พระราชประวัติ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว | ประวัติร.6

You are viewing this post: พระราชประวัติ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว | ประวัติร.6

พระราชประวัติ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว


นอกจากการดูบทความนี้แล้ว คุณยังสามารถดูข้อมูลที่เป็นประโยชน์อื่นๆ อีกมากมายที่เราให้ไว้ที่นี่: ดูความรู้เพิ่มเติมที่นี่

พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาวชิราวุธฯ พระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว หรือ พระบาทสมเด็จพระรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราวุธ พระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว (1 มกราคม พ.ศ. 2423 – 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2468) เป็นพระมหากษัตริย์ไทยรัชกาลที่ 6 ในราชวงศ์จักรี เสด็จพระราชสมภพเมื่อวันเสาร์ เดือนยี่ ขึ้น 2 ค่ำ ปีมะโรง ตรงกับวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2423 เป็นพระราชโอรสพระองค์ที่ 29 ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เสวยราชสมบัติเมื่อวันเสาร์ที่ 23 ตุลาคม ปีจอ พุทธศักราช 2453 และเสด็จสวรรคตเมื่อวันที่ 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2468 รวมพระชนมายุ 45 พรรษา เสด็จดำรงราชสมบัติรวม 15 ปี
พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว มีพระอัจฉริยภาพและทรงบำเพ็ญพระราชกรณียกิจในหลายสาขา ทั้งด้านการเมืองการปกครอง การทหาร การศึกษา การสาธารณสุข การต่างประเทศ และที่สำคัญที่สุดคือด้านวรรณกรรมและอักษรศาสตร์ ได้ทรงพระราชนิพนธ์บทร้อยแก้วและร้อยกรองไว้นับพันเรื่อง กระทั่งทรงได้รับการถวายพระราชสมัญญาเมื่อเสด็จสวรรคตแล้วว่า \”สมเด็จพระมหาธีรราชเจ้า\” พระองค์เป็นพระมหากษัตริย์ใน พระราชวงศ์จักรีพระองค์แรกที่ไม่มีวัดประจำรัชกาล แต่ได้ทรงมีการการสถาปนาโรงเรียนมหาดเล็กหลวง หรือวชิราวุธวิทยาลัยในปัจจุบัน ขึ้นแทน ด้วยทรงพระราชดำริว่าพระอารามนั้นมีมากแล้ว และการสร้างอารามในสมัยก่อนนั้นก็เพื่อบำรุงการศึกษาของเยาวชนของชาติ จึงทรงพระราชดำริให้สร้างโรงเรียนขึ้นแทน
พระบรมราชานุสาวรีย์แห่งแรกของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวสร้างแล้วเสร็จเมื่อพ.ศ. 2485 ประดิษฐาน ณ สวนลุมพินี ซึ่งเป็นบริเวณที่ดินส่วนพระองค์ ที่พระราชทานไว้เป็นสมบัติของประชาชน เพื่อจัดงานสยามรัฐพิพิธภัณฑ์แสดงสินค้าไทยแก่ชาวโลกเป็นครั้งแรก เพื่อบำรุงเศรษฐกิจและพาณิชยกรรมของประเทศ (แต่มิทันได้จัดก็เสด็จสวรรคตเสียก่อน) และทรงตั้งพระราชหฤทัยว่าเมื่อเสร็จงานแล้ว จะพระราชทานเป็นสวนสาธารณะพักผ่อนหย่อนใจแห่งแรกในกรุงเทพฯ ทั้งนี้ ในวันคล้ายวันสวรรคตของทุกปี วันที่ 25 พฤศจิกายน พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว หรือผู้แทนพระองค์ จะเสด็จพระราชดำเนินไปทรงวางพวงมาลา ถวายบังคมพระบรมราชานุสรณ์ ณ สวนลุมพินีแห่งนี้ ในวันนั้นมีหน่วยราชการ หน่วยงานเอกชน นิสิตนักศึกษา พ่อค้าประชาชนจำนวนมากไปวางพวงมาลาถวายราชสักการะ และยังทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้บำเพ็ญพระราชกุศลอุทิศถวาย ณ วชิราวุธวิทยาลัย
ใน พ.ศ. 2524 องค์การการศึกษาวิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (UNESCO) ได้ยกย่องพระเกียรติคุณของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวว่าทรงเป็นบุคคลสำคัญของโลก ผู้มีผลงานดีเด่นด้านวัฒนธรรม ในฐานะที่ทรงเป็นนักปราชญ์ นักประพันธ์ กวี และนักแต่งบทละครไว้เป็นจำนวนมาก
พระปรมาภิไธยว่า \”พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาวชิราวุธ เอกอรรคมหาบุรุษบรมนราธิราช พินิตประชานารถมหาสมมตวงษ์ อดิศัยพงษวิมลรัตน์ วรขัตติยราชนิกโรดม จาตุรันตบรมมหาจักรพรรดิราชสังกาศ อุภโตสุชาตสังสุทธเคราะหณี จักรีบรมนาถ จุฬาลงกรณราชวรางกูร บรมมกุฏนเรนทรสูรสันตติวงษวิสิฐ สุสาธิตบุรพาธิการ อดุลยกฤษฎาภินิหารอดิเรกบุญฤทธิ ธัญลักษณวิจิตรโสภาคยสรรพางค์ มหาชโนตมางคประณตบาทบงกชยุคล ประสิทธิสรรพศุภผลอุดมบรมสุขุมาลย์ ทิพยเทพาวตารไพศาลเกียรติคุณอดุลยพิเศษ สรรพเทเวศรานุรักษ์ บุริมศักดิสมญาเทพวาราวดี ศรีมหาบุรุษสุตสมบัติ เสนางคนิกรรัตน์อัศวโกศล ประพนธปรีชามัทวสมาจาร บริบูรณ์คุณสารสยามาทินครวรุตเมกราชดิลก มหาปริวารนายกอนันต์ มหันตวรฤทธิเดช สรรพวิเศษศิรินธร บรมชนกาดิศรสมมต ประสิทธิวรยศมโหดมบรมราชสมบัติ นพปฎลเสวตฉัตราดิฉัตร ศิริรัตโนปลักษณมหาบรมราชาภิเศกาภิสิต สรรพทศทิศวิชิตไชย สกลมไหศวริยมหาสวามินทร์ มเหศวรมหินทรมหารามาธิราชวโรดม บรมนารถชาติอาชาวศรัย พุทธาทิไตรรัตนสรณารักษ์ อดุลยศักดิ์อรรคนเรศราธิบดี เมตตากรุณาสีตลหฤไทย อโนปไมยบุญการ สกลไพศาลมหารัษฎาธิบดินทร์ ปรเมนทรธรรมิกมหาราชาธิราช บรมนารถบพิตร พระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว\”

พระราชประวัติ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว

อดีตพระคู่หมั้น ร.6 ผู้ถูกคุมขังในวังตลอดรัชกาล Back To The History:ย้อนรำลึกประวัติศาสตร์ No.66


Back To The History : ย้อนรำลึกประวัติศาสตร์ No.66
ตอน พระองค์เจ้าวัลลภาเทวี อดีตพระคู่หมั้น ร.6 ผู้ถูกคุมขังในวังตลอดรัชกาล!!!
โดย Assavarak Channel
ติดตามเพิ่มเติมได้ที่
https://www.instagram.com/assavarakchannel/
https://www.facebook.com/Assavarakchannel/?ref=ts\u0026fref=ts

ร่วมส่งเสริมและสนับสนุนการเผยแพร่ฯ
สาระน่ารู้ เกร็ดประวัติศาสตร์ ฯลฯ ผ่านทางช่อง Assavarak Channel
ได้ที่ ธนาคารไทยพานิชย์ 8082543250 Assavarak Chan.
ห้าบาทสิบบาทตามกำลังช่วยให้น้องๆ ทีมงานได้ทำช่อง ทำรายการดีๆ ต่อไปกันด้วยนะครับ
ขอบคุณทุกกำลังใจที่ส่งมาให้นะครับ ส่งสลิปแจ้งการโอนบริจาคสนับสนุนได้ที่ไลน์ไอดี aun.1577 นะครับ

