วิธีพัฒนาตัวเองสำหรับผู้ใหญ่ที่สมาธิสั้น | วิธี สร้าง สมาธิ

You are viewing this post: วิธีพัฒนาตัวเองสำหรับผู้ใหญ่ที่สมาธิสั้น | วิธี สร้าง สมาธิ

วิธีพัฒนาตัวเองสำหรับผู้ใหญ่ที่สมาธิสั้น


นอกจากการดูบทความนี้แล้ว คุณยังสามารถดูข้อมูลที่เป็นประโยชน์อื่นๆ อีกมากมายที่เราให้ไว้ที่นี่: ดูเพิ่มเติม

วิเคราะห์ 9 อาการที่บอกว่าคุณ \”สมาธิสั้น\” ที่ https://youtu.be/XNqTAzS8zXI
ต่อจากคลิปก่อนหน้านี้ ที่จะมาแบ่งปันวิธีการพัฒนาตัวเองสำหรับผู้ใหญ่ที่สงสัยว่าตัวเองอาจมีภาวะสมาธิสั้นค่ะ
ตัดต่อมาจาก Facebook Live อาจมีตะกุกตะกักบ้าง ขออภัยด้วยนะคะ
อ่านบทความพัฒนาตัวเอง ที่ https://www.bypichawee.co/blog
ติดตามบนเฟซบุ๊ค https://www.facebook.com/bypichawee/
หากชอบหรืออยากให้ทำคลิปเรื่องไหน เขียนคอมเม้นต์ใต้คลิปนี้ได้ค่ะ

วิธีพัฒนาตัวเองสำหรับผู้ใหญ่ที่สมาธิสั้น

วิธีทำสมาธิเบื้องต้น @ พุทธทาสภิกขุ


รวบรวมวีดีโอในช่อง https://www.youtube.com/user/kancha085/videos เชิญติดตามธรรมะ
ประวัติท่านอาจารย์พุทธทาสภิกขุ

พระธรรมโกศาจารย์ (เงื่อม อินทปัญโญ) หรือรู้จักในนาม ท่านพุทธทาสภิกขุ เป็นชาวอำเภอไชยา จังหวัดสุราษฎร์ธานี เกิดเมื่อปี พ.ศ. พุทธศักราช 2449 เริ่มบวชเรียนเมื่ออายุได้ 20 ปี ที่วัดบ้านเกิด จากนั้นได้เข้ามาศึกษาพระธรรมวินัยต่อที่กรุงเทพมหานคร จนสอบได้เปรียญธรรม 3 ประโยค ท่านได้ตัดสินใจมาปฏิบัติธรรมที่อำเภอไชยา ซึ่งเป็นภูมิลำเนาเดิมของท่านพร้อมปวารณาตนเองเป็น พุทธทาส เนื่องจากต้องการถวายตัวรับใช้พระพุทธศาสนาให้ถึงที่สุด

