กราบด้วยใจ ให้กายสมดุล : กราบแบบทิเบต | อัษฎางคประดิษฐ์

You are viewing this post: กราบด้วยใจ ให้กายสมดุล : กราบแบบทิเบต | อัษฎางคประดิษฐ์

กราบด้วยใจ ให้กายสมดุล : กราบแบบทิเบต


นอกจากการดูบทความนี้แล้ว คุณยังสามารถดูข้อมูลที่เป็นประโยชน์อื่นๆ อีกมากมายที่เราให้ไว้ที่นี่: ดูเพิ่มเติม

กราบอัษฎางคประดิษฐ์ การกราบแบบทิเบต
คำสวดขณะกราบ
“ด้วยกาย วาจา ใจ ข้าพเจ้าขอยึดพระรัตนตรัยเป็นสรณะไปจนกว่าจะถึงการหลุดพ้น\”

การตั้งจิตขณะกราบ
ตั้งจิตว่าได้นำพาสัตว์ทั้งหลายให้ร่วมกราบไปพร้อมกับตนเอง
ข้างหน้า มีพระพุทธเจ้า
ทางขวา มีคุณพ่อ
ทางซ้าย มีคุณแม่
ด้านหลังและรอบตัวเรา มีสัตว์โลกทั้งหลายรวมทั้งผู้ที่เราคิดว่าเป็นศัตรู

กราบด้วยใจ ให้กายสมดุล : กราบแบบทิเบต

ลองกราบแบบอัษฎางคประดิษฐ์ (Prostration) หรือ ชากเซล (Chag Tsel) at ทิเบต Tibet


กราบแบบอัษฎางคประดิษฐ์ : เอกลักษณ์ของพุทธทิเบต
ปกติคนไทยจะรู้จักแต่การกราบพระแบบเบญจงคประดิษฐ์ ซึ่งเป็นการโน้มอวัยวะร่างกายให้ต่ำจนแตะพื้น 5 จุด แต่ในที่นี้จะขอแนะนำให้รู้จักการกราบแบบ \”อัษฎางคประดิษฐ์\” เป็นท่ากราบแบบนอนราบไปทั้งตัวตามแบบฉบับของชาวธิเบต โดยให้ส่วนสำคัญของร่างกายแตะพื้น 8 จุดหรือ 8 ส่วน ได้แก่ มือทั้งสอง เข่าทั้งสอง เท้าทั้งสอง ลำตัว และหน้าผาก
สัมผัสกับพื้นดินการกราบสักการะแบบอัษฎางคประดิษฐ์ หรือ ชากเซล ในภาษาธิเบต มีความหมาย โดยคำว่า ชาก (chag) หมายถึง กายศักดิ์สิทธิ์ วาจาศักดิ์สิทธิ์
และจิตศักดิ์สิทธิ์ของพระพุทธเจ้าพระโพธิสัตต์ทั้งหลาย ส่วนคำว่า เซล (tsel) หมายถึงการที่เราอุทิศตนอย่างจริงจังและจริงใจที่จะก้าวตามรอยพระพุทธบาทบน หนทางอันถูกต้องมุ่งสู่การบรรลุเป็นพระโพธิสัตต์หรือพระพุทธเจ้า
วิธีการกราบจะเริ่มต้นด้วยการยืนตัวตรง พนมมือ ที่ระดับหน้าอก โดยให้นิ้วหัวแม่มืออยู่ภายในอุ้งมือเป็นรูปดอกบัว
อันเป็นสัญลักษณ์มีความหมายถึงการฝึกฝนปฏิบัติเป็นหนึ่งเดียวกันบนวิถีของ เมตตาและปัญญา อุทิศตนมุ่งสู่การรู้แจ้งเพื่อยังประโยชน์ต่อสรรพชีวิตทั้งมวล
จากนั้นให้เคลื่อนมือไปยังตำแหน่งกลางกระหม่อม หน้าผาก ลำคอ และหน้าอก อันเป็นตำแหน่งที่ตั้งของจักรที่สำคัญในร่างกาย จากนั้นเหยียดแขนออกไปข้างหน้า ย่อเข่าลงพร้อมกับเคลื่อนตัวไปข้างหน้าจนลำตัวเหยียดตรงกับพื้น
ต้องระวังไม่ให้หัวเข่าแตะพื้นก่อนที่ลำตัวจะเหยียดออกไป จากนั้นเคลื่อนลำแขนทั้งสองข้างไปด้านข้างของลำตัวตามแนวโค้งของวงกลมพร้อม กับค่อยๆ ชันตัวขึ้นบนเข่า ยืดตัวขึ้นกลับสู่ท่ายืนตรงนตอนเริ่มต้น
นักบวชชัมบาลาจะเดินไปก้มลงกราบแบบไถพรืดไปรอบ ๆ เจดีย์พร้อมกับผ้าที่ใช้รองมือสองข้าง ผลพลอยได้ก็คือ พื้นวันทิเบตจะสะอาดมาก
ที่น่าทึ่งที่สุดคือ การจาริกแสวงบุญของชาวธิเบต ที่เทือกเขาหิมะขาว พวกเขาจะเดินทางไปด้วยวิธีการที่เรียกว่า \”เดิน 3 ก้าว กราบหนึ่งครั้ง\” เป็นการเดิน 3 ก้าว แล้วก้มลงกราบแบบอัษฎางคประดิษฐ์กับพื้นไหว้ทีหนึ่ง เป็นวิธีการของชาวธิเบตที่จะจารึกแสวงบุญ
ชาวธิเบตใช้วิธีการนี้ในการแสวงบุญทำให้มีความรู้สึกว่าสามารถที่จะเดินทาง โดยเท้าได้เหมือนคนทุกคน ทั้งขึ้นและลงรวมแล้ว 3,000 กว่ากิโลเมตร
ชาวธิเบตเดินทางจากซินหนงเสี้ยนเป็นอำเภอของเมืองซินหนง กันซือเป็น เขตปกครองตัวเองของมณฑลเสฉวนที่อยู่ในฝั่งตะวันตกเฉียงใต้ของเสฉวน ติดกับทิเบตกับมณฑลยูนาน รวมการไหว้จนมาถึงที่นี่ได้ทั้งหมด 100,000 ครั้ง คนทิเบตมีพระองค์หนึ่งอยู่ในใจตลอดเวลา

พระพุทธศาสนาแบบทิเบต คือพุทธศาสนานิกายวชิรยาน กำเนิดและแพร่หลายในทิเบตโดยตรง ปัจจุบันได้แพร่หลายไปในหลายประเทศ มีเอกลักษณ์เฉพาะเพราะเป็นการผสมผสานระหว่างพุทธศาสนานิกายมหายานทั้งจากอินเดียและจีน รวมทั้งอิทธิพลจากพุทธศาสนานิกายตันตระของอินเดีย จนเกิดเป็นนิกายวัชรยานขึ้น
ว่ากันว่าตามความเชื่อของชาวทิเบต จะต้องกราบไหว้ในแบบอัษฎางคประดิษฐ์ครบ 100,000 ครั้ง บนเส้นทางจาริกแสวงบุญไปยังนครลาซา ขณะที่นักบวชชาวทิเบตหลายคนเดินทางไปยังเจดีย์พุทธคยา เพื่อกราบไหว้สถานที่ตรัสรู้ให้ได้ 100,000 ครั้งเช่นกัน
นอกจากชาวทิเบตแล้ว ชาวตะวันตกที่นับถือพุทธศาสนานิกายวัชรยานมากมาย ก็เดินทางไปสักการะเจดีย์แห่งนี้ด้วยวิธีการเดียวกัน บางคนกราบอัษฎางคประดิษฐ์วนรอบองค์มหาเจดีย์ ขณะที่บางคนยึดพื้นที่เล็ก ๆ พอสำหรับตัวเองรอบนอกองค์เจดีย์ ปูผ้าผืนเท่าตัวคนแล้วเริ่มกราบไหว้ด้วยจังหวะสม่ำเสมอราวกับเครื่องจักร
ชาวพุทธไทยไม่เพียงทึ่งกับศรัทธา หากแต่อีกมุมมองของบางคนมองว่า การกราบแบบนี้ผู้แสวงบุญจะต้องมีร่างกายที่แข็งแรงพร้อมด้วย เพราะการกราบแบบอัษฎางคประดิษฐ์นั้นต้องใช้ทุกสัดส่วนของร่างกายรวมทั้งพละกำลังอย่างมหาศาล
ก็ว่ากันว่า การน้อมตัวลงกราบนอนราบไปกับพื้นมีความหมายถึงการที่เรายินดี อุทิศตน พร้อมเข้าสู่วัฏสงสาร เพื่อช่วยสรรพสัตว์อื่น ๆ และเมื่อเรากลับมายืนขึ้นอีกครั้ง มีความหมายถึงเมื่อนั้นเราพร้อมที่จะนำพาสรรพสัตว์อื่น ๆ ให้หลุดพ้นออกมาจากห้วงทุกข์แห่งวัฏสงสารมาด้วยกัน
เครดิต: https://web.facebook.com/dr.sinchai.chaojaroenrat/photos/a.494296587282529.117037.494206543958200/603210569724463/?type=1\u0026theater

