Personal Finance (บุคคลมีความสามารถในการชำระหนี้หรือไม่) | ความสามารถในการชําระหนี้

You are viewing this post: Personal Finance (บุคคลมีความสามารถในการชำระหนี้หรือไม่) | ความสามารถในการชําระหนี้

Personal Finance (บุคคลมีความสามารถในการชำระหนี้หรือไม่)


นอกจากการดูบทความนี้แล้ว คุณยังสามารถดูข้อมูลที่เป็นประโยชน์อื่นๆ อีกมากมายที่เราให้ไว้ที่นี่: ดูความรู้เพิ่มเติมที่นี่

Personal Finance (บุคคลมีความสามารถในการชำระหนี้หรือไม่)

ตัวอย่างการวิเคราะห์ความสามารถจ่ายชำระหนี้ (Debt Ratio)


รายการอาจารย์มานพพบปัญหา EP.1129

▲ กดติดตามเพื่อชมคลิปใหม่ๆ : https://www.youtube.com/channel/UC934CijhZBa3p6pNaDBvwg?view_as=subscriber
▲LINE ID (มี@นำหน้า) : @Yellowtraining

▲เบอร์โทร อบรม : 0970091656 , 0622622916
▲เบอร์โทร บัญชี : 0853111669

▲ FANPAGE : https://www.facebook.com/Yellowaccounting/
▲ FANPAGE : https://www.facebook.com/Bmanopyellow
▲ FANPAGE : https://www.facebook.com/IViewTravel/
▲ FANPAGE : https://www.facebook.com/GreatInstructor/
▲ IG : https://www.instagram.com/manopyellow/?hl=th
▲ เว็บไซค์ : http://www.yellowaccounting.com

อีเมล์สำหรับติดต่องาน
[email protected]
แชแนล manopyellow คือ แชแนล ให้ความรู้เกี่ยวกับบัญชีและภาษี ที่ประกอบด้วยพิธีกรหลัก 2 คน คือ
\”อาจารย์มานพ สีเหลือง\” เป็นอาจารย์สอนบัญชีมามากว่า 25 ปี
เป็นยังเป็น ผู้บริหารYellowการบัญชี , youtuber และวิทยากรด้านบัญชีภาษี
\”อาจารย์กนกไรน์วิน บุรินนันท์\” เป็น ที่ปรึกษาปัญหาด้านบัญชีและภาษี , วิทยากรด้านบัญชีภาษี , เจ้าของสำนักงานบัญชี และ ผู้สอบบัญชีภาษีอากร(TA).

ตัวอย่างการวิเคราะห์ความสามารถจ่ายชำระหนี้ (Debt Ratio)

ถ้าพักชำระหนี้แล้ว จะทำให้เครดิตเราเสียไหม?


ถ้าพักชำระหนี้แล้ว จะทำให้เครดิตเสียไหม?
จากประกาศจากธนาคารแห่งประเทศไทย เดือน กรกฎาคม 2564
พักชำระเงินต้นและดอกเบี้ย เริ่มตั้งแต่งวดการชำระหนี้เดือนกรกฎาคม 2564 เป็นต้นไป
สำหรับลูกหนี้ SMEs และ ลูกหนี้รายย่อย (ทั้งที่เป็นนายจ้างและลูกจ้าง)
เมื่อหมดระยะพักหนี้ สถาบันการเงินจะไม่เรียกเก็บเงินต้นและดอกเบี้ยที่ค้างอยู่ในทันที
อ่านรายละเอียดมาตรการ คลิก ➡ https://bit.ly/3hFcTP5
ช่องทางติดต่อผู้ให้บริการทางการเงินโดยตรง ที่ https://www.bot.or.th/covid19/Pages/contact/default.aspx
หรือศูนย์คุ้มครองผู้ใช้บริการทางการเงิน (ศคง.) 📞 โทร. 1213