ขอบคุณสำหรับทุกการติดตาม
อย่าลืมกดติดตาม หรือ subscribe ที่ช่องให้ด้วยนะครับ
แล้วเจอกันใหม่ครั้งต่อไป สวัสดีครับ^^
ขังหลวง BackToTheHistory Assavarakchannel

อดีตพระคู่หมั้น ร.6 ผู้ถูกคุมขังในวังตลอดรัชกาล Back To The History:ย้อนรำลึกประวัติศาสตร์ No.66

พระนางลักษมีลาวัณ พระมเหสีในรัชกาลที่6 ถูกลอบปลงพระชนม์ ในวังลักษมีวิลาศต้องสิ้นพระชนม์อย่างเดียวดาย


หลังจากที่พระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 ทรงถอนหมั้นกับพระวรกัญญาปทานเพียงไม่กี่เดือน ก็ทรงสถาปนาหม่อมเจ้าลักษมีลาวัณ ขึ้นเป็น \”พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าลักษมีลาวัณ\” ทันที พร้อมกับทรงหมั้นและมีพระราชวินิจฉัยว่า จะทรงทำการราชาภิเษกสมรสด้วย
ภายหลังจากการเฉลิมพระยศเป็น \”พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าลักษมีลาวัณ\” ได้เพียง 1 เดือน 19 วัน พระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว ก็ทรงอภิเษกสมรสกับพระสุจริตสุดา ธิดาของเจ้าพระยาสุธรรมมนตรี พระองค์จึงทรงตัดสินพระราชหฤทัย \”แยกกันอยู่\” กับพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าลักษมีลาวัณ ทั้งที่ยังมิทันได้อภิเษกสมรสกัน จากนั้นไม่นานพระองค์เจ้าลักษมีลาวัณก็ได้รับโปรดเกล้าสถาปนาขึ้นเป็น \”พระนางเธอลักษมีลาวัณ\” ซึ่งถือเป็นการปลอบพระทัยและดำรงไว้ซึ่งสัญญาที่จะ \”ทรงเลี้ยงให้เที่ยงตรง…\” ดังบทกลอนที่พระนางเธอ ได้นิพนธ์ไว้เมื่อครั้งทรงรับหมั้น
หลังจากนั้นพระนางเธอลักษมีลาวัณ จึงตัดสินพระทัยที่จะแยกพระตำหนักไปประทับอยู่ห่างจากเจ้าพี่เจ้าน้อง ทรงประทับอยู่อย่างสันโดษ และเพื่อเลี่ยงความเงียบเหงา ซึ่งพระประยูรญาติก็ได้เคยทูลเตือนว่าอาจเกิดภยันอันตรายได้ ต่อมาเมื่อวันที่ ๒๙สิงหาคม พ.ศ.๒๕๐๔ พระนางเธอลักษมีลาวัณก็ถูกคนร้ายลอบปลงพระชนม์ชีพเพื่อชิงพระราชทรัพย์อันล้ำค่าไป ขณะนั้นทรงมีพระชนมายุ ๖๒ พรรษา

หากมีข้อมูลผิดพลาดประการใด กราบขออภัยมา ณ ที่นี้ด้วยค่ะ
อย่าลืมกดติดตามและกดกระดิ่งได้ที่นี่ได้เลยนะคะ https://goo.gl/qnmRRp

พระนางลักษมีลาวัณ พระมเหสีในรัชกาลที่6 ถูกลอบปลงพระชนม์ ในวังลักษมีวิลาศต้องสิ้นพระชนม์อย่างเดียวดาย

