ยาคุมกำเนิด ไม่ทำให้อ้วน ไม่เกิดฝ้า หน้าใส ป้องกันช้อตโกแลตชีส | ยี่ห้อ ยา คุม กํา เนิ ด กิน แล้ว ไม่ อ้วน

You are viewing this post: ยาคุมกำเนิด ไม่ทำให้อ้วน ไม่เกิดฝ้า หน้าใส ป้องกันช้อตโกแลตชีส | ยี่ห้อ ยา คุม กํา เนิ ด กิน แล้ว ไม่ อ้วน

ยาคุมกำเนิด ไม่ทำให้อ้วน ไม่เกิดฝ้า หน้าใส ป้องกันช้อตโกแลตชีส


นอกจากการดูบทความนี้แล้ว คุณยังสามารถดูข้อมูลที่เป็นประโยชน์อื่นๆ อีกมากมายที่เราให้ไว้ที่นี่: ดูความรู้เพิ่มเติมที่นี่

ช็อกโกแลตซีสต์ (Chocolate Cyst) คือ ถุงน้ำในรังไข่ประเภทหนึ่งที่เกิดจากเซลล์เยื่อบุมดลูกเจริญผิดที่ เมื่อถึงเวลาเป็นประจำเดือนจะทำให้มีเลือดสะสมและตกค้างก่อตัวเป็นซีสต์ โดยมีของเหลวลักษณะเหนียวข้นคล้ายช็อคโกแลตอยู่ภายใน ทางการแพทย์จึงเรียกอีกชื่อว่า ถุงน้ำช็อกโกแลต และยังจัดเป็นโรคเยื่อบุโพรงมดลูกเจริญเติบโตผิดที่ (Endometriosis) เช่นกัน
อาการของช็อกโกแลตซีสต์
ปวดบริเวณอุ้งเชิงกรานเรื้อรัง โดยจะรุนแรงมากขึ้นในช่วงมีรอบเดือน
ปวดประจำเดือนมาก ซึ่งมักจะเริ่มปวดก่อนประจำเดือนมา 23 วันไปจนหมดรอบเดือน ซึ่งจะต่างกับการปวดประจำเดือนปกติที่มักปวดในช่วงวันแรก ๆ และไม่รุนแรง
มีเลือดออกกะปริบกะปรอยทางช่องคลอด หรืออาการอื่น ๆ คล้ายกับช่วงมีประจำเดือน
รู้สึกเจ็บและปวดบริเวณช่องคลอดขณะมีเพศสัมพันธ์ ซึ่งอาการอาจคงอยู่หลังมีเพศสัมพันธ์ไปอีกประมาณ 12 ชั่วโมง
มีบุตรยาก
บางรายอาจมีอาการปวดขณะถ่ายอุจจาระหรือปวดบริเวณอุ้งเชิงกรานมากขณะปัสสาวะ
สาเหตุของช็อกโกแลตซีสต์
ปัจจุบันยังไม่ทราบสาเหตุการเกิดที่แน่ชัด แต่สันนิษฐานว่าน่าจะเกิดจาก ประจำเดือนไหลย้อนกลับไปในรังไข่ (Retrograde Menstruation) เพราะในสภาวะปกติของแต่ละเดือนจะมีการสร้างเยื่อบุขึ้นในมดลูก เพื่อรองรับไข่ที่จะมาฝังตัว แต่เมื่อไม่มีการฝังตัวก็จะทำให้เยื่อบุที่ถูกสร้างขึ้นหลุดลอกออกมาเป็นประจำเดือนทางช่องคลอด แต่ในกรณีของการเกิดช็อกโกแลตซีสต์ การบีบตัวของมดลูกบางจังหวะทำให้ประจำเดือนไหลย้อนไปทางปลายท่อนำไข่แทนที่จะไหลลงข้างล่างทางช่องคลอดเพียงทางเดียว จึงทำให้เซลล์เยื่อบุมดลูกไปฝังตัวและเจริญเติบโตในรังไข่จนเกิดเป็นถุงน้ำขึ้น เมื่อเป็นประจำเดือน ถุงน้ำดังกล่าวก็จะมีเลือดออกในถุงเหมือนเยื่อบุโพรงมดลูกลอกตัว ถุงน้ำจะมีขนาดใหญ่ขึ้นเรื่อย ๆ และมีลักษณะเป็นเลือดเก่า ๆ อยู่ภายใน

