วิธีประเมินมูลค่าหุ้น อันไหนดีสุด ? | การหามูลค่าที่แท้จริงของหุ้น

You are viewing this post: วิธีประเมินมูลค่าหุ้น อันไหนดีสุด ? | การหามูลค่าที่แท้จริงของหุ้น

วิธีประเมินมูลค่าหุ้น อันไหนดีสุด ?


นอกจากการดูบทความนี้แล้ว คุณยังสามารถดูข้อมูลที่เป็นประโยชน์อื่นๆ อีกมากมายที่เราให้ไว้ที่นี่: ดูความรู้เพิ่มเติมที่นี่

มีคนถามเกี่ยวกับวิธีประเมินมูลค่าหุ้นว่าวิธีไหนดีสุด วันนี้เราเลยถือโอกาสอธิบายให้เห็นภาพว่าวิธีประเมินมูลค่าหุ้นมันมีอะไรบ้าง แต่ละอันต่างกันอย่างไร และวิธีไหนดีที่สุดครับ
หัวข้อนี้เป็นเนื้อหาที่ผมสอบ CFA Level 2 ผ่านไปแล้วพอดี ซึ่งรายละเอียดเรื่องนี้มันเยอะเนื้อหามีเป็นเล่มเลยครับ แต่ผมจะพยายามอธิบายมันคร่าวๆละกันนะ
วิธีประเมินมูลค่าบริษัทมันจะแบ่งเป็น
1. Income approach หรือ Present value models
ไอเดียหลักคือมูลค่าของทรัพย์สินมันควรจะคิดจากผลประโยชน์ที่เราคาดว่าจะได้รับจากการที่เราเป็นเจ้าของมัน ดังนั้นถ้าเราประมาณการผลประโยชน์ที่เราคาดว่าจะได้ที่จะเกิดขึ้นในอนาคตแล้วคิดลดผลประโยชน์เหล่านั้นทั้งหมดกลับมาเป็นมูลค่าในปัจจุบัน ตัวเลขที่ได้มาจากการคำนวณก็ควรจะเป็นมูลค่าของทรัพย์สินนั้น
วิธีการกลุ่มนี้มันก็จะมีแยกย่อยออกไปอีกและแต่ละวิธีก็จะมีรายละเอียดปลีกย่อยลงไปอีก อันหลักๆที่ได้รับความนิยมก็จะเป็น
•คิดลดตัวปันผล (Discounted Dividend) ตรงไปตรงมาสุด ข้อมูลมีอยู่แล้วด้วย แต่มันก็จะมีปัญหากับบริษัทที่ไม่จ่ายปันผล หรือจ่ายปันผลห่างจากกำไรสุทธิที่ทำได้เยอะมาก
•คิดลดความสามารถในการจ่ายปันผล (Discounted Free Cash Flow) Free Cash Flow นี่หมายถึงกระแสเงินสดที่มาจากการดำเนินงานและหักส่วนที่ต้องใช้สำหรับเป็นเงินทุนหมุนเวียนและลงทุนในสิ่งจำเป็นสำหรับธุรกิจแล้ว อันนี้ก็ออกมาแก้ความเสียเปรียบของการคิดลดตัวปันผล ในทางคอนเซปต์ก็เหมาะสมมากใช้ได้กับหุ้นที่จ่ายและไม่จ่ายปันผล แต่ข้อเสียคือข้อมูลมันไม่มีต้องทำการบ้านเยอะ ปกติที่ต้องใช้การเดาอยู่แล้วยิ่งต้องเดาเยอะขึ้นไปอีก มีทำกัน 2 แบบหลักๆคือคิดลดตัว Free Cash Flow to Equity กับ Free Cash Flow to the Firm