จากการที่ภาครัฐได้ยกระดับมาตรการป้องกันควบคุมโรคในพื้นที่ที่มีความเสี่ยงสูงสุด 10 จังหวัด เพื่อควบคุมสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด 19 โดยจำกัดการเคลื่อนย้ายและการดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ ส่งผลให้มีผู้ได้รับผลกระทบในวงกว้าง โดยเฉพาะกับกลุ่มธุรกิจและลูกหนี้ที่มีฐานะการเงินเปราะบางมาตั้งแต่การระบาดของโควิด 19 ระลอกก่อน และได้ออกมาตรการช่วยเหลือเพื่อเยียวยาด้านรายได้อย่างเร่งด่วนให้กับผู้ได้รับผลกระทบ ซึ่งเป็นการช่วยเหลือที่ตรงจุด
ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) สมาคมธนาคารไทย และสมาคมธนาคารนานาชาติ ตระหนักถึงความเดือดร้อนของลูกหนี้และเห็นความจำเป็นเร่งด่วนในการให้ความช่วยเหลือด้านการเงินเพิ่มเติมให้แก่ลูกจ้างและผู้ประกอบการที่ได้รับผลกระทบให้ตรงจุดและทันการณ์ จึงเห็นร่วมกันที่จะออกมาตรการเร่งด่วนด้วยการพักชำระเงินต้นและดอกเบี้ยให้แก่ลูกหนี้ SMEs และรายย่อย เป็นระยะเวลา 2 เดือนให้กับลูกหนี้ที่ได้รับผลกระทบโดยตรง คือ ลูกหนี้ทั้งที่เป็นนายจ้างและลูกจ้างในสถานประกอบการทั้งในพื้นที่ควบคุมฯ และนอกพื้นที่ควบคุมฯ ที่ต้องปิดกิจการจากมาตรการของทางการ เริ่มตั้งแต่งวดการชำระหนี้เดือนกรกฎาคม 2564 เป็นต้นไป ทั้งนี้ เมื่อหมดระยะเวลาพักชำระหนี้แล้ว สถาบันการเงินจะไม่เรียกเก็บเงินต้นและดอกเบี้ยที่ค้างอยู่ในทันที เพื่อไม่ให้เป็นภาระหนักกับลูกหนี้
สำหรับลูกหนี้ที่ได้รับผลกระทบโดยอ้อม คือ ลูกหนี้ที่ยังเปิดกิจการได้ แต่รายได้ลดลงจากมาตรการควบคุมการระบาดของภาครัฐ สถาบันการเงินจะพิจารณาให้ความช่วยเหลือแก่ลูกหนี้ตามความจำเป็นและสอดคล้องกับสถานการณ์ของลูกหนี้
การให้ความช่วยเหลือตามแนวทางข้างต้น ลูกหนี้สามารถติดต่อกับสถาบันการเงินเจ้าหนี้เพื่อแสดงความประสงค์ขอรับความช่วยเหลือได้ตั้งแต่วันที่ 19 กรกฎาคม 2564 ทั้งนี้ หากลูกหนี้สามารถให้ข้อมูลหลักฐานที่ชัดเจนถึงผลกระทบของกิจการหรือการจ้างงาน จะทำให้การพิจารณาให้ความช่วยเหลือโดยเจ้าหนี้สามารถทำได้อย่างรวดเร็ว
ทั้งนี้ การพักชำระเงินต้นและดอกเบี้ยภายใต้มาตรการนี้ เป็นเพียงการเลื่อนการชำระออกไป ลูกหนี้ที่ยังมีศักยภาพและสามารถชำระหนี้ได้ จึงควรชำระหนี้ต่อเนื่อง เพื่อไม่ให้ภาระหนี้ในอนาคตเพิ่มขึ้นสูงเกินจำเป็น เช่นเดียวกับลูกหนี้ที่อยู่ระหว่างเจรจาปรับโครงสร้างหนี้กับสถาบันการเงินอยู่ก่อนหน้า ที่ควรดำเนินการต่อเนื่อง เพื่อแก้ไขปัญหาได้ตรงจุดและยั่งยืนกว่า
อนึ่ง การพักชำระหนี้ภายใต้มาตรการนี้ เป็นการให้ความช่วยเหลือขั้นต่ำ สถาบันการเงินสามารถช่วยเหลือลูกหนี้ที่ได้รับผลกระทบรุนแรงได้มากขึ้นตามความเหมาะสม
ธปท. และทุกสมาคมฯ รวมถึงสมาคมสถาบันการเงินของรัฐ จะร่วมกันเร่งรัดและผลักดันการให้ความช่วยเหลือจากมาตรการพักชำระเงินต้นและดอกเบี้ยดังกล่าวอย่างต่อเนื่อง รวมทั้ง ธปท. ได้ขอให้ผู้ประกอบธุรกิจที่มิใช่สถาบันการเงิน (nonbank) ให้ความช่วยเหลือลูกหนี้ไปพร้อมกัน เพื่อช่วยเหลือลูกหนี้ที่ได้รับผลกระทบให้ได้มากที่สุด ดังนั้น ขอให้ลูกหนี้ที่ประสบปัญหารีบติดต่อผู้ให้บริการทางการเงินที่ใช้บริการอยู่เพื่อรับความช่วยเหลือ และหากต้องการข้อมูลเพิ่มเติมสามารถติดต่อผู้ให้บริการทางการเงินโดยตรง หรือศูนย์คุ้มครองผู้ใช้บริการทางการเงิน (ศคง.) โทร 1213
พักชำระหนี้ พักชำระหนี้2564 พักหนี้ มาตราการพักชำระหนี้

