พระราชประวัติ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว | ประวัติ พระบาท สมเด็จ พระ จุลจอมเกล้า เจ้า อยู

You are viewing this post: พระราชประวัติ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว | ประวัติ พระบาท สมเด็จ พระ จุลจอมเกล้า เจ้า อยู

พระราชประวัติ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว


นอกจากการดูบทความนี้แล้ว คุณยังสามารถดูข้อมูลที่เป็นประโยชน์อื่นๆ อีกมากมายที่เราให้ไว้ที่นี่: ดูเพิ่มเติม

พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหามงกุฎ พระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (พระราชสมภพ 18 ตุลาคม พ.ศ. 2347 สวรรคต 1 ตุลาคม พ.ศ. 2411) พระมหากษัตริย์ไทยรัชกาลที่ 4 แห่งราชวงศ์จักรี มีพระนามเดิมว่า \”เจ้าฟ้ามงกุฎ\” เสด็จพระราชสมภพในวันพฤหัสบดี ขึ้น 14 ค่ำ เดือน 11 ปีชวด ตรงกับวันที่ 18 ตุลาคม พ.ศ. 2347 ในรัชสมัย รัชกาลที่ 1 ณ นิวาสสถานพระราชวังพระราชนิเวศน์ พระราชวังเดิม ด้านใต้ของวัดอรุณราชวราราม[1] เป็นพระราชโอรสองค์ที่ 43 และเป็นลำดับที่ 2 ในพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย กับ สมเด็จพระศรีสุริเยนทราบรมราชินี
พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสวยราชสมบัติในวันพุธ ขึ้น 1 ค่ำ เดือน 5 ปีกุน ยังเป็นโทศก พ.ศ. 2394 รวมดำรงสิริราชสมบัติ 16 ปี 6 เดือน และมีพระราชโอรส พระราชธิดารวมทั้งสิ้น 82 พระองค์ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พระปรเมนทรมหามงกุฎ พระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จสวรรคตเมื่อวันพฤหัสบดี ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 11 ปีมะโรง เวลาทุ่มเศษ ตรงกับวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2411 สิริพระชนม์มายุ 64 พรรษา วัดประจำรัชกาลคือวัดราชประดิษฐสถิตมหาสีมารามราชวรวิหาร

พระราชประวัติ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว

ชีวะประวัติพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว(รัชกาลที่๕)


ชีวะประวัติพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว(รัชกาลที่๕)