สำหรับคนต้องการรายละเอียดวิธีทำเราเคยมีอธิบายไว้ในวีดิโออื่น
https://youtu.be/vNQ7KMoAZDY
https://youtu.be/GJwSPsFFdWg
https://youtu.be/t5nIoL5GiE
โดยภาพรวมของวิธีการนี้ข้อดีคือหลักการมันถูกต้องสุดละ แต่ข้อเสียคือมันมีตัวแปรที่ยากมากอยู่สองเรื่องคือการประมาณการผลประโยชน์ที่เราคาดว่าจะได้รับในอนาคต และอัตราผลตอบแทนที่ใช้ในการคิดลดซึ่งโดยหลักการแล้วควรจะต้องเป็นผลตอบแทนที่สะท้อนความเสี่ยงของทรัพย์สินนั้นซึ่งก็มีหลายทฤษฎีอีกว่าควรจะคิดมายังไง
2. Market approach หรือ Pricing multiples
ไอเดียหลักมาจาก Law of one price ซึ่งบอกว่าของที่เหมือนๆกันในตลาดก็ควรจะมีราคาขายเท่าๆกัน
หรือว่าง่ายๆคือวิธีการก็คือดูว่าโดยเฉลี่ยกลุ่มบริษัทหรือกลุ่มทรัพย์สินที่ลักษณะใกล้เคียงกับอันที่เราสนใจมันขายกันอยู่ในตลาดเท่าไหร่แล้วมาเทียบกันกับอันที่เราสนใจ วิธีการกลุ่มนี้ก็มีหลากหลายเช่นกัน แต่ที่นิยมใช้ส่วนใหญ่ก็คือการเทียบราคาหุ้นกับปัจจัยพื้นฐานบางอย่างของบริษัทว่าเป็นสัดส่วนเท่าไหร่ เช่นราคาเทียบกับกำไร (P/E), ราคาเทียบกับมูลค่าทางบัญชี (P/B), ราคาเทียบกับยอดขาย (P/S), ราคาเทียบกับปันผล (Dividend yield) หรือไม่ก็เทียบราคาของทั้งบริษัท (Enterprise Value) กับ EBITDA อันนี้คล้ายๆกับ P/E แหละแต่ต่างตรงที่มองจากมุมมองของทั้งบริษัทไม่ใช่เฉพาะจากมุมมองของผู้ถือหุ้น
โดยภาพรวมวิธีการนี้ข้อดีคือมันใช้สิ่งที่เกิดขึ้นจริงแล้วในตลาดไม่ต้องอาศัยการเดาตัวเลขในอนาคต แต่ข้อเสียคือมันประเมินมูลค่าของบริษัทในเชิงเปรียบเทียบ ถ้าสมมติฐานที่บอกราคาตลาดเหมาะสมแล้วไม่เป็นจริงปุ๊บการประเมินมูลค่าก็อาจจะเพี้ยน เช่นถ้าตลาดโดยเฉลี่ยแล้วแพงเกินไปทั้งตลาด ต่อให้หุ้นที่เราสนใจดูถูกเมื่อเทียบกับตลาดก็ไม่ได้แปลว่าหุ้นมันราคาถูก มันอาจจะราคากลางๆเหมาะสมแล้วหรือจริงๆยังแพงไปก็ได้ ตัวอย่าง Dotcom bubble ในอเมริกางี้
3. Assetbased approach
ไอเดียหลักคือไปดูว่าบริษัทมีทรัพย์สินอะไรมูลค่าเท่าไหร่แล้วก็หักหนี้สินออกไปได้มาเป็นมูลค่าของบริษัท
วิธีการนี้มีที่ใช้จำกัด โดยปกติเค้าจะใช้กับบริษัทที่กำลังจะเลิกกิจการกำลังจะขายทรัพย์สินจ่ายหนี้แล้วคืนเงินให้กับผู้ถือหุ้น หรือไม่ก็ใช้กับบริษัทที่ทำธุรกิจทรัพยากรธรรมชาติเช่นเหมือง, ทำป่าไม้, ฯลฯ เช่นดูว่าแร่ที่มีอยู่ในเหมืองมีจำนวนเท่าไหร่ คาดว่าราคาตลาดที่จะขายได้คือเท่าไหร่ มีค่าใช้จ่ายในการขุดแร่พวกนี้ขึ้นมาเท่าไหร่
ทีนี้อันไหนดีสุด ส่วนตัวแล้วผมก็จะบอกว่าวิธีการแบบที่ 1 ที่ทำการคิดลดผลประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับในอนาคตเนี่ยแหละครับคือดีสุดละ ถึงแม้ว่ามันจะมีความยากและมีจุดบอดเรื่องตัวแปรที่ใช้ก็ตาม แบบที่ 3 มันชัดเจนอยู่แล้วว่าใช้ได้จำกัด ส่วนแบบที่ 2 ผมก็เห็นอยู่ว่ามันมีจุดบอดตรงสมมติฐานว่าตลาดถูกต้องและเหมาะสมแล้ว
ปัจจุบันนี้คนในวงการส่วนใหญ่เห็นด้วยตรงกันว่าวิธีคิดลดความสามารถในการจ่ายปันผล (Discounted Free Cash Flow) ดีกว่าการคิดลดปันผล (Discounted Dividend) แต่ปัจจุบันวิธีที่ผมใช้อยู่เป็นหลักคือ Discounted Dividend แต่เปลี่ยน terminal value แทนที่จะคิดแบบปันผลโตไป infinity ผมใช้ Price multiple แทน ทั้งนี้ทั้งนั้นเป็นเพราะผมรู้สึกว่ามันง่ายกว่าที่จะไปประมาณ Free Cash Flow และสุดท้ายวิธีการไหนมันก็อาศัยการทำนายอนาคตซึ่งไม่มีทางแม่นยำอยู่ดี ดังนั้นผมเห็นการประเมินมูลค่าหุ้นว่ามีไว้เพื่อให้เราพอจะบอกได้คร่าวๆเท่านั้นเองว่าตอนนี้ราคาหุ้นมันถูกหรือแพง ไม่ได้มีไว้เพื่อคำนวณให้ได้ตัวเลขเป๊ะๆ
สรุปคือมันไม่มีวิธีอะไรที่ทำให้เราทำนายอนาคตได้ ผมถึงบอกเสมอว่าอย่าไปกังวลกับวิธีการประเมินมูลค่าหุ้นมากนัก คุณก็ใช้วิธีการที่รู้สึกว่ามันสมเหตุสมผลสำหรับคุณน่ะแหละ แล้วเอาเวลาไปศึกษาทำความเข้าใจตัวธุรกิจของบริษัทดีกว่า มีประโยชน์กว่ากันเยอะครับ
ฟังแล้วเป็นยังไงบ้าง Comment ได้เลยนะครับ
ติดตามข่าวสารเราได้บน Facebook
https://www.facebook.com/smartstockinvestment/
หรืออ่านบทความอื่นๆของเราได้บนเวป
http://www.adisonc.com/stockinvestmentarticles/

วิธีประเมินมูลค่าหุ้น อันไหนดีสุด ?

สอนเล่นหุ้น [Advance] แนวทางการประเมินราคาหุ้นอย่างง่าย


แชร์แนวทางการประเมินราคาหุ้นแบบที่ผมใช้อยุ่ในปัจจุบันครับ ทั้งนี้จะไม่มีการชี้นำ ให้ทำการซื้อหรือขายหุ้นใดๆ
ผู้ลงทุนควรศึกษาข้อมูลด้านอื่นๆเพิ่มเติม เพื่อประกอบการตัดสินใจ
ติดตามเพจ สอนวางแผนการเงินและการลงทุนได้ที่ https://web.facebook.com/Dr.Bank.Planner/

สอนเล่นหุ้น [Advance] แนวทางการประเมินราคาหุ้นอย่างง่าย

การหามูลค่าที่แท้จริง ตราสารหนี้ และหุ้น


การบรรยาย วิชาการจัดการการเงิน เรื่องการหาค่ามูลค่าที่แท้จริงของตราสารหนี้ และตราสารทุน

การหามูลค่าที่แท้จริง ตราสารหนี้ และหุ้น

ลงทุนศาสตร์ EP 205 : วิธีการประเมินมูลค่าหุ้นแบบดร นิเวศน์


ลงทุนศาสตร์ PODCAST
PODCAST ที่จะมาปลุกความเป็นนักลงทุนในตัวคุณ
ลงทุนศาสตร์ จะชวนทุกคนมาตั้งคำถาม
และจะชวนทุกคนมาหาคำตอบเกี่ยวกับ
การเงิน การลงทุน เศรษฐกิจ และสิ่งอื่นที่เกี่ยวข้อง
เพื่อพัฒนาความรู้ให้ไปได้ไกล กว่าตัวเราในเมื่อวาน
ช่องทางการรับฟัง ลงทุนศาสตร์ PODCAST
Youtube : http://bit.ly/iYOUTUBE
Podbean : http://bit.ly/iPODBEAN
Soundcloud : http://bit.ly/iSOUNDCLOUD
Spotify : http://bit.ly/iSPOTIFY
Castbox : http://bit.ly/iCASTBOX
Apple : http://bit.ly/iAPPLEX
Google : http://bit.ly/iGOOG
แล้วอย่าลืม! กลับมาปลุกความเป็นนักลงทุนในตัวคุณกันใหม่ใน ลงทุนศาสตร์ PODCAST

ลงทุนศาสตร์ EP 205 : วิธีการประเมินมูลค่าหุ้นแบบดร นิเวศน์

หุ้นถูกหุ้นแพงดูยังไง? ประเมินมูลค่าหุ้นด้วย P/E วิเคราะห์หุ้นเชิงปริมาณ (นักลงทุนมือใหม่) อัพเดท


การวิเคราะห์หุ้นปัจจัยพื้นฐาน Fundamental
หรือการวิเคราะห์หุ้นเชิงปริมาณด้วยค่า PE
เป็นการประเมินมูลค่าหุ้นที่แท้จริง
ซึ่งเป็นอัตราส่วนที่นักลงทุนนิยมใช้กันและเข้าถึงง่าย
การที่เราจะลงทุนระยะยาวแบบ vi value Investment
เราจะต้องดูว่าหุ้นที่กำลังสนใจ ถูกหรือแพง
เพื่อที่จะได้เข้าซื้อหุ้นในราคาที่ต่ำกว่ามูลค่า
และขายเมื่อราคาแพงเกินมูลค่าที่แท้จริง

ค่า P/E เฉลี่ย ของอุตสาหกรรม
http://siamchart.com/stock/SECTOR

เปิดพอร์ตออนไลน์ฟรี ไม่มีขั้นต่ำ
อนุมัติภายใน 10 นาที ไม่ต้องส่งเอกสาร
กับ Finansia FinansiaHERO
ลิ้งค์เปิดพอร์ตคลิ๊กเลยยยย???
https://bit.ly/INFLUENCERDUANGMONEY
https://bit.ly/INFLUENCERDUANGMONEY
https://bit.ly/INFLUENCERDUANGMONEY
ติดต่อสอบถามเพิ่มเติม
เฟสบุ๊คเพจ : https://www.facebook.com/DuangMoney/

หุ้นถูกหุ้นแพงดูยังไง? ประเมินมูลค่าหุ้นด้วย P/E วิเคราะห์หุ้นเชิงปริมาณ (นักลงทุนมือใหม่) อัพเดท

นอกจากการดูหัวข้อนี้แล้ว คุณยังสามารถเข้าถึงบทวิจารณ์ดีๆ อื่นๆ อีกมากมายได้ที่นี่: ดูบทความเพิ่มเติมในหมวดหมู่INVESTMENT

Articles compiled by CASTU. See more articles in category: INVESTMENT

Leave a Comment