ถ้าพักชำระหนี้แล้ว จะทำให้เครดิตเราเสียไหม?

ฟันธง หุ้นทำกำไรไตรมาส 4


สามารถติดตามข่าวสารจาก Money Chat จากช่องทางต่าง ๆ ดังนี้
Facebook
:https://www.facebook.com/moneychatthailand
Youtube
:https://www.youtube.com/moneychatthailand
Podcasts
:moneychat
Blockdit
:Money Chat Thailand
Money Chat Thailand
ผู้ผลิต Content เศรษฐกิจ ธุรกิจ การเงิน การลงทุน เริ่มต้นจากแนวคิด “ลงทุนง่าย ๆ แค่ปลายนิ้ว” ส่งเสริมให้ทุกคนรู้จักและเข้าใจการกับลงทุนในยุคดิจิทัล ที่ทุกคนรับข้อมูลข่าวสารได้จากช่องทางออนไลน์ ออฟไลน์ในทุกรูปแบบ และการลงทุนปัจจุบันเริ่มต้นด้วยเงินเพียงไม่กี่ร้อยบาท ก็สามารถสร้างความมั่งคั่งในอนาคตได้…
ช่องทางการรับชม
FACEBOOK : https://www.facebook.com/moneychatthailand
YOUTUBE : https://www.youtube.com/moneychatthailand
LINE Official Account : Money Chat
Podcasts : moneychat
TV Digital : รายการ Business Model ทุกวันพุธ เวลา 10.3011.00 น. TV Digital TNN 16
รายการ Money Brief ออกอากาศทุกวันจันทร์ ศุกร์ เวลา 09.4510.30น.ทาง ออนไลน์ของ Money Chat

ฟันธง หุ้นทำกำไรไตรมาส 4

เทคนิคผ่อนบ้าน ให้หนี้หมดเร็วขึ้น 10 ปี ประหยัดดอกเบี้ยเป็นล้าน!!


เทคนิคผ่อนบ้าน ให้หนี้หมดเร็วขึ้น 10 ปี ประหยัดดอกเบี้ยเป็นล้าน!!
หนี้บ้านสำหรับหลายๆคนแล้วถือว่าเป็นหนี้ก้อนที่ใหญ่ที่สุดและระยะเวลาการผ่อนชำระยาวนานที่สุดเลยก็ว่าได้นะครับ เพราะระยะเวลาที่ธนาคารเขาให้เราผ่อนบ้านเนี่ยเริ่มตั้งแต่ 20 ไปจนถึง 40 ปีเลยก็มีครับ ซึ่งเอาเข้าจิงๆถ้าเราผ่อนไปเรื่อยๆตามที่ธนาคารเขาบอกนี่คือทำงานจนเกษียนเลยนะครับกว่าหนี้ของเราจะหมด
แต่ประเด็นที่น่าสนใจคือไม่ใช่แค่เรื่องระยะที่นานหรอกนะครับ การผ่อนบ้านให้จำไว้เลยนะครับว่ายิ่งเราผ่อนนานเท่าไร เรายิ่งเสียดอกเบี้ยมากขึ้นเท่านั้น เพราะอะไรหรอครับเพราะว่าการคิดดอกเบี้ยบ้านเนี่ยเขาจะคิดแบบ ลดต้นลดดอกครับ อธิบายง่ายๆว่าดอกเบี้ยจะคิดตามเงินต้นครับ ผมได้ทำคลิปอธิบายเรื่องนี้ไว้อย่างระเอียดแล้วลองเข้าไปดูคลิปในช่องได้นะครับ