ทั้งนี้ ยังพบว่ามีปัจจัยเสี่ยงที่พัฒนาให้เกิดช็อกโกแลตซีสต์ขึ้นในบุคคลบางกลุ่มได้ง่าย โดยเฉพาะผู้หญิงที่อยู่ในช่วงอายุ 2540 ปี มีประวัติบุคคลในครอบครัวเป็นโรคนี้ ไม่เคยมีบุตรมาก่อน หรือมีรอบเดือนผิดปกติ เช่น ประจำเดือนมามากและมีระยะเวลานานกว่าปกติ รอบเดือนสั้น เริ่มมีประจำเดือนครั้งแรกตั้งแต่อายุยังน้อย
การรักษาโดยการใช้ยา จะแบ่งตัวยาออกเป็น 2 กลุ่มได้แก่
ยาแก้ปวดที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ (Non Steroidal AntiInflammatory Drugs) หรือเรียกแบบย่อว่า ยาเอ็นเสด (NSAIDs) เพื่อช่วยบรรเทาอาการปวดท้องน้อยหรือปวดระหว่างมีรอบเดือนที่ไม่รุนแรง ตัวอย่างยาที่นิยมใช้ เช่น ยาไอบรูโปรเฟน (Ibuprofen) ยานาพรอกเซน (Naproxen)
ยาฮอร์โมนเพศหญิง (Hormone Therapy) ใช้ในกรณีที่ผู้ป่วยมีอาการปวดมากและไม่ได้วางแผนตั้งครรภ์ในระยะอันใกล้ แพทย์อาจแนะนำให้ใช้ยาฮอร์โมนเพศหญิง เพราะการเพิ่มหรือลดของฮอร์โมนในช่วงรอบเดือนอาจส่งผลต่อการเจริญเติบโตของเยื่อบุมดลูก โดยตัวยาจะช่วยชะลอการเจริญเติบโตของเซลล์ให้ช้าลงและป้องกันการฝังตัวใหม่ของเซลล์เยื่อบุมดลูก ผู้ป่วยอาจต้องใช้ยาเป็นระยะเวลาประมาณ 36 เดือนตามแต่ละบุคคล แต่ในบางรายอาจพบอาการได้ใหม่หลังหยุดใช้ยา ตัวอย่างยาที่ใช้บ่อย เช่น ยาคุมกำเนิดรูปแบบต่าง ๆ ยากลุ่มฮอร์โมนโกนาโดโทรปิน รีลิสซิ่ง (Gonadotropin Releasing Hormone: GnRH) ยาฮอร์โมนโปรเจสเตอโรน (Progestin Therapy) ยาดานาซอล (Danazol)
การผ่าตัด เมื่อการรักษาด้วยยาไม่ช่วยให้อาการดีขึ้น ผู้ป่วยยังคงมีอาการปวดท้องอย่างรุนแรง เนื่องจากถุงน้ำมีขนาดใหญ่จนอาจกระทบกับอวัยวะอื่น แพทย์มักจะแนะนำให้ผู้ป่วยผ่าตัด เพื่อนำเซลล์เยื่อบุออกจากรังไข่ โดยส่วนใหญ่จะเป็นการผ่าตัดผ่านกล้องมากกว่าการผ่าตัดทางหน้าท้อง เนื่องจากรอยแผลมีขนาดเล็ก ใช้ระยะเวลาพักฟื้นน้อย และยังสามารถมีบุตรได้ในอนาคต ในกรณีที่อาการรุนแรงมาก แพทย์อาจพิจารณาให้ผ่าตัดมดลูกหรือรังไข่ออกทั้งหมด ซึ่งจะทำให้ผู้ป่วยเข้าสู่ภาวะหมดระดูหรือหมดประจำเดือนเร็วกว่าปกติ และต้องมีการใช้ฮอร์โมนทดแทน (Hormone Replacement Therapy) เข้ามาช่วยเสริม
ภาวะแทรกซ้อนของช็อกโกแลตซีสต์
ผู้ป่วยมักมีอาการปวดท้องเรื้อรัง บางรายอาจเกิดถุงน้ำแตกหรือฉีกขาด จึงต้องได้รับการผ่าตัดอย่างเร่งด่วน รวมไปถึงมีบุตรยาก เนื่องจากถุงน้ำอาจไปขวางไข่ไม่ให้ไปฝังตัวที่โพรงมดลูกได้อย่างสมบูรณ์
การป้องกันช็อกโกแลตซีสต์
ช็อกโกแลตซีสต์ไม่สามารป้องกันได้ เนื่องจากยังไม่ทราบสาเหตุการเกิดที่แน่ชัด แต่เชื่อว่าการใช้ยาคุมกำเนิดเป็นระยะเวลานาน เช่น ห่วงคุมกำเนิด ยาเม็ดหรือแผ่นแปะคุมกำเนิด อาจช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดช็อกโกแลตซีสต์ให้น้อยลง อย่างไรก็ตาม ผู้ป่วยควรดูแลสุขภาพให้แข็งแรง ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ และเมื่อพบความผิดปกติใด ๆ ควรไปพบแพทย์

