินมัดจำคืน แต่สามารถฟ้องร้องให้ขายอสังหาริมทรัพย์ให้แก่ตนได้ และเรียกร้องค่าเสียหายอื่น ๆ
แต่ถ้ามีการซื้อขายกันเป็นไปตามสัญญาจะซื้อจะขายก็จะนำเงินมัดจำนี้ไปหักออกจากราคาขาย ผู้ซื้อจ่ายเพิ่มเฉพาะส่วนที่เหลือหลังหักเงินมัดจำออกไปแล้ว
ซื้อขายอสังหาริมทรัพย์ควรมีการวางมัดจำเท่าไร
กรณีที่เป็นอสังหาริมทรัพย์มือสองนั้นโดยทั่วไปแล้วจะวางเงินมัดจำอยู่ในช่วง 10,000-20,000 บาท หรือบางทีก็คิดในอัตราร้อยละ 5-10 จากราคาขาย แต่ถ้าเป็นอสังหาริมทรัพย์มือหนึ่ง มัดจำในที่นี้คือเงินจองอาจจะเก็บเพียงร้อยละ 1-5 ขึ้นอยู่กับแต่ละโครงการ ซึ่งทั้งนี้ทั้งนั้นเงินมัดจำจะมีจำนวนมากน้อยเพียงใดจะขึ้นอยู่กับการตกลงระหว่างผู้จะซื้อและผู้จะขายเป็นหลัก
กำหนดระยะเวลาเท่าไร ในการชำระเงินและขอสินเชื่อ
โดยทั่วไปแล้วจะกำหนดระยะเวลาให้คู่สัญญาทำสัญญาซื้อขายที่ดินและสิ่งปลูกสร้างกัน พร้อมทั้งชำระเงินในส่วนที่เหลือจากมัดจำ ในช่วงเวลา 1-3 เดือนนับจากทำสัญญา ซึ่งเป็นระยะเวลาที่มากพอที่ฝ่ายผู้จะซื้อจะสามารถติดต่อสถาบันการเงินเพื่อขอสินเชื่อต่าง ๆ ได้
ส่วนประกอบของสัญญาจะซื้อจะขาย
สัญญาจะซื้อจะขายนั้นจะประกอบไปด้วย 10 ส่วน ได้แก่ รายละเอียดการจัดทำสัญญา รายละเอียดของคู่สัญญา รายละเอียดอสังหาริมทรัพย์ ราคาขายและรายละเอียดการชำระเงิน รายละเอียดการจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ รายละเอียดการส่งมอบที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง การโอนสิทธิและคำรับรองของผู้จะขาย การผิดสัญญาการระงับสัญญา ข้อตกลงและเงื่อนไขอื่น ๆ และการลงชื่อของคู่สัญญาและพยาน ซึ่งในแต่ละองค์ประกอบมีรายละเอียดดังต่อไปนี้
ส่วนที่ 1 รายละเอียดการจัดทำสัญญา
ส่วนนี้มักจะปรากฎเป็นส่วนหัวของสัญญา เพื่อบันทึกข้อมูลวันเวลาที่มีการทำสัญญาขึ้น รวมไปถึงสถานที่ที่มีการจัดทำสัญญาฉบับนี้ขึ้น ถ้าหากไม่มีการกำหนดเวลาเริ่มต้นที่ให้สัญญามีผลบังคับใช้ ก็จะถือว่าสัญญามีผลนับตั้งแต่วันที่ซึ่งปรากฎอยู่ในส่วนนี้
ส่วนที่ 2 รายละเอียดของคู่สัญญา
คู่สัญญาของสัญญาซื้อขายที่ดิน สัญญาซื้อขายบ้าน หรือสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้าง กรณีที่เป็นการซื้อขายกันโดยตรงนั้นจะประกอบไปด้วย 2 ฝ่าย ฝ่ายหนึ่งคือผู้จะซื้อ และอีกฝ่ายคือผู้จะขาย ในส่วนนี้จะระบุข้อมูลที่แสดงตัวตนของคู่สัญญาทั้งสองฝ่าย ตั้งแต่ชื่อ-นามสกุล อายุ และที่อยู่ โดยจะใช้รายละเอียดตามที่แสดงบนบัตรประชาชนซึ่งสำเนาบัตรประชาชนจะเป็นเอกสารแนบท้ายสัญญาจะซื้อจะขาย
ส่วนที่ 3 รายละเอียดอสังหาริมทรัพย์
ในส่วนนี้จะแสดงรายละเอียดของอสังหาริมทรัพย์ที่จะซื้อจะขาย ไม่ว่าจะเป็นสัญญาซื้อขายที่ดิน สัญญาซื้อขายบ้าน ยกตัวอย่างเช่น ถ้าเป็นสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้าง เช่น บ้านเดี่ยว บ้านแฝด ทาวน์เฮ้าส์ จะแสดงเลขที่โฉนดที่ดิน (น.ส. 4 จ.) บ้านเลขที่ ที่ตั้งของที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง ขนาดเนื้อที่ และจำนวนสิ่งปลูกสร้างบนที่ดิน
สอนเขียนสัญญาจะซื้อจะขายที่ดิน แบบไหนถูกกฎหมายบังคับได้จริง!!!
คุยกับกันต์ EP17.. 5 ข้อที่ควรมีในสัญญาจะซื้อจะขาย
Articles compiled by CASTU. See more articles in category: BUSINESS
0 thoughts on “ขั้นตอนเขียนสัญญาจะซื้อจะขายเพื่อขอสินเชื่อซื้อบ้าน | แบบ ฟอร์ม ใบรับ เงิน มัดจำ”