You are viewing this post: เช็คคุย : ชายผู้เลือกไม้ด่างเป็นงานแห่งความรัก | ใบซานาดู
Table of Contents
เช็คคุย : ชายผู้เลือกไม้ด่างเป็นงานแห่งความรัก
นอกจากการดูบทความนี้แล้ว คุณยังสามารถดูข้อมูลที่เป็นประโยชน์อื่นๆ อีกมากมายที่เราให้ไว้ที่นี่: ดูความรู้เพิ่มเติมที่นี่
ว่ากันให้ถึงที่สุดแล้ว ไม่ใช่ดาราหรอก แต่เป็นความอยากได้นั่นแหละ ที่ทำให้ไม้ด่างกลายเป็นกระแส
ญาญ่าเพียงแต่ปลุกความอยากได้ที่หมอบคอยจังหวะตะครุบเหยื่ออยู่ในใจเรา
อานิสงค์ต่อเศรษฐกิจ การซื้อขายแลกเปลี่ยนแบบสัมมาชีพ ผมคิดว่าเป็นเรื่องดี โดยเฉพาะยามนี้
แต่การปั่นราคาเพราะความโลภ การหาประโยชน์บนความอยากที่ขาดความรู้ของคนที่เห่อตามกระแส ผมคิดว่าไม่น่าส่งเสริม
ผมรักต้นไม้ ชื่นชมต้นไม้ทุกอย่าง แต่ไม่ได้เห่อไม้ด่าง และไม่อยากให้ใครถูกหลอกหรือหลอกผู้อื่นเพราะกิเลสตัณหาที่มีต่อไม้ด่าง
นี่เป็นที่มาของการสนทนากับอาจารย์ ธนะรัตน์ หงษ์เจริญ ในวันนี้
ฝากไว้ อะไรก็ตามที่เป็นกระแสวูบๆวาบๆ เห่อเป็นพักๆไม่นานก็เสื่อมคลาย หมดความหมาย
แต่ชีวิตของต้นไม้ในกระถาง ต้องการความรัก ความรู้ การเอาใจใส่ดูแล ตลอดอายุขัย จึงจะทำให้มันแข็งแรงเติบโตและงอกงาม
.
เช็คคุย
สุทธิพงษ์ธรรมวุฒิ
CheckSuthipong
ธนะรัตน์หงษ์เจริญ
ไม้ด่าง
ซานาดู | ต้นไม้ฟอกอากาศน่าปลูกไว้ในห้องนอน
สวัสดีค่ะเพื่อนๆ ที่น่ารักทุกคน 😊
วันนี้เรานำน้องซานาดูซึ่งเป็นอีกหนึ่งต้นไม้ที่เหมาะที่จะปลูกในที่ร่ม และนำมาไว้ในห้องนอน เพราะนอกจากความสวยงามแล้ว ยังสามารถฟอกอากาศให้เราได้ด้วย
ขอบคุณทุกคนที่ติดตามนะคะ
ซานาดู
ต้นไม้ฟอกอากาศ
ต้นไม้ในร่ม
ต้นไม้ที่ปลูกในห้องนอน
ไม้ร่ม
ดูแลต้นซานาดู (ใครไม่ดูแต่พี่ดู) เลี้ยงให้รอดต้องทำไง #ต้นซานาดู #PhilodendronXanadu
วิธีดูแลต้นซานาดู มาตามคำขอ…
ต้นนี้เป็นต้นที่สอง เลี้ยงรอดแล้วจ้า
จริงๆ ต้นแรกเน่าตายไปอย่างน่าสงสารมาก
วันนี้เลยอยากมาแชร์สะหน่อย
ว่าจริงๆน้องดูแลไม่ยากเลยนะ
ต้นต่อไปอยากดูต้นอะไรกันเอ่ยยย คอมเม้นมาเลยจ้า
พูดคุยกับเราได้ที่
IG : Mikihome99
FB : Mikihome99
ติดต่องาน :
[email protected]
มีแค่ทรายก็ขยายได้เพียบ ชำอโกลนีมา ใช้แค่อย่างเดียวไม่ต้องควบแน่นก็รอดชัวร์ ดาวบ้านนา
วันนี้ดาวมาบอกวิธีชำอโกลนีม่ามีแค่ทรายอย่างเดียวก็ชำได้มาบอกกันจ้า
ชำขยายพันธุ์อะโกลนีมาดาวบ้านนา
ซานาดู ต้นไม้จากการผสมพันธุ์ใหม่ เกิดมาแก้ปัญหาทรงต้นอันยืดยาว Philodendron ‘Winterbourn’ XANADU