พระราชประวัติ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว


พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาวชิราวุธฯ พระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว หรือ พระบาทสมเด็จพระรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราวุธ พระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว (1 มกราคม พ.ศ. 2423 – 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2468) เป็นพระมหากษัตริย์ไทยรัชกาลที่ 6 ในราชวงศ์จักรี เสด็จพระราชสมภพเมื่อวันเสาร์ เดือนยี่ ขึ้น 2 ค่ำ ปีมะโรง ตรงกับวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2423 เป็นพระราชโอรสพระองค์ที่ 29 ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เสวยราชสมบัติเมื่อวันเสาร์ที่ 23 ตุลาคม ปีจอ พุทธศักราช 2453 และเสด็จสวรรคตเมื่อวันที่ 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2468 รวมพระชนมายุ 45 พรรษา เสด็จดำรงราชสมบัติรวม 15 ปี
พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว มีพระอัจฉริยภาพและทรงบำเพ็ญพระราชกรณียกิจในหลายสาขา ทั้งด้านการเมืองการปกครอง การทหาร การศึกษา การสาธารณสุข การต่างประเทศ และที่สำคัญที่สุดคือด้านวรรณกรรมและอักษรศาสตร์ ได้ทรงพระราชนิพนธ์บทร้อยแก้วและร้อยกรองไว้นับพันเรื่อง กระทั่งทรงได้รับการถวายพระราชสมัญญาเมื่อเสด็จสวรรคตแล้วว่า \”สมเด็จพระมหาธีรราชเจ้า\” พระองค์เป็นพระมหากษัตริย์ใน พระราชวงศ์จักรีพระองค์แรกที่ไม่มีวัดประจำรัชกาล แต่ได้ทรงมีการการสถาปนาโรงเรียนมหาดเล็กหลวง หรือวชิราวุธวิทยาลัยในปัจจุบัน ขึ้นแทน ด้วยทรงพระราชดำริว่าพระอารามนั้นมีมากแล้ว และการสร้างอารามในสมัยก่อนนั้นก็เพื่อบำรุงการศึกษาของเยาวชนของชาติ จึงทรงพระราชดำริให้สร้างโรงเรียนขึ้นแทน
พระบรมราชานุสาวรีย์แห่งแรกของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวสร้างแล้วเสร็จเมื่อพ.ศ. 2485 ประดิษฐาน ณ สวนลุมพินี ซึ่งเป็นบริเวณที่ดินส่วนพระองค์ ที่พระราชทานไว้เป็นสมบัติของประชาชน เพื่อจัดงานสยามรัฐพิพิธภัณฑ์แสดงสินค้าไทยแก่ชาวโลกเป็นครั้งแรก เพื่อบำรุงเศรษฐกิจและพาณิชยกรรมของประเทศ (แต่มิทันได้จัดก็เสด็จสวรรคตเสียก่อน) และทรงตั้งพระราชหฤทัยว่าเมื่อเสร็จงานแล้ว จะพระราชทานเป็นสวนสาธารณะพักผ่อนหย่อนใจแห่งแรกในกรุงเทพฯ ทั้งนี้ ในวันคล้ายวันสวรรคตของทุกปี วันที่ 25 พฤศจิกายน พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว หรือผู้แทนพระองค์ จะเสด็จพระราชดำเนินไปทรงวางพวงมาลา ถวายบังคมพระบรมราชานุสรณ์ ณ สวนลุมพินีแห่งนี้ ในวันนั้นมีหน่วยราชการ หน่วยงานเอกชน นิสิตนักศึกษา พ่อค้าประชาชนจำนวนมากไปวางพวงมาลาถวายราชสักการะ และยังทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้บำเพ็ญพระราชกุศลอุทิศถวาย ณ วชิราวุธวิทยาลัย
ใน พ.ศ. 2524 องค์การการศึกษาวิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (UNESCO) ได้ยกย่องพระเกียรติคุณของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวว่าทรงเป็นบุคคลสำคัญของโลก ผู้มีผลงานดีเด่นด้านวัฒนธรรม ในฐานะที่ทรงเป็นนักปราชญ์ นักประพันธ์ กวี และนักแต่งบทละครไว้เป็นจำนวนมาก
พระปรมาภิไธยว่า \”พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาวชิราวุธ เอกอรรคมหาบุรุษบรมนราธิราช พินิตประชานารถมหาสมมตวงษ์ อดิศัยพงษวิมลรัตน์ วรขัตติยราชนิกโรดม จาตุรันตบรมมหาจักรพรรดิราชสังกาศ อุภโตสุชาตสังสุทธเคราะหณี จักรีบรมนาถ จุฬาลงกรณราชวรางกูร บรมมกุฏนเรนทรสูรสันตติวงษวิสิฐ สุสาธิตบุรพาธิการ อดุลยกฤษฎาภินิหารอดิเรกบุญฤทธิ ธัญลักษณวิจิตรโสภาคยสรรพางค์ มหาชโนตมางคประณตบาทบงกชยุคล ประสิทธิสรรพศุภผลอุดมบรมสุขุมาลย์ ทิพยเทพาวตารไพศาลเกียรติคุณอดุลยพิเศษ สรรพเทเวศรานุรักษ์ บุริมศักดิสมญาเทพวาราวดี ศรีมหาบุรุษสุตสมบัติ เสนางคนิกรรัตน์อัศวโกศล ประพนธปรีชามัทวสมาจาร บริบูรณ์คุณสารสยามาทินครวรุตเมกราชดิลก มหาปริวารนายกอนันต์ มหันตวรฤทธิเดช สรรพวิเศษศิรินธร บรมชนกาดิศรสมมต ประสิทธิวรยศมโหดมบรมราชสมบัติ นพปฎลเสวตฉัตราดิฉัตร ศิริรัตโนปลักษณมหาบรมราชาภิเศกาภิสิต สรรพทศทิศวิชิตไชย สกลมไหศวริยมหาสวามินทร์ มเหศวรมหินทรมหารามาธิราชวโรดม บรมนารถชาติอาชาวศรัย พุทธาทิไตรรัตนสรณารักษ์ อดุลยศักดิ์อรรคนเรศราธิบดี เมตตากรุณาสีตลหฤไทย อโนปไมยบุญการ สกลไพศาลมหารัษฎาธิบดินทร์ ปรเมนทรธรรมิกมหาราชาธิราช บรมนารถบพิตร พระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว\”

พระราชประวัติ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว

วิกฤตของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อต้นรัชกาล


พระบาทสมเด็จฯ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (20 กันยายน พ.ศ. 2396 – 23 ตุลาคม พ.ศ. 2453) ทรงเป็นพระมหากษัตริย์ไทย รัชกาลที่ 5 แห่งราชวงศ์จักรี ที่มีพระราชกรณียากิจ ในการบริการบ้านเมืองให้เจริญรุ่งเรืองอย่างมากมาย อาทิ การปฏิรูปการปกครอง การปรับปรุงประเทศให้ทันสมัย และการเลิกทาส เป็นต้น แต่กว่าที่พระองค์จะได้เสด็จขึ้นครองราชย์ และเหตุการณ์ในสมัยต้นรัชกาลของพระองค์นั้น มิได้สะดวกสบายแต่อย่างใด หากแต่ว่าพระองค์ทรงเผชิญกับความทุกข์ยาก อันเป็นช่วงวิกฤตอย่างแสนสาหัสสำหรับพระองค์ในขณะนั้น ที่ยังทรงพระเยาว์ ติดตามได้ในวีดีโอนี้

ข้อมูลอ้างอิง
ดำรงราชานุภาพ, สมเด็จฯ กรมพระยา. (๒๕๕๕). พระราชพงศาวดารรัชกาลที่ ๕. กรุงเทพฯ : มติชน.
จดหมายเหตุ เรื่องพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าฯ ทรงพระประชวร ฉบับเจ้าพระยามหิทรศักดิ์ธำรง.
ชัยอนันต์ สมุทวนิช, ขัตติยา กรรณสูตร รวบรวม. (๒๕๑๘). เอกสารการเมืองการปกครองไทย พ.ศ. ๒๔๑๗๒๔๗๗. กรุงเทพฯ : โครงการตำราฯ.
จุลจักรพงษ์, พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้า. (๒๕๕๕). เจ้าชีวิต. กรุงเทพฯ : ริเวอร์ บุ๊คส์.
ราม วชิราวุธ. (พิมพ์ครั้งที่ 7 2559). ประวัติต้นราชกาลที่ 6. กรุงเทพฯ:มติชน.
ทวีศิลป์ สืบวัฒนะ. ประวัติศาสตร์ไทย 2. มหาสารคาม:มมส.
กุลลดา เกษบุญชู มี้ด เขียน อาทิตย์ เจียมรัตคัญญู แปล. (2562). ระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ วิวัฒนาการรัฐไทย. นนทบุรี:ฟ้าเดียวกัน.

วิกฤตของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อต้นรัชกาล

พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 พระราชกรณียกิจด้านการปฏิรูปกฎหมายและการศาล ทรู


พระราชกรณียกิจด้านการปฏิรูปกฎหมายและการศาล

พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5   พระราชกรณียกิจด้านการปฏิรูปกฎหมายและการศาล   ทรู

นอกจากการดูหัวข้อนี้แล้ว คุณยังสามารถเข้าถึงบทวิจารณ์ดีๆ อื่นๆ อีกมากมายได้ที่นี่: ดูวิธีอื่นๆGENERAL NEWS

Articles compiled by CASTU. See more articles in category: GENERAL NEWS

Leave a Comment