ยาคุมกำเนิด ไม่ทำให้อ้วน ไม่เกิดฝ้า หน้าใส ป้องกันช้อตโกแลตชีส

(เช็คสูตร) ยาคุมเลือกยังไง ไม่อ้วน ไม่บวมน้ำ


คุณๆที่มีปัญหาทานยาคุมแล้วน้ำหนักขึ้น อยากได้สูตรที่ทานแล้วไม่อ้วน
แนะนำให้ดูคลิปนี้ค่ะ
เพราะการจะเลือกยาคุมให้เหมาะสม นอกจากจะดูเรื่องผลข้างเคียงเรื่องน้ำหนักตัวแล้ว
ยังต้องดูโรคประจำตัว อายุ การทานร่วมกับยาอื่นด้วย
ซึ่งในคลิปหม่องบอกรายละเอียดแนวทางการเลือกคร่าวๆไว้แล้ว
คุณๆดูเลยน้า
ยาคุม ยาคุมกินแล้วไม่อ้วน ยาคุมกำเนิด
สุขภาพความงามตามหลักการแพทย์
กูรูเช็ค
กูรูยาหม่อง

(เช็คสูตร) ยาคุมเลือกยังไง ไม่อ้วน ไม่บวมน้ำ

สาวจีนแข่งกินพริกในบ่อน้ำร้อน 20 เม็ดนาที


สาวจีนแข่งกินพริกในบ่อน้ำร้อน 20 เม็ดนาที

ประสบการณ์ฝังยาคุมกำเนิด อ้วนไหม สิวขึ้นไหม กันได้จริงหรือปล่าว?


ทุกอย่างที่พูดไปในวิดีโอเราได้นำมาจากประสบการณ์ส่วนตัว และทำการค้นหามาจากอินเตอร์เน็ตบางส่วนนะคะ อาจจะมีช้อมูลตกหล่นบ้างก็ต้องขออภัยไว้ด้วยค่ะ หากมีข้อมูลเพิ่มเติมที่เพื่อนๆอยากแชร์ หรืออยากสอบถามสามารถ inbox เข้ามาในไอจีส่วนตัวได้เลย หรือคอมเมนต์ไว้ด้านล่างก็ได้ เรายินดีที่จะตอบกับทุกคนค่า
♡♡ xx Thank you for watching xx ♡♡

MY SOCIALS
▶ Instagram: Thisisranan
▶ Twitter: Itisranan
▶ Snapchat : thisisraenae

ประสบการณ์ฝังยาคุมกำเนิด อ้วนไหม สิวขึ้นไหม กันได้จริงหรือปล่าว?