ท่านพุทธทาสภิกขุมีนามเดิมว่า เงื่อม พานิช เกิดเมื่อวันอาทิตย์ ขึ้น 7 ค่ำ เดือน 7 ปีมะเมีย หรือวันที่ 27 พฤษภาคม พ.ศ. พุทธศักราช 2449 ในสกุลของพ่อค้า ที่ตลาดพุมเรียง อำเภอไชยา จังหวัดสุราษฎร์ธานี ช่วงปลายรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งขณะนั้นพุมเรียงยังเป็นที่ตั้งของตัวเมืองไชยา หรือจังหวัดไชยา ก่อนที่จะกลายมาเป็นจังหวัดสุราษฎร์ธานีในปัจจุบัน บิดาของท่านพุทธทาสภิกขุชื่อ เซี้ยง พานิช ประกอบอาชีพหลักคือการค้าขายของชำ บิดาของท่านพุทธทาสภิกขุมีเชื้อสายจีน เนื่องจากปู่ของท่านพุทธทาสภิกขุอพยพจากมณฑลฝูเจี้ยนในประเทศจีน มาเป็นช่างเขียนภาพสีบนกระจกที่เมืองไชยา ย่าของท่านพุทธทาสภิกขุชื่อส้มจีน ซึ่งเชื้อสายของย่าอพยพจากอำเภอปากพนัง จังหวัดนครศรีธรรมราช มาอยู่เมืองไชยาตั้งแต่สมัยต้นกรุงรัตนโกสินทร์ แต่เดิมบิดาของท่านพุทธทาสภิกขุใช้แซ่โข่วหรือข่อ (หรือโค้ว ในภาษาแต้จิ๋ว) ต่อมาเมื่อมีพระราชบัญญัตินามสกุลในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทางราชการจึงเปลี่ยนนามสกุลของบิดาท่านเป็น พานิช เพราะตอนนั้นมีเพียงครอบครัวของท่านเท่านั้นที่ทำการค้าขาย งานอดิเรกที่รักยิ่งของบิดาท่านพุทธทาสภิกขุคืองานด้านช่างไม้ โดยในเวลาว่าง บิดาของท่านพุทธทาสภิกขุจะทำการต่อเรือไม้เป็นอาชีพเสริม ซึ่งทำให้ท่านพุทธทาสภิกขุสนใจ และชอบในงานด้านนี้ไปด้วย แม้ที่สวนโมกขพลาราม งานไม้ส่วนใหญ่ก็เกิดจากการทำกันเองของคณะสงฆ์ นอกจากนี้ บิดาของท่านพุทธทาสภิกขุยังมีความสามารถในทางกวี ซึ่งความสามารถด้านนี้ส่งอิทธิพลต่อท่านพุทธทาสภิกขุเป็นอย่างมาก โดยผลงานธรรมะของท่านพุทธทาสภิกขุส่วนหนึ่งได้ประพันธ์ไว้ในรูปร้อยกรอง ซึ่งมีความไพเราะ และดึงดูดใจให้คนทั้งหลายเข้าถึงเนื้อหาธรรมะได้ง่ายขึ้น

มารดาของท่านพุทธทาสภิกขุชื่อ เคลื่อน พานิช เกิดที่อำเภอท่าฉาง ตาของท่านพุทธทาสภิกขุชื่อเล่ง มียศเป็นขุนสิทธิสาร ปกครองหัวเมืองกระแดะ หรืออำเภอกาญจนดิษฐ์ในปัจจุบัน ครอบครัวของตายายมีความมั่นคงในพระพุทธศาสนา และมีการปฏิบัติสมาธิภาวนากันภายในบ้านเรือน ทำให้มารดาของท่านพุทธทาสภิกขุใกล้ชิดกับพระพุทธศาสนามาตั้งแต่เด็ก ซึ่งความศรัทธาในพระพุทธศาสนานี้ได้ส่งต่อมาที่บุตร และหล่อหลอมให้เด็กชายเงื่อม พานิช กลายเป็นท่านพุทธทาสภิกขุในเวลาต่อมา ท่านพุทธทาสภิกขุมีน้องสองคน ซึ่งมีอายุห่างจากท่านพุทธทาสภิกขุ 3 ปี และ 6 ปี ตามลำดับ น้องคนโตเป็นชาย ชื่อ ยี่เกย พานิช ซึ่งภายหลังได้เปลี่ยนชื่อเป็น ธรรมทาส พานิช และได้เป็นกำลังหลักของคณะธรรมทานในการเผยแพร่พระพุทธศาสนา และสนองงานของท่านพุทธทาสภิกขุ ส่วนน้องสาวคนสุดท้องของท่านพุทธทาสภิกขุชื่อ กิมซ้อย พานิช ซึ่งภายหลังแต่งงานไปอยู่บ้านดอน และใช้นามสกุลสามีว่า เหมะกุล

ท่านพุทธทาสภิกขุได้บวชเรียนตามประเพณี เมื่อวันที่ 29 กรกฎาคม พ.ศ. พุทธศักราช 2469 ที่โรงอุโบสถวัดอุบล หรือวัดนอก ก่อนจะย้ายมาประจำอยู่ที่วัดพุมเรียง มีพระอุปัชฌาย์คือ พระครูโสภณเจตสิการาม (คง วิมาโล) รองเจ้าคณะเมืองในสมัยนั้น และมีพระปลัดทุ่ม อินทโชโต เจ้าอาวาสวัดอุบล และ พระครูศักดิ์ ธมฺรกฺขิตฺโต เจ้าอาวาสวัดวินัย หรือวัดหัวคู เป็นพระคู่สวด ท่านพุทธทาสภิกขุได้รับฉายาว่า อินทปญฺโญ ซึ่งแปลว่าผู้มีปัญญาอันยิ่งใหญ่

ผลงานเด่นของทาสพุทธทาสคืองานหนังสือ อาทิ หนังสือพุทธธรรม ตามรอยพระอรหันต์ และคู่มือมนุษย์ และยังมีผลงานอื่นๆ อีกมากมายนับไม่ถ้วนซึ่งล้วนเป็นประโยชน์ต่อชนรุ่นหลังในการศึกษาศาสนาพุทธเป็นอย่างยิ่ง นอกจากนี้ ท่านยังเป็นพระสงฆ์ไทยรูปแรกที่บุกเบิกการใช้โสตทัศนูปกรณ์สมัยใหม่สำหรับการเผยแพร่ธรรมะ และท่านมีสหายธรรมคนสำคัญ คือ ปัญญานันทภิกขุ วัดชลประทานรังสฤษฎ์ และท่าน บ.ช. เขมาภิรัตน์

พระธรรมโกศาจารย์ (เงื่อม อินฺทปญฺโญ)ได้ละสังขารอย่างสงบ ณ สวนโมกขพลาราม เมื่อวันที่ 8 กรกฎาคม พ.ศ. พุทธศักราช 2536 สิริรวมอายุ 87 ปี 67 พรรษา คงเหลือไว้แต่ผลงานที่ทรงคุณค่าแทนตัวท่านให้อนุชนคนรุ่นหลังได้สืบสานปณิธานของท่านรับมรดกความเป็น \”พุทธทาส\” เพื่อพุทธทาสจะได้ไม่ตายไปจากพระพุทธศาสนา
ขอขอบพระคุณแหล่งธรรมะ http://www.buddhadasa.org/%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%95%E0%B8%B4%E0%B8%9E%E0%B8%B8%E0%B8%97%E0%B8%98%E0%B8%97%E0%B8%B2%E0%B8%AA%E0%B8%A0%E0%B8%B4%E0%B8%81%E0%B8%82%E0%B8%B8.html
http://www.e4thai.com/e4e/index.php?option=com_content\u0026view=article\u0026id=1922:20140902091657\u0026catid=60\u0026Itemid=124
ถ้าหากมีข้อผิดพลาดประการใดต้องขอโทษขออภัยแก่ผู้รับฟังด้วย และขอน้อมรับการปรับปรุงแก้ไขทุกประการ ฟังธรรมที่ท่านสนใจhttps://www.youtube.com/user/kancha085

วิธีทำสมาธิเบื้องต้น @  พุทธทาสภิกขุ

กฎแห่งกรรม เรื่อง วิธีฝึกจิตด้วยตัวเอง การทำสมาธิเบื้องต้น จิตดีมีสุขกายสุขใจ


vihantaweesakกฎแห่งกรรมวิธีฝึกจิตทำสมาธิจิตใจ กฎแห่งกรรม เรื่อง วิธีฝึกจิตด้วยตัวเอง การทำสมาธิเบื้องต้น จิตดีมีสุขกายสุขใจ
ในสังคมที่รีบเร่งวุ่นวายมีหลายสิ่งอย่างรุมเร้า ผู้คนในยุคปัจจุบันจึงค่อนข้างจะเร่งรีบ ตั้งแต่ลืมตาขึ้นมาจนกระทั่งกลับเข้านอน ก็ต้องรีบเพื่อจะได้ทำงานให้ทันในวันต่อไป
การบีบคันเร่งรีบแบบนี้ทำให้เกิดปฏิกิริยาบางอย่างขึ้น ในหลักของวิทยาศาสตร์ทางสมอง เมื่อเคมีต่างๆ ที่สัมพันธ์กัน ทำงานอย่างต่อเนื่องหลายสิ่งอย่างในเวลาอันจำกัด นั่นหมายความว่า สมองทำงานหนักมาก ในทางเดียวกัน ถ้าทำงานในสิ่งเดียว โฟกัสเพียงอย่างเดียวสมองมนุษย์จะทำงานน้อยลง และไม่ต่างจากคนที่นั่งสมาธิ
ดังนั้น การที่มนุษย์ทำอะไรรีบๆ เพราะต้องให้จบงาน เพราะมีงานหลายอย่างที่จะต้องทำ การเร่งรีบแบบนี้เอง สภาพทางความนึกคิดหรือความรู้สึก(ภาวะอารมณ์)ภายใน ที่เกิดขึ้นจากการผสมผสานของเคมีบางอย่างในสมองเราจึงเข้มข้น จนกระทั่งอาจจะเกิดค่าแปรผันและเกิดสภาพทางความนึกคิดหรือความรู้สึก(ภาวะอารมณ์)ถึงกับทำให้แสดงออกมาทางพฤติกรรมได้ คนรุ่นใหม่หลายคน อารมณ์จึงค่อนข้างรุนแรง บางครั้งอารมณ์ขึ้นๆ ลงๆ จนกระทั่งยากต่อการควบคุม วิธีแก้ไข ต้องอาศัยหลักธรรมะ เมื่อภาวะอารมณ์ถูกเบรกโดยภาวะธรรม ย่อมจะทำให้เขารู้สึกดีขึ้น คำว่า ภาวะธรรมะ ในที่นี้ที่นิยมกันเป็นส่วนมากนั้น คือ การฝึกจิตหรือฝึกสมาธิ ไม่ว่าจะฝึกจิตในรูปแบบใด สำนักไหน วัดใดก็ตาม ก็สามารถที่จะยับยั้งอารมณ์ที่ขุ่นมัวได้ทั้งนั้น
การฝึกจิต ทำให้จิตจดจ่อเพียงสิ่งเดียว เช่น การตามดูลมหายใจเข้าและออก (อานาปานสติ) การตามดูลมหายใจ โดยที่ไม่มีความคิดใดๆ ปะปน ย่อมจะทำให้โปร่งเบาสบาย ที่สำคัญสามารถคลายเครียดได้ เมื่อคลายเครียดได้แล้ว อารมณ์ต่างๆ ก็จะเบาลงไปโดยปริยาย แต่มีอีกวิธีหนึ่งที่สามารถนำเอามาลดภาวะอารมณ์ได้ และทำให้เกิดภาวะธรรมได้ด้วยเช่นกัน นั่นคือ การนั่งพิจารณา คำว่า พิจารณา ต้องเข้าใจก่อนว่า ไม่ใช่การคิดไปเรื่อยเปื่อย แต่อาศัยการคิดนั่นแหละเป็นตัวตั้ง ที่สำคัญวิธีแบบนี้ ทำที่ไหน เมื่อไหร่ก็ได้ เมื่อเริ่มรู้สึกว่า เริ่มจะหงุดหงิดมากขึ้น อารมณ์ร้อนมากขึ้น เร่งรีบมากขึ้น วิธีการฝึก คือ นั่งสบายๆ บนเก้าอี้แบบไหนก็ได้ ทอดสายตาให้ไกลออกไป ถ้าเบื้องหน้ามีวิวธรรมชาติยิ่งจะเป็นการดี มองออกไปให้สุดลูกหูลูกตา ขณะที่มองนั้นจิตต้องไม่คิดอะไรเลยที่เป็นต้นเหตุทำให้เกิดภาวะอารมณ์ที่รุนแรงฉุนเฉียว เหมือนๆ กับการนั่งทอดอารมณ์แบบนั้นนั่นแหละ มองไปเรื่อยๆ เมื่อความคิดอะไรที่แทรกเข้ามา…ก็นำเอาความรู้สึกทั้งหมดที่มีไปถามตัวเองว่า คิดทำไม ควรคิดหรือไม่ ถ้าได้คำตอบว่า ไม่ควรคิด ก็เลือกไม่ต้องคิดต่อไป แล้วก็นั่งทอดอารมณ์ต่อไป การนั่งทอดอารมณ์แบบนี้ พุทธศาสนานิกายเซนเป็นที่นิยมปฏิบัติกันมาก โดยเฉพาะในยุโรป เพราะภาวะอารมณ์ที่เกิดขึ้นจะอยู่กับปัจจุบันค่อนข้างง่ายและเป็นภาวะปัจจุบันที่ลืมตาด้วย สำหรับคนที่นั่งฝึกจิตแบบหลับตา ถ้ามีฐานที่แข็งมากพอแล้วมาฝึกจิตแบบนี้จะง่ายเลยทีเดียว หลวงปู่ดูลย์ อตุโล ลูกศิษย์ในสายพระอาจารย์มั่น ภูริทตฺโต ผู้ที่เป็นพระเถระคณาจารย์ทางด้านสายการปฏิบัติอีกรูปหนึ่ง ท่านเน้นสอนในเรื่องของปัญญา ท่านเคยพูดถึงวิธีการฝึกจิตเอาไว้มากมาย โดยเฉพาะในเรื่องของการเฝ้ารับรู้ดูจิต หลวงปู่ ท่านเคยปรารภว่า… นั่งกรรมฐานนี่ต้องระวังอย่าไปเผลอนั่งเล่นกับจิต เพราะการไปนั่งเล่นกับจิตนั้นมันทำให้เราเพลิน แล้วที่สุดก็ไม่ได้อะไร สิ่งที่เรามองเห็นในนิมิตต่างๆ ของการทำกรรมฐานนั้น เรามองเห็นจริง แต่สิ่งที่ถูกเห็นมันไม่จริง มันเป็นเพียงอาการของจิตเท่านั้น…….

กฎแห่งกรรม  เรื่อง  วิธีฝึกจิตด้วยตัวเอง การทำสมาธิเบื้องต้น จิตดีมีสุขกายสุขใจ

เคล็ดลับการฝึกจิตทำสมาธิที่ง่าย


เรื่องเล่าทางพุทธศาสนา ที่เกี่ยวกับ เคล็ดลับการฝึกจิตทำสมาธิที่ง่าย

เคล็ดลับการฝึกจิตทำสมาธิที่ง่าย

[Study Sleep Relax ?] Meditation – Monoman .beautiful comment section peaceful relaxing soothing


In every happy moment, I know an inevitable shadow, the Sadness, is coming. So I tend to feel both sentiments at the same time. I made this tune in one of these moments.
I am also comforted in the comment section that cheers each other. Thank you.
Spotify https://bit.ly/M_Meditation
Apple Music https://bit.ly/Meditation_monoman
consider subscribing me ?
☆special thanks to★
Puuung for suggesting this great idea. (Animation by Puuung)
https://www.youtube.com/puuung1
☆Grafolio original song link★
http://grafolio.com/works/316537
♥ Get mp3 and Sheet music (TAB included!!)
Become a Patron on Patreon
http://patreon.com/monoman
THANK YOU
Copyrightⓒ2019 MONOMAN All rights reserved

Provided to YouTube by DistroKid
Meditation · Monoman
Meditation
℗ MONOMAN
Released on: 20190122
Autogenerated by YouTube.
study sleep relaxing

[Study Sleep Relax ?] Meditation - Monoman .beautiful comment section peaceful relaxing soothing

นอกจากการดูหัวข้อนี้แล้ว คุณยังสามารถเข้าถึงบทวิจารณ์ดีๆ อื่นๆ อีกมากมายได้ที่นี่: ดูวิธีอื่นๆMMO

Articles compiled by CASTU. See more articles in category: MMO

Leave a Comment