ดังนั้นไอการที่เราผ่อนบ้านเป็นเวลา 30 40 ปีเนี่ยนอกจากมันจะเป็นภาระระยะยาวมากๆแล้วเรายังต้องจ่ายดอกเบี้ยอีกเยอะมากๆด้วยครับเดี๋ยวจะหาว่าผมเว่อร์จนเกินไป ผมจะคำนวนออกมาให้ดูกันเลยดีกว่าครับ
สมมุติว่าผมซื้อคอนโดราคา 3 ล้านบาท ผมผ่อน 30 ปี โดยผมกำหนดอัตราดอกเบี้ยเฉลี่ยทั้งสัญญาอยู่ที่ 7% เหมือนที่ผมบอกทุกครั้งนะครับว่าที่ผมใช้ 7% เพราะเอาเอาเฉลี่ยทั้งสัญญาและปัดขึ้นนิดนึงเป็นค่าเผื่อเหลือความปลอดภัยเวลาคำนวน ดังนั้นถ้าเราเอาข้อมูลเหล่านี้เข้าไปคิดคำนวนในโปรกแกรม EZ Financial Calculator เราจะได้ออกมาว่า
เราจะต้องผ่อนธนาคารเดือนละ 19,959 บาท/เดือน
ถ้าผ่อนครบ 30 ปี เราจะต้องจ่ายค่างวดทั้งหมด = 7,184,265 บาท
ทุกคนไม่ได้ฟังผิดไปหรอกนะครับ กู้มาสามล้าน จ่ายจริง 7 ล้าน
นั่นหมายความว่าดอกเบี้ยตลอดอายุสัญญานี่คือ 4 ล้านกว่าบาทเลยครับ
วิธีแรกครับคือการโปะหรือการผ่อนชำระเพิ่มจากที่ผ่อนอยู่
จริงๆวิธีนี้มีหลายท่านทำกันแล้วแต่ยังมีอีกหลายๆคนที่ยังไม่รู้นะครับว่าสามารถโปะเพิ่มได้ ฉันอยากให้ทำความเข้าใจกันก่อนครับว่าเงินที่เราผ่อนเพิ่มเข้าไปเนี่ยมันจะไปตัดแต่ในส่วนเงินต้นทั้งนั้นเลยครับยกตัวอย่าง
เช่นปกติแล้วผ่อนชำระค่าบ้านอยู่เดือนละ 10,000 บาทถ้าเราผ่อนเพิ่มเข้าไปอีกสักเดือนละ 1,000 บาท 1000 ที่เราใส่เพิ่มเข้าไปนี่แหละครับมันจะไปตัดเป็นส่วนของเงินต้นทั้งนั้นเลยดังนั้นการผ่อนเพิ่มต่อเดือนจึงช่วยให้นี่เราหมดเร็วขึ้นอย่างมากนะครับที่สำคัญจะช่วยประหยัดดอกเบี้ยด้วยเพราะเมื่อเงินต้นโดนตัดออกดอกเบี้ยที่เราจะต้องจ่ายก็ลดเป็นสัดส่วนตามไปด้วยครับ

วิธีแรกเห็นว่าหมดเร็วแล้วใช่ไหมครับมาแต่มันยังมีอีกวิธีที่ควรทำร่วมกัด้วยระหว่างที่เราโปะครับนั่นคือการรีไฟแนนซ์ทุกๆ 3 ปีครับ
รีไฟแนนซ์คือการขอสินเชื่อก้อนใหม่จากธนาคารครับ อาจจะเป็นธนาคารเดิมที่เรากู้อยู่หรือไปยื่นขอธนาคารใหม่ก็ได้ครับ นั่นหมายความว่าเราจะเปลี่ยนหนี้เดิมทั้งก้อน กลายมาเป็นหนี้ก้อนใหม่เลยครับ พูดง่ายๆว่าขอกู้ใหม่อีกรอบ แต่ที่พิเศษกว่านั้นก็คือ การรีไฟแนนซ์เราสามารถกำหนดแผนการในการผ่อนชำระได้หลากหลายมากขึ้นด้วยครับยกตัวอย่างเช่น