ยาคุมลดสิว ลดหน้ามัน ลดขนดก ไม่อ้วน|Nurse Kids


ทำความเข้าใจเรื่องของฮอร์โมน ซึ่งจะแบ่งเป็นฮอร์โมนเพศหญิงและเพศชาย
เพศหญิง จะมีฮอร์โมน 2 ตัว คือ Estrogen กับ Progesterone
เพศชาย คือ Androgen เช่น Testosterone ซึ่งในผู้หญิงก็มีฮอร์โมนนี้ แต่มีในปริมาณน้อยๆ แต่ถ้าผู้หญิงคนไหนมีมาก ก็จะทำให้มีสิว ผิวมัน ขนดก ซึ่งเป็นสิ่งที่ผู้หญิงเราไม่ชอบ เพราะจะทำให้เราไม่สวย
ต่อมาเราก็จะมาเข้าเรื่อง ยาคุม ซึ่งยาคุม มี 2 แบบ คือ
1.ยาคุมฮอร์โมนรวม ซึ่งจะมีทั้ง Estrogen และ Progestin
2.ยาคุมฮอร์โมนเดี่ยว จะมีเฉพาะ Progestin ซึ่งเหมาะกับคุณแม่ที่เลี้ยงลูกด้วยนมแม่ ไม่ลดคุณภาพนมแม่ และไม่กดการสร้างนมแม่
ยาคุมยุคเก่าๆ เน้นคุมกำเนิดอย่างเดียว โดยในเม็ดยาจะมีฮอร์โมน Estrogen สูงมาก และมักจะมีอาการข้างเคียงหลังกินยาคุมคือ คลื่นไส้/อาเจียน เป็นฝ้า
ยาคุมมีการพัฒนาสูตรมาเรื่อยๆ เพื่อลดอาการข้างเคียง ลด Estrogenให้มากที่สุด หรือบางตัวไม่มี Estrogenเลย และเพิ่ม Progestin เข้ามา และถ้าหากใครอยากทานเพื่อรักษาสิวก็ควรทานยาคุมที่มี Progestin ด้วย ยาคุมปัจจุบัน นอกจากจะคุมกำเนิดได้ ยังช่วยลดสิว ลดผิวมัน ลดขนดก ซึ่งสิ่งนี้แหละคะ ที่ผู้หญิงเราต้องการ
ยาคุมจะประกอบด้วยฮอร์โมน 2 ชนิดคือ
1.กลุ่ม Estrogen หรือ เรียก Ethinyl estradiol (ย่อสั้นๆ EE)
ฮอร์โมนตัวนี้จะทำให้คลื่นใส้อาเจียนได้ ยิ่ง EE สูง ยิ่งคลื่นใส้อาเจียนได้มาก ขนาดที่เจอในท้องตลาด ก็จะมีตั้งแต่ 1535 ไมโครกรัม หรือ ไม่มี EE เลยก็มี
และ EE ก็จะมีผลต่อเยื่อบุโพรงมดลูก ยิ่ง EE สูงโพรงมดลูกยิ่งหนา แต่ถ้า EE ต่ำ ยิ่งต่ำก็จะทำให้เลือดออกกะปริบกะปรอยได้
2.กลุ่ม Progestin เขามีการปรับพัฒนาสูตรมาเรื่อยๆ แบ่งย่อยเป็น 4 กลุ่ม คือ
1. ethisterone กลุ่มนี้ ยังมีผลให้มีสิว ผิวมัน เพราะยังมีฮอร์โมนเพศชายอยู่
2. levonorgestrel กลุ่มนี้ ประสิทธิภาพการคุมดีขึ้นมา แต่ยังพบสิว ผิวมัน เพราะยังมีฮอร์โมนเพศชายอยู่
3. desogestrel กลุ่มนี้น่าสนใจมาก เพราะ ลดสิว ลดผิวมัน ลดขนดก กดการตกไข่ได้ดี ประสิทธิภาพการคุมดี เพราะยาคุมตัวนี้ไม่จับกับฮอร์โมนเพศชาย
4. Drosperinone พัฒนาขึ้นมาเพื่อต้านฮอร์โมนเพศชาย
สรุปแล้วที่พูดมาทั้งหมด ยาคุม มี 2 แบบ แบบฮอร์โมนเดี่ยวที่แม่ที่เลี้ยงลูกด้วยนมแม่กินได้ไม่ลดนมแม่ไม่ลดคุณภาพน้ำนม กับ แบบฮอร์โมนรวมที่มีฮอร์โมน 2 ตัว ฮอร์โมน Estrogenกับ Progestin
Estrogen มีหลายขนาดให้เลือกทาน กรณีที่ไม่เคยกินยาคุมมาก่อน แนะนำให้เริ่มต้นที่ 20 ไมโครกรัม เพราะผลข้างเคียงน้อย
และ Progestinก็มีให้เลือกหลายกลุ่ม กลุ่ม12 ยังมีฮอร์โมนเพศชาย อาจทำให้ยังมีสิว ผิวมัน ขนดก ถ้าอยากลดสิว ผิวมัน ลดขนดก ต้องเป็นกลุ่ม3คือ desogestrel หรือ กลุ่ม4 คือ Drosperinone คะ
ดังนั้น ก่อนใช้ยาคุมปรึกษาแพทย์เภสัชก่อนเลือกทานจะดีที่สุดคะ

ยาคุมลดสิว ลดหน้ามัน ลดขนดก ไม่อ้วน|Nurse Kids

นอกจากการดูหัวข้อนี้แล้ว คุณยังสามารถเข้าถึงบทวิจารณ์ดีๆ อื่นๆ อีกมากมายได้ที่นี่: ดูบทความเพิ่มเติมในหมวดหมู่BUSINESS

Articles compiled by CASTU. See more articles in category: BUSINESS

Leave a Comment