๐ ฟิโลเดนดรอนซานาดู ฟิโลซานาดู
๐ ชื่อวิทยาศาสตร์ (Scientific name): Philodendron Xanadu™ [‘Winterbourn’]. ชื่อสกุล มาจากรากศัพท์ในภาษากรีกคำว่า “phileo” หมายถึง ความรัก และ “dendron” หมายถึง มีความสัมพันธ์ที่จะมีการปีนป่ายต้นไม้
XANADU เป็นฟิโลเด็นดรอนที่ได้จากการผสมพันธุ์ขึ้นมาใหม่ หลักฐานพบว่า Western Australian nursery ปรับปรุงพันธุ์ตั้งแต่ปี 1983 มีการเก็บรวบรวมและคัดเลือกพันธุ์จาก Philodendron bipinnatifidum (ฟิโลเด็นดอนใบมะละกอ) โดยคัดเลือกจากดอกที่มีสีแดงเข้ม แน่น และมีทรงพุ่มของกอที่แผ่ออก อย่างไรก็ตามไม่ปรากฏหลักฐานแน่ชัดว่ามีการผสมจากฟิโลเด็นดรอนพันธุ์ใด จึงได้พันธุ์ใหม่ถึงตั้งชื่อว่า ‘Winterbourn’ต่อมาเปลี่ยนชื่อใหม่ว่า “XANADU” เป็นพืชที่มีการคุ้มครองตามสิทธิบัตรเลขที่ PP7030 และเมื่อสิทธิบัตรที่ถูกคุ้มครองหมดอายุลงก็มีการนำไปปรับปรุงพันธุ์ต่อมาอีกเช่นกัน
๐ ชื่อสามัญ (Common Name): Winterbourn Philodendron, Xanadu Philodendron
๐ ชนิด (Type): ไม้เนื้ออ่อนมีอายุอยู่ได้หลายปี (Herbaceous perennial)
๐ วงศ์ (Family): Araceae
๐ ถิ่นกำเนิด (Native Range) : ต้นแม่ที่ให้การผสมพันธุ์คือ Philodendron Bipinnatifidum พืชที่มีถิ่นกำเนิดในอเมริกากลางและอเมริกาใต้
๐ ความสูงของทรงพุ่ม (Height) : 80120 เซนติเมตร
๐ ความกว้างของทรงพุ่ม: 100150 เซนติเมตร
๐ ระยะเวลาดอกบาน (Bloom Time): ออกดอก เมื่อได้รับปริมาณแสงเพียงพอ โดยช่อดอกคือส่วนของ “ปลี (Spadir)” ซึ่งในระยะแรกของการออกดอกจะมีจานรองดอก (Spathe) หุ้มอยู่ เมื่อบานเต็มที่ส่วนจานรองดอกจะคลี่ออกจนเห็นส่วนปลี ซึ่งเป็นส่วนดอกจริง อันประกอบไปด้วย ก้านช่อ ซึ่งมีดอกย่อยเล็ก ๆ เรียงอัดแน่นอยู่บนปลีนี้เอง
๐ ความต้องการแสง (Sun): ร่มรำไรมีแสงฟุ้ง หรือมีแสงแดดส่องลอดจากร่มไม้บางช่วงของวัน หรือได้รับแดดช่วงเช้าก่อนสาย หรือรับแดดช่วงบ่ายใกล้พลบค่ำ
๐ ความต้องการน้ำ (Water): ปานกลาง
๐ การดูแลรักษา (Maintenance): ต่ำ ควรมีการตัดแต่งกิ่งใบด้านล่างที่มีอายุมาก และทิ้งใบเป็นสีเหลืองแล้วออก อีกทั้งการตัดแต่งทรงพุ่มจะช่วยทำให้พื้นที่ใบที่อยู่ในทรงพุ่มได้รับแสงแดดอย่างเพียงพอ
๐ การใช้งานที่แนะนำ (Suggested Use): การใช้งานใช้เป็นไม้เน้นหรือไม้เด่นในพื้นที่สวน หรือปลูกในกระถางเพื่อโชว์ทรงต้นและใบที่โดดเด่น จัดเป็นไม้พุ่มที่มีขนาดความกว้างมาก อีกประการหนึ่งที่นิยมใช้คือการตัดใบไปปักแจกันซึ่งมีอายุการปักแจกันนานหลายสัปดาห์