กรณีที่1 เราอยากผ่อนบ้านให้หมดเร็วขึ้น
เราอาจเลือกระยะเวลาผ่อนชำระให้สั้นลง ส่งเงินต่องวดให้มากขึ้น
จากของเดิมเราผ่อน ยอดสินเชื่อคงเหลือ 3,000,000 บาท ระยะเวลา 30 ปี ผ่อนต่อเดือน 19,000 ถ้าเราอยากผ่อนให้หมดเร็วขึ้นเราอาจเลือกการ Refinace เป็น
ยอดสินเชื่อ 3,000,000 บาท ระยะเวลา 20 ปี ผ่อนต่อเดือน 15,000 บาทต่อเดือน

กรณีที่ 2 เราอยากให้ยอดผ่อนชำระต่อเดือนลดลง
จากยอดหนี้เดิมที่เราผ่อนธนาคารมาแล้ว 3 ปี ผมสมมุติว่า ถ้ายอดสินเชื่อเดิมเราคือ 3 ล้าน เราผ่อนมา 3 ปี เงินต้นอาจจะคงเหลือประมาณ 2.8 ล้านบาท และยอดเดิมเราผ่อนธนาคารอยู่ที่เดือนละ 19,000 บาท

ดังนั้นถ้าสรุปคร่าวๆจากทั้ง 2 วิธีที่ผมได้ยกมาให้ดูดีนะครับว่าในแต่ละเดือนที่เราผ่อนธนาคารเราควรจะผ่อนเพิ่มจากที่เราผ่อนอยู่ทุกเดือนครับเพราะมันจะช่วยตัดเงินต้นไปได้เยอะเมื่อเทียบกับเงินต้นไปได้เยอะนี่ก็จะหมดเร็วขึ้นดอกเบี้ยที่จะต้องจ่ายมันก็ลดลงด้วยเพราะเราผ่อนชำระครบ 3 ปีเราก็วางแผนที่จะ รีไฟแนนซ์ เพื่อปรับโครงสร้างหนี้เหลือลดอัตราดอกเบี้ยอะไรก็ว่ากันไปนะครับซึ่งผมเชื่อว่าการทำแบบนี้จะช่วยประหยัดดอกเบี้ยให้เราได้เป็นเงินมหาศาลนะครับและทำให้นี่ของเราหมดเร็วขึ้นด้วยนะครับ

ดังนั้นสรถุปกันอีกทีนะครับ ถ้าเพื่อนๆฟังมาถึงตรงจุดนี้และกำลังผ่อนบ้านกันอยู่หรือกำลังวางแผนจะซื้อบ้าน สิ่งที่ผมอยากให้ทุกๆคนทำคือ วางแผนโปะเพิ่มต่อเดือนครับ จะมากจะน้อยไม่ว่ากันแต่อยากให้โปะนะครับ และช่วงไหนมีเงินพิเศษมีโบนัสอะไรก็แบ่งบางส่วนมาโปะได้ยิ่งดีครับ และเมื่อครบสามปีทุกๆสามปีก็ให้วางแผนที่จะรีไฟแนนซ์หรือรีเทนชั่นเพื่อปรับอัตราดอกเบี้ยลงมาให้มันถูกลงอีกนะครับ หมั่นทำแบบนี้ผมรับประกันเลยนะครับเผลอบางคนถ้าวินัยดีๆ สามารถโปะได้เยอะๆเนี่ย 10 ปีหนี้บ้านหมดก็มีเยอะแยะไปครับ เราจะได้เก็บเงินไว้สำหรับต่อยอดอนาคตหรือไว้ซื้อความสุขอะไรก็ว่ากันไปนะครับ

ผ่อนบ้าน เทคนิคผ่อนบ้าน ซื้อบ้าน ดอกเบี้ยบ้าน

เทคนิคผ่อนบ้าน ให้หนี้หมดเร็วขึ้น 10 ปี ประหยัดดอกเบี้ยเป็นล้าน!!

นอกจากการดูหัวข้อนี้แล้ว คุณยังสามารถเข้าถึงบทวิจารณ์ดีๆ อื่นๆ อีกมากมายได้ที่นี่: ดูวิธีอื่นๆINVESTMENT

Articles compiled by CASTU. See more articles in category: INVESTMENT

Leave a Comment