การกล่าวปิดงานอบรม | พิธีกรกล่าวปิดงานสัมมนา

You are viewing this post: การกล่าวปิดงานอบรม | พิธีกรกล่าวปิดงานสัมมนา

การกล่าวปิดงานอบรม

 

นอกจากการดูบทความนี้แล้ว คุณยังสามารถดูข้อมูลที่เป็นประโยชน์อื่นๆ อีกมากมายที่เราให้ไว้ที่นี่: ดูความรู้เพิ่มเติมที่นี่

ผอ.ศูนย์PEER Center

การกล่าวปิดงานอบรม

กล่าวทักทายในงานทางการ – ทักษะการพูดและการนำเสนอ – จีนา จีนาฟู

 

งานทางการ ผู้ใหญ่ตำแหน่งสูงๆเยอะแยะ จะกล่าวทักทายยังไง..ให้เข้าทาง!

Subscribe ติดตามดูวิดีโอเทคนิคการนำเสนอ เพื่อสร้างผลลัพธ์ที่ต้องการ:
http://bit.ly/SubscribeAuditorium
เรียนรู้เทคนิคการพูดและการนำเสนอผ่าน Facebook วิทยากร:
http://bit.ly/GinaJeenafu
Auditorium Co., Ltd.
http://auditorium.co.th

กล่าวทักทายในงานทางการ - ทักษะการพูดและการนำเสนอ - จีนา จีนาฟู

พิธีกรงานสัมมนา

 

Www.facebook.com/beautynapapach

พิธีกรงานสัมมนา

ต้นแบบพิธีกร

 

ต้นแบบพิธีกร

กล่าวปิดงานสัมมนา

 

กล่าวปิดงานสัมมนา

คำกล่าว ปิดงานสัมมนาระหว่างประเทศ “หนึ่งแถบหนึ่งเส้นทาง” และความร่วมมือแม่น้ำล้านช้าง-แม่น้ำโขง ครั้งที่ 3 ของท่านกงสุลใหญ่ เหริน ยี่เซิง

แขกผู้มีเกียรติทุกท่านครับ

ภายใต้ความพยายามร่วมกันของทุกฝ่าย สถานกงสุลใหญ่แห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง และมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ร่วมมือกันจัดงานสัมมนาระหว่างประเทศ “หนึ่งแถบหนึ่งเส้นทาง” และความร่วมมือแม่น้ำล้านช้าง-แม่น้ำโขง ครั้งที่ 3 ขึ้น ซึ่งสำเร็จลุล่วงด้วยดี จนเกือบถึงช่วงสุดท้ายของงานสัมมนา ทั้งผู้นำของรัฐบาลจีน-ไทย ผู้นำองค์กร และนักวิชาการผู้เชี่ยวชาญกว่า 400 ท่าน ได้ร่วมกันอภิปราย และแลกเปลี่ยนความคิดเห็นในหัวข้อการสัมมนาเชิงลึก เพื่อส่งเสริมความร่วมมือระดับภูมิภาค เพื่อหาแนวคิดใหม่ สำรวจวิธีการใหม่ และสร้างผลงานใหม่

ตลอดช่วงเช้าของงานสัมมนา ผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงราย นายประจญ ปรัชญ์สกุล นายหลี่ เจิ้งหยาง รองประธานคณะกรรมาธิการการเศรษฐกิจ สภาที่ปรึกษาทางการเมืองแห่งชาติจีน ประจำมณฑลยูนนาน นายพิชยพันธุ์ ชาญภูมิดล อธิบดีกรมเอเชียตะวันออก กระทรวงการต่างประเทศ นายเฉิน เต๋อไห่ เลขธิการศูนย์จีน-อาเซียน รองศาสตราจารย์ ดร.วันชัย ศิริชนะและแขกผู้มีเกียรติท่านอื่นๆ ต่างก็มีบทบาทสำคัญในการแนะนำและแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับประเด็นต่างๆ อย่างโดดเด่น ทั้งนโยบาย “หนึ่งแถบหนึ่งเส้นทาง” ความร่วมมือแม่น้ำล้านช้าง-แม่น้ำโขง ตลอดจนความร่วมมือระหว่างจีน-ไทย (ภาคเหนือ) ในช่วงบ่าย เรายังมีการจัดอภิปรายพิเศษ มีการจัดงานแสดงสินค้า กิจกรรมจับคู่ธุรกิจ จัดนิทรรศการวัฒนธรรมจีน และกิจกรรมอื่นๆ ข้าพเจ้าเชื่อว่า การสัมมนาครั้งนี้จะบรรลุเป้าหมายที่คาดไว้ คือ แบ่งปันมิตรภาพ ร่วมมือกัน แบ่งปันและพัฒนาร่วมกัน การสัมมนาครั้งนี้สรุปประเด็นสำคัญได้ดังนี้

