สรุปสินเชื่อบ้านธนาคาร ธอส ปลายปี 2564 กู้ตัวไหนดี? | ดอกเบี้ยลอยตัว

You are viewing this post: สรุปสินเชื่อบ้านธนาคาร ธอส ปลายปี 2564 กู้ตัวไหนดี? | ดอกเบี้ยลอยตัว

สรุปสินเชื่อบ้านธนาคาร ธอส ปลายปี 2564 กู้ตัวไหนดี?


นอกจากการดูบทความนี้แล้ว คุณยังสามารถดูข้อมูลที่เป็นประโยชน์อื่นๆ อีกมากมายที่เราให้ไว้ที่นี่: ดูความรู้เพิ่มเติมที่นี่

สรุปสินเชื่อบ้าน ธนาคาร ธอส ครึ่งปีหลัง 2564 กู้สินเชื่อตัวไหนดี?
สินเชื่อทุกตัวