เกษตรพึ่งตน : ทำเกษตรยั่งยืนด้วยหัวใจเกษตรอินทรีย์ | ศูนย์ เรียน รู้

You are viewing this post: เกษตรพึ่งตน : ทำเกษตรยั่งยืนด้วยหัวใจเกษตรอินทรีย์ | ศูนย์ เรียน รู้

เกษตรพึ่งตน : ทำเกษตรยั่งยืนด้วยหัวใจเกษตรอินทรีย์


นอกจากการดูบทความนี้แล้ว คุณยังสามารถดูข้อมูลที่เป็นประโยชน์อื่นๆ อีกมากมายที่เราให้ไว้ที่นี่: ดูเพิ่มเติม

เกษตรพึ่งตน EP2 : ทำเกษตรยั่งยืนด้วยหัวใจเกษตรอินทรีย์
เกษตรยั่งยืน ให้ความสำคัญกับสมดุลของระบบนิเวศ ผลผลิต คุณภาพที่ดี และเพียงพอต่อเกษตรกรและผู้บริโภค การพึ่งพาตนเอง รวมทั้งการให้ความสำคัญกับชุมชนท้องถิ่น มีการใช้ทรัพยากรธรรมชาติให้เกิดประโยชน์สูงสุดโดยไม่เกิดผลเสียต่อสิ่งแวดล้อม ระบบการผลิต การบริโภค และการใช้ทรัพยากรในท้องถิ่นมีความสมดุล
เศรษฐกิจยั่งยืน ด้วยการพัฒนาการจัดการดินและการหมุนเวียนการปลูกพืชที่ช่วยเพิ่มผลผลิต ลดการพึ่งพาเครื่องจักรและสารเคมีเพื่อการเกษตร ทั้งปุ๋ยและสารป้องกันกำจัดวัชพืชและศัตรูพืช
สังคมยั่งยืน ด้วยการใช้แรงงานที่มีอยู่ให้มากขึ้น อย่างน้อยสำหรับเทคนิคการเกษตรบางประเภท เพื่อให้เกิดความยุติธรรมและความเป็นปึกแผ่นในสังคม
สิ่งแวดล้อมยั่งยืน ด้วยการปกป้องและรักษาทรัพยากรธรรมชาติ และหาสิ่งทดแทนตลอดจนนำทรัพยากรธรรมชาติกลับมาเวียนใช้ใหม่ เช่น ที่ดิน (ดิน) น้ำ และสิ่งมีชีวิตในป่า หลีกเลี่ยงการใช้สารเคมีสังเคราะห์ที่เป็นอันตรายต่อสิ่งแวดล้อม โครงสร้างของดิน และความหลากหลายทางชีวภาพ
รูปแบบเกษตรยั่งยืน
1. เกษตรธรรมชาติ
2. ไร่หมุนเวียน
3. วนเกษตร
4. เกษตรผสมผสาน
5. ไร่นาสวนผสม
6. เกษตรทฤษฏีใหม่
7. เกษตรกรรมประณีต
8. เกษตรอินทรีย์
หัวใจของเกษตรอินทรีย์
1. การดูและเอาใจใส่ Care
การบริหารจัดการเกษตรอินทรีย์ต้องดำเนินการอย่างระมัดระวังและรับผิดชอบ เพื่อปกป้องสุขภาพ และความเป็นอยู่ของผู้คนทั้งปัจจุบันและอนาคต รวมทั้งพิทักษ์ปกป้องสภาพแวดล้อมโดยรวมด้วย
ระมัดระวังอย่าให้เกิดความเสี่ยงต่อสุขภาพและสิ่งแวดล้อม (ต้องมีการประเมินผลกระทบเทคโนโลยีใหม่ที่จะนำมาใช้อย่างจริงจัง)
2. สุขภาพ​ Healthy
คลอบคลุมสุขภาพของดิน​ พืช​ สัตว์​ มนุษย์​และโลก​: กายภาพ​ เคมี​ ชีวภาพ, ดูแลดินด้วยการใช้อินทรีย์​วัตถุ​ในแปลง​ ในท้องถิ่นที่เหลือใช้, งบประมาณ​ธาตุ​อาหาร​ เติมธาตุอาหารเข้าสมดุลกับธาตุอาหารออก
สุขภาวะองค์รวมของสิ่งมีชีวิต​ ชุมชน​ และระบบนิเวศ​ที่เชื่อมโยงถึงกัน
ผืนดินที่อุดมสมบูรณ์​ทำให้พืชแข็งแรง​ ทำให้สัตว์และมนุษย์​(ที่บริโภ​คพืชนั้นเป็นอาหาร)​แข็งแรง
ไม่ใช่แค่ไม่เป็นโรค​ แต่รวมถึงภูมิต้านทาน​ และความสามารถฟื้นตัวเองจากการเสื่อมถอย
เป้าหมายผลิตอาหารเพื่อผู้บริโภค​ ที่มีคุณภาพสูง​และมีคุณค่า​ทาง​โภชนาการ
3.ระบบนิเวศ​ Ecology
ตั้งอยู่​บน​ฐานของระบบนิเวศ​วิทยาและวัฐจักรธรรมชาติ
ระบบนิเวศ​มีชีวิต​ เปลี่ยนแปลงไปตามวัฐจักร​(ฤดูกาล)
เกษตรอินทรีย์​ต้องปรับการผลิตตามการเปลี่ยนแปลง
นิเวศน์​มีความแตกต่าง​ การจัดการเกษตรอินทรีย์​จึงต้องสอดคล้องกับเงื่อนไขท้องถิ่น​ ภูมินิเวศ​ วัฒนธรรม​และเหมาะสมกับขนาดของฟาร์​ม
ทำให้เกิดความสมดุลระหว่างการเกษตร​กับนิเวศน์​การเกษตร​ ออกแบบระบบฟาร์ม​ที่เหมาะสม​
4. ความเป็นธรรม Fairness
หมายถึงความเท่าเทียม ความเคารพ ความยุติธรรม
ความสัมพันธ์ที่เป็นธรรมระหว่างมนุษย์(ฟาร์ม) สิ่งแวดล้อมและสมาชิกต่างๆ
เป็นธรรมกับผู้คนตลอดห่วงโซ่การผลิต ทั้งเกษตรกร คนงาน ผู้แปรรูป ผู้จัดจำหน่าย ผู้ค้า และผู้บริโภค
เป็นธรรมต่อสัตว์เลี้ยง จัดสภาพการเลี้ยงที่สอดคล้องกับลักษณะและความต้องการทางธรรมชาติของสัตว์
เป็นธรรมต่อธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ที่ใช้ในการผลิต อนุรักษ์ให้กับคนรุ่นหลัง
เป็นธรรมของระบบการผลิต จำหน่าย และการค้า
สวนหม่อนไม้ นำหลักเกษตรอินทรีย์มาปรับใช้ในการทำเกษตรยั่งยืน ตามบริบทพื้นที่ของสวน ประกอบด้วย
1. สวนเกษตรผสมผสาน
2. สวนสมรม
3. สวนไผ่ร่วมยาง
4. สวนยางสมรม
5. สวนยางสมรม
6. สวนผสม
7. ร้านปันกัน

เกษตรพึ่งตน : ทำเกษตรยั่งยืนด้วยหัวใจเกษตรอินทรีย์

แนะนำแปลงสาธิตเกษตรทฤษฎีใหม่ตามแนวพระราชดำริ มหาวิทยาลัยแม่โจ้


วีดีทัศน์แนะนำแปลงสาธิตเกษตรทฤษฎีใหม่ตามแนวพระราชดำริ มหาวิทยาลัยแม่โจ้
ท่านสามารถติดต่อเข้าศึกษาดูงานได้ที่ :
053873429 งานสนับสนุนโครงการตามพระราชดำริ
053873400 สำนักวิจัยและส่งเสริมวิชาการการเกษตร
(ในวันและเวลาราชการ)
จัดทำโดย สำนักวิจัยและส่งเสริมวิชาการการเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ภายใต้โครงการบริหารจัดการองค์ความรู้ในมหาวิทยาลัย

แนะนำแปลงสาธิตเกษตรทฤษฎีใหม่ตามแนวพระราชดำริ มหาวิทยาลัยแม่โจ้

ศูนย์เรียนรู้ใกล้บ้าน ต้นแบบแหล่งเรียนรู้ชุมชน


สำนักงานอุทยานการเรียนรู้ TK park ผนึกกำลังกับ 8 หน่วยงานภาคี ริเริ่ม “โครงการพัฒนาศูนย์เรียนรู้ระดับตำบล” โดยภาคีทั้งหมดได้คัดเลือกศูนย์เรียนรู้จำนวน 200 ชุมชนจากทั่วประเทศไทยเข้าร่วมโครงการ พร้อมคัดเลือกต้นแบบ 10 แห่ง นำร่องสร้างสรรค์เครือข่ายศูนย์เรียนรู้ใกล้บ้าน
หน่วยงานภาคีศูนย์เรียนรู้ใกล้บ้าน ประกอบด้วย กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม สำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย (กศน.) กรมการพัฒนาชุมชน สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสิรมสุขภาพ (สสส.) มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) กรมส่งเสริมการเกษตร และ แผนงานสร้างเสริมวัฒนธรรมการอ่าน โดยมุ่งเน้นพัฒนาศูนย์การเรียนรู้ที่มีอยู่ในระดับตำบล ให้เป็นศูนย์การเรียนรู้ใกล้บ้านที่มีบรรยากาศเอื้อต่อการอ่านและการเรียนรู้ มีความสร้างสรรค์และทันสมัย ประกอบไปด้วยสื่อและกิจกรรมการเรียนรู้ที่หลากหลายนั้น จะเป็นรากฐานสำคัญของการส่งเสริมการเรียนรู้และกระตุ้นการเรียนรู้ ต่อยอดให้เกิดประโยชน์ของการดำเนินชีวิต และการประกอบอาชีพของประชาชนในท้องถิ่นได้ โดยแนวทางการทำงานของสำนักงานอุทยานการเรียนรู้ (TK park) ที่ริเริ่มโครงการพัฒนาศูนย์เรียนรู้ระดับตำบลนี้ขึ้น ประกอบด้วยการให้คำปรึกษาด้านกายภาพ การพัฒนาศักยภาพบุคลากร การสนับสนุนหนังสือและสื่อการเรียนรู้ และการสร้างเครือข่ายศูนย์การเรียนรู้ใกล้บ้านในระดับพื้นที่และระดับประเทศ
สำนักงานอุทยานการเรียนรู้ TK park เชื่อมั่นว่า ชุมชนทุกแห่งมีศักยภาพในการเป็นศูนย์เรียนรู้ใกล้บ้าน และโครงการพัฒนาศูนย์เรียนรู้ระดับตำบลพร้อมสนับสนุนศักยภาพเหล่านี้เพื่อสร้างการเรียนรู้ให้เกิดขึ้นในชุมชนต่างๆ บนผืนแผ่นดินไทย เพื่อส่งเสริมทักษะของคนในชุมชนเอง รวมทั้งส่งเสริมการคิดวิเคราะห์ การตระหนักรู้คุณค่าของตนเอง การรู้เท่าทันการเปลี่ยนแปลงเทคโนโลยี และที่ดีที่สุดคือการที่คนท้องถิ่นสามารถบริหารจัดการชุมชนได้อย่างเข้าใจรากเหง้าและเท่าทันกับวิถีของโลกที่เปลี่ยนแปลงไปไม่หยุดยั้ง

ศูนย์เรียนรู้ใกล้บ้าน ต้นแบบแหล่งเรียนรู้ชุมชน

ศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง เรือนจำชั่วคราว เขาระกำ จ.ตราด


ศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง

ศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง เรือนจำชั่วคราว เขาระกำ จ.ตราด

ศูนย์เรียนรู้ศาสตร์พระราชา \”Valaya Land\” เสริมสร้างองค์ความรู้ควบคู่ประสบการณ์ : ประเด็นสังคม


หลายมหาวิทยาลัยเริ่มปรับแผนการเรียนการสอน โดยมุ่งให้นิสิตนักศึกษาได้ลงมือปฏิบัติจริง เพื่อต่อยอดเป็นอาชีพและใช้ได้จริงในชีวิตประจำวัน ซึ่งทางมหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ ได้จัดตั้งศูนย์การเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงที่ชื่อว่า \”Valaya Land\” บนพื้นที่กว่า 80 ไร่
ชมย้อนหลังรายการ \”วันใหม่วาไรตี้\” ได้ที่ http://www.thaipbs.or.th/WanmaiVariety

กด Subscribe
ติดตามรายการดีๆของช่อง ได้ที่ : http://shorturl.at/czXZ0
และ ติดตามไทยพีบีเอสออนไลน์ ได้ที่
Website : http://www.thaipbs.or.th
Facebook : http://www.fb.com/ThaiPBSFan
Twitter : http://www.twitter.com/ThaiPBS
Instagram : http://www.instagram.com/ThaiPBS
LINE : http://www.thaipbs.or.th/AddLINE
YouTube : http://www.youtube.com/ThaiPBS

ศูนย์เรียนรู้ศาสตร์พระราชา \

นอกจากการดูหัวข้อนี้แล้ว คุณยังสามารถเข้าถึงบทวิจารณ์ดีๆ อื่นๆ อีกมากมายได้ที่นี่: ดูวิธีอื่นๆINVESTMENT

Articles compiled by CASTU. See more articles in category: INVESTMENT

Leave a Comment