ประการที่หนึ่งคือ คว้าโอกาสและเผชิญหน้ากับความท้าทายที่ไม่เคยเกิดขึ้น ประเทศในแถบแม่น้ำล้านช้าง-แม่น้ำโขงต้องรวมตัวกันเพื่อสร้างความสัมพันธ์เชิงลึก เน้นสร้างความร่วมมือระหว่างกัน โลกยุคโลกาภิวัตน์ในปัจจุบัน กำลังพัฒนาไปเป็นแบบหลายขั้วอย่างต่อเนื่อง ประโยชน์ของแต่ละประเทศไม่เคยลึกเท่าวันนี้ สันติภาพและการพัฒนายังคงเป็นประเด็นสำคัญของยุคสมัย การต่อต้านโลกาภิวัตน์  เอกภาพนิยม ลัทธิคุ้มครองการค้าไม่เป็นที่นิยม สันติภาพ การพัฒนา ความร่วมมือ และได้ชัยชนะร่วมกัน คือตัวเลือกเดียวที่ถูกต้อง 6 ประเทศแถบลุ่มแม่น้ำล้านช้าง-แม่น้ำโขง เป็นกลุ่มประเทศตลาดเกิดใหม่ และประเทศกำลังพัฒนา ซึ่งมีผลต่ออัตราการเติบโตของเศรษฐกิจโลก ถึงร้อยละ 80 GDP คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 40 ของเศรษฐกิจโลก การพัฒนาอย่างต่อเนื่อง กลุ่มมวลชนที่เพิ่มขึ้นไม่สามารถหยุดยั้งได้ พวกเราควรที่จะคว้าโอกาส จับมือกันทำงาน รับมือกับปัญหา และความท้าทายใหม่ๆ เพื่อเปลี่ยน “อันตราย” ให้เป็น “โอกาส” ประเทศจีนยังคงปฏิบัติตามหลักการ “ความจริงใจและความซื่อสัตย์” และนโยบาย “เป็นเพื่อนบ้านที่ดี เป็นหุ้นส่วนที่ดี” กระชับความสัมพันธ์ระหว่างประเทศทางความร่วมมือ ผลักดันแนวคิด “หนึ่งแถบหนึ่งเส้นทาง” และความร่วมมือแม่น้ำล้านช้าง-แม่น้ำโขง ส่งเสริมสันติภาพและการพัฒนาที่รุ่งเรืองในเขตภูมิภาค

ประการที่สองคือ เน้นสร้างความสัมพันธ์แบบหุ้นส่วนที่เชื่อมโยงกันระหว่างภูมิภาค ส่งเสริมพัฒนาการเชื่อมต่อระหว่างกัน ซึ่งทุกฝ่ายต้องเห็นพ้องต้องกันว่า ประเทศในกลุ่มลุ่มแม่น้ำโขงกับประเทศจีนมีความเกื้อกูลซึ่งกันและกันในด้านของระบบอุตสาหกรรม โครงสร้างพื้นฐาน และการเกษตรสมัยใหม่ เราเป็นหุ้นส่วนกันโดยธรรมชาติ พวกเราควรจะนำความร่วมมือในกลุ่มแม่น้ำล้านช้าง-แม่น้ำโขง มาสร้างเป็น “สนามสาธิต” ทางความร่วมมือระหว่างประเทศของภูมิภาคตามแนวคิด “หนึ่งแถบหนึ่งเส้นทาง” ประเทศจีนจะยึดถือซึ่งจิตวิญญาณแห่งสันติภาพทางความร่วมมือ เปิดกว้าง เรียนรู้ซึ่งกันและกัน เพื่อผลประโยชน์ร่วมกัน รวมการพัฒนาของจีนกับการพัฒนากลุ่มประเทศลุ่มแม่น้ำโขงรวม เข้าถึง “หลัก 5 ประการ” เชิงลึก ลดช่องว่างของการพัฒนา เพิ่มพลังในการพัฒนา แบ่งปันผลประโยชน์ร่วมกัน จีนไทยประสบผลสำเร็จอย่างโดดเด่นในการร่วมกันสร้าง “หนึ่งแถบหนึ่งเส้นทาง” ซึ่งเป็นโอกาสสำคัญยิ่งที่ทั้งสองฝ่ายจะยกระดับความสัมพันธ์ระหว่างกัน ผลักดันการสร้างทางรถไฟไทยจีน ขยายความร่วมมือด้านเศรษฐกิจดิจิทัล การสื่อสารและนวัตกรรมเทคโนโลยี 5G ตลอดจนความร่วมมือด้านอื่นๆ กระตุ้นการสร้างรถไฟความเร็วสูง สมาร์ทซิตี้ ความร่วมมือไตรภาคี และอื่นๆ ตาม “โครงการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก” ของไทย ในฐานะ “การเป็นผู้นำ” เพื่อช่วยในการพัฒนาภูมิภาคท้องถิ่น