เรื่องลี้ลับในกรุงเทพ #ไทยไดอะรี่ I แค่อยากเล่า…◄313►


ฝังคนในเสา : https://www.youtube.com/watch?v=NMNauZnKZA
เรื่องผีในค่ายลูกเสือ : https://www.youtube.com/watch?v=LYeDJNYIv9c
ผีนางรำ : https://www.youtube.com/watch?v=R93MsepWDN0\u0026t=7s
เสาตกน้ำมัน : https://www.youtube.com/watch?v=lcXCPZOQCd4\u0026t=1s
FB : https://www.facebook.com/FNDiary
IG : https://goo.gl/FnJaQ6 IG : FNDiary
LINE Sticker :https://store.line.me/search/en?q=jr_krit

♫ Background Music ♫
Pendulum Waltz : Audionautix is licensed under a Creative Commons Attribution license (https://creativecommons.org/licenses/…) Artist: http://audionautix.com/

เรื่องลี้ลับในกรุงเทพ #ไทยไดอะรี่ I แค่อยากเล่า...◄313►

พระราชพิธีบรมราชาภิเษกรัชกาลที่ 7 จากฟิล์มไนเตรต (ฉบับมีเสียงบรรยาย)


เมื่อปี 2562 หอภาพยนตร์ได้รวบรวมจากเศษฟิล์มจำนวน 11 ม้วน ที่หอภาพยนตร์ได้อนุรักษ์ไว้ซึ่งเป็นฟิล์มภาพยนตร์ต้นฉบับที่กองภาพยนต์เผยแผ่ข่าวถ่ายเอาไว้เกี่ยวกับพระราชพิธีบรมราชาภิเษกพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว แต่ไม่ได้ตัดต่อรวมในฉบับฉายจริงด้วย และได้จัดกิจกรรมภาพยนตร์สนทนา “Unseen ภาพยนตร์บันทึกพระราชพิธีบรมราชาภิเษก รัชกาลที่ 7” โดยได้เชิญผศ.ดร.ดินาร์ บุญธรรม นักประวัติศาสตร์ผู้เชี่ยวชาญงานพระราชพิธี มาร่วมบรรยาย เพื่อบอกเล่ารายละเอียดงานพระราชพิธีดังกล่าว เมื่อวันที่ 5 เมษายน 2562
เนื่องในโอกาสมหามงคล วันฉัตรมงคล 2563 หอภาพยนตร์จึงได้นำเสียงการบรรยายในกิจกรรมดังกล่าวมาร้อยเรียงกับภาพยนตร์พระราชพิธีบรมราชาภิเษกพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว จากฟิล์มต้นฉบับไนเตรต เพื่อเป็นสื่อการเรียนรู้ที่สำคัญแก่สาธารณชน เพิ่มเติมจากฉบับที่เคยได้รับการเผยแพร่อย่างเป็นทางการ
หมายเหตุ ภาพยนตร์เรื่องนี้ใช้การลำดับภาพเดียวกับในกิจกรรมภาพยนตร์สนทนา “Unseen ภาพยนตร์บันทึกพระราชพิธีบรมราชาภิเษก รัชกาลที่ 7” เพื่อให้ตรงกับคำบรรยายของผศ.ดร.ดินาร์ บุญธรรมในวันดังกล่าว ซึ่งการลำดับภาพดังกล่าวไม่ตรงกับเหตุการณ์จริง ท่านสามารถชมภาพยนตร์เรื่องนี้ที่มีการแก้ไขในการลำดับภาพแล้วได้ที่ https://youtu.be/p6ieWBFmowU

พระราชพิธีบรมราชาภิเษกรัชกาลที่ 7 จากฟิล์มไนเตรต (ฉบับมีเสียงบรรยาย)

นอกจากการดูหัวข้อนี้แล้ว คุณยังสามารถเข้าถึงบทวิจารณ์ดีๆ อื่นๆ อีกมากมายได้ที่นี่: ดูบทความเพิ่มเติมในหมวดหมู่GENERAL NEWS

Articles compiled by CASTU. See more articles in category: GENERAL NEWS

Leave a Comment