ลองกราบแบบอัษฎางคประดิษฐ์ (Prostration) หรือ ชากเซล (Chag Tsel) at ทิเบต Tibet

ความหมายและวิธีการกราบแบบพุทธทิเบต


กราบแบบทิเบต กราบอัษฏางคประดิษฐ์
การกราบแบบพุทธทิเบต หรือเรียกว่า กราบอัษฎางคประดิษฐ์ บางท่านเรียกว่ากราบศิโรราบ มาจากภาษาทิเบตว่า ชักเซล ในทางพุทธแบบวัชรยานโดยเฉพาะทิเบต เป็นการแสดงความเคารพอย่างสูงสุดต่อพระรัตนตรัย เราจะเห็นภาพการกราบแบบนี้นี้เมื่อไปที่อินเดียหรือทิเบตหรือตามภาพในสื่อต่างๆ ชาวพุทธจะหันหน้าไปที่พระพุทธรูป ที่พุทธสถาน แล้วกราบกันวันละหลายๆ ครั้ง หรือเดินไปกราบไปให้ถึงสถานที่สำคัญทางพระพุทธศาสนามากมาย
.
การกราบแบบทิเบตมีขั้นตอนอย่างไร ทำยังไง มีความหมายอะไรบ้าง ศึกษาได้จากคลิปนี้ครับ
.
สนับสนุนช่องโดยการโดเนทได้ที่ https://tipme.in.th/choholive
หรือสมัครสมาชิกช่องเพื่อสนับสนุนรายเดือนก็ได้นะครับ

ความหมายและวิธีการกราบแบบพุทธทิเบต

กราบแบบทิเบต\”กราบอัษฎางคประดิษฐ์\”หนึ่งเดียวในไทย


บุญชูเอสเอ็มอีไทย

กราบแบบทิเบต\

ชีวิตจริงยิ่งกว่าละคร!? \” กรีน อัษฎาพร \” | Highlight เกลือ วัน เด้อ EP.44 | 30 ม.ค. 64 | one31


ช่องวัน 31 ส่งรายการสุดพิเศษ เกลือวันเด้อ วาไรตี้ คอมเมดี้ ทอล์กโชว์ สุดสนุก ที่จะทำให้คุณไม่อยากลุกไปจากหน้าจอ!
ดำเนินรายการโดยพิธีกรอารมณ์ดีอันดับ 1 ของช่องวัน \”เกลือกิตติ เชี่ยววงศ์กุล\” ที่ปากกล้า ฮา น่ารัก และกินใจ ที่จะมาทำให้วันอาทิตย์ของคุณเป็นวันหยุดสุดพิเศษ ที่สนุกและบันเทิงจนคุณคาดไม่ถึง!!
ติดตามชมในรายการ \”เกลือ วัน เด้อ\” ทุกวันเสาร์ เวลา 22:15 น. ทาง ช่องวัน31
ดูฟรี คมชัด ทั่วประเทศ
ชม Online ได้ทาง : https://www.one31.net/live
ดูย้อนหลังที่แรกทาง : https://www.one31.net
ติดตามข่าวสารจากช่อง one
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชั่น “one31” ที่ : https://www.bit.ly/one31app
Facebook : https://www.facebook.com/one31Thailand
Instagram : https://www.instagram.com/one31thailand
Twitter : https://twitter.com/onehdthailand

ชีวิตจริงยิ่งกว่าละคร!?  \

นอกจากการดูหัวข้อนี้แล้ว คุณยังสามารถเข้าถึงบทวิจารณ์ดีๆ อื่นๆ อีกมากมายได้ที่นี่: ดูวิธีอื่นๆINVESTMENT

Articles compiled by CASTU. See more articles in category: INVESTMENT

Leave a Comment