๐ ใบไม้ (Leaf): ไม้พุ่มไม่ผลัดใบ มีใบเดียวบนก้านใบที่แตกออกจากลำต้นที่เป็นตอ (Stout) อยู่ใต้ดิน การเรียงใบแน่นเป็นกลุ่มคล้ายแบบกระจุก (Clusterd) รูปใบแฉกลึกแบบนิ้วมือ (Palmatisect) โดยแผ่นใบหยักลึกเกือบถึงเส้นกลางใบ ปลายใบสอบเข้ารูปป้านโค้งมน (Obtuse) ฐานใบโค้งออกคล้ายรูปติ่งหู (Auriculate)
๐ การเพาะปลูก (Culture)
ซานาดูเจริญเติบโตได้ดีในสภาพแวดล้อมที่มีความชื้นสัมพัทธ์สูง ดินควร เก็บรักษาความชื้นได้ดี ขณะเดียวกันก็ควรมีความโปร่ง ระบายอากาศและระบายน้ำได้ดี มีดินที่อุดมไปด้วยอินทรีย์วัตถุสูง และเจริญเติบโตได้ดีในพื้นที่ร่มรำไร ขยายพันธุ์ด้วยการตัดกิ่งหรือต้นปักชำ การแบ่งกอ และการใช้เมล็ดในการขยายพันธุ์ มีการปลูกเลี้ยงในกระถางควรมีการเปลี่ยนกระถางทุกปี เพื่อให้สอดคล้องกับทรงพุ่มที่แผ่กว้าง และทรงพุ่มที่เติบโตสูงขึ้น การปลูกเลี้ยงในกระถางเพื่อเป็นการรักษาความชื้นควรใช้เม็ดดินเผา (Pebble trays) ปิดปกคลุมผิวหน้ากระถางจะช่วยเก็บรักษาความชื้นได้ดี แนะนำให้ใส่ปุ๋ยละลายช้าสูตรเสมอ 131313 เป็นประจำทุกเดือนเพื่อช่วยธาตุอาหารที่จำเป็นต่อการเจริญเติบโตในทุกส่วนของต้น อาจหรืออาจจะใช้การสังเกตุการเจริญเติบโตในปัจจุบันเปรียบเทียบกับการเจริญเติบโตของเดือนก่อนหน้า มีการเจริญเติบโตที่ล่าช้าก็ควรใส่ปุ๋ยเติมลงไป
๐ ปัญหา (Problems)
อาจถูกเข้าทำลายโดยเพลี้ยแป้ง เพลี้ยอ่อน ไรแดง
ระวังการได้รับแสง หากมีแสงมากเกินไปอาจส่งผลให้ใบไม้ไหม้ (Bleached leaves) ในขณะที่แสงน้อยเกินไปจะชะลอการเจริญเติบโต และใบไม้ยืดยาวแผ่ออกมากไม่ได้ทรงรวมถึงโค้งตกลง
ระมัดระวังการให้น้ำมากเกินไปจะทำให้เกิดอาการใบเหลือง และเน่าบริเวณโคนต้นได้
๐ คติความเชื่อแต่โบราณนานมาเรียกขานคนที่ปลูกอะไรก็งาม ปลูกอะไรก็ขึ้นว่าเป็นคน “มือเย็น” ตรงกับภาษาอังกฤษคำว่า “Green Thumb” หรือพวกหัวแม่โป้งเขียว ก็คือคนมือเย็นน้่นเอง
๐ Muuyehn Stuido หรือ มือเย็นสตูดิโอ เป็นช่องที่จัดทำขึ้นเพื่อเป็นกำลังใจให้คนทั้งมือเย็น มือไม่เย็น มืออุ่น มือร้อน มือไหนๆ ก็ปลูกต้นไม้ได้งอกงามดี ขอแค่ทำความรู้จักและรักที่จะปลูก
ถึงปลูกแล้วตาย ปลูกแล้วโตช้าก็อย่าได้แคร์ ขอให้ปลูกกันต่อไปนะจ๊ะ
นอกจากการดูหัวข้อนี้แล้ว คุณยังสามารถเข้าถึงบทวิจารณ์ดีๆ อื่นๆ อีกมากมายได้ที่นี่: ดูวิธีอื่นๆBUSINESS
Articles compiled by CASTU. See more articles in category: BUSINESS