ประการที่สาม การประชุมบรรลุผลสำเร็จอย่างเป็นรูปธรรม สร้างผลประโยชน์ที่ได้รับร่วมกันในอนาคต ในช่วงบ่าย ผู้เข้าร่วมประชุมได้แลกเปลี่ยนความคิดเห็นอย่างกว้างขวางในเชิงลึกเกี่ยวกับความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการค้า การสร้างโครงสร้างพื้นฐาน สมาร์ทซิตี้ การเกษตร วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี การศึกษา การท่องเที่ยว วัฒนธรรมและการศึกษา และธรรมาภิบาลสิ่งแวดล้อม เป็นต้น ทำให้ได้พบเจอกับผู้ที่มีความรู้ความสามารถมากมาย ที่จะช่วยเสนอแนวคิดสร้างสรรค์ และแผนงานที่เป็นไปได้ที่จะขยายแนวความคิด “หนึ่งแถบหนึ่งเส้นทาง” และความร่วมมือแม่น้ำล้านช้าง-แม่น้ำโขง พร้อมเสนอนวัตกรรมอีกมากมาย นอกจากนี้ยังมีผู้ประกอบการกว่า 200 คนจาก 10 บริษัททั้งประเทศจีนและไทยเข้าร่วมจัดแสดงนิทรรศการ”สมาร์ทซิตี้ ” การจับคู่ธุรกิจ และกิจกรรมด้านอื่น ๆ รวมถึง การพัฒนาการเกษตร การป้องกันและควบคุมหมอกควันเทคโนโลยี การท่องเที่ยวและอื่น ๆ ซึ่งทุกฝ่ายมาพร้อมกับความตั้งใจอย่างแรงกล้าที่จะร่วมมือกัน ศักยภาพของการก่อตั้ง “หนึ่งแถบหนึ่งเส้นทาง” ในอนุภูมิภาค และความร่วมมือแม่น้ำล้านช้าง-แม่น้ำโขงจะไม่มีที่สิ้นสุด

นอกจากนี้ ในระหว่างการประชุม ทุกฝ่ายยังได้ประเมินบทบาทการสัมมนาไปในเชิงบวก และรอคอยที่จะให้มีการจัดงานต่อไป เชื่อว่าด้วยความพยายามร่วมกันของทุกฝ่าย การสัมมนาจะถูกเปลี่ยนเป็นโครงการชั้นนำและมีลักษณะที่พิเศษเฉพาะ เพื่อให้เป็นเวทีและความช่วยเหลือแก่ประเทศในอนุภูมิภาค และเพื่อการมีส่วนร่วมใน “หนึ่งแถบหนึ่งเส้นทาง” และความร่วมมือแม่น้ำล้านช้าง-แม่น้ำโขง

ท่านสุภาพบุรุษและสุภาพสตรีทุกท่านครับ

ในวันพรุ่งนี้ ทางผู้จัดงานการประชุมจะยังคงมีการจัดงาน Business Matching ขอเชิญชวนแขกผู้มีเกียรติทุกท่านเข้าร่วม เพื่อเสริมสร้างการแลกเปลี่ยนและเชื่อมต่อโอกาสทางธุรกิจ

ก่อนการปิดงานสัมมนาในวันนี้ ข้าพเจ้าในนามสถานกงสุลใหญ่แห่งสาธารณรัฐประชาชนจีนประจำเชียงใหม่ ขอขอบคุณแขกผู้เกียรติทุกท่านที่ให้ความกระตือรือร้นเข้าร่วมงาน และให้การสนับสนุน ขอขอบคุณเพื่อนสื่อมวลชนทุกท่านที่รายงานข่าวการสัมมนาในครั้งนี้ ขอขอบคุณมหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวงโดยเฉพาะรศ. ดร. ชยาพร วัฒนศิริ อธิการบดีมหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวงและรศ. ดร.นันทนา คชเสนี รองอธิการบดีมหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวงกับมหาวิทยาลัยเชียงใหม่สำหรับความพยายามอย่างยิ่งใหญ่ในการจัดงานสัมมนาครั้งนี้ ขอขอบคุณบุคลากรและอาสาสมัครทุกท่านที่ทุ่มเททำงานหนัก

สุดท้ายนี้ ขอให้มิตรภาพระหว่างจีนไทยคงอยู่ตลอดไป ขอให้แขกผู้มีเกียรติทุกท่านหน้าที่การงานเจริญรุ่งเรือง ขอให้ท่านที่เดินทางมาจากต่างจังหวัดเดินทางกลับโดยสวัสดิภาพ

ขอบคุณครับ

พิธีกร​งาน​สัมมนา​ Smart​ Grid.​ โดย​ สำนักงาน​นโยบาย​และ​แผน​พลังงาน​กระทรวง​พลังงาน​

เทคนิคการกล่าวปิดการสัมนาให้ประทับใจ I ดร.จอมพล สุภาพ

นอกจากการดูหัวข้อนี้แล้ว คุณยังสามารถเข้าถึงบทวิจารณ์ดีๆ อื่นๆ อีกมากมายได้ที่นี่: ดูวิธีอื่นๆGENERAL NEWS

Articles compiled by CASTU. See more articles in category: GENERAL NEWS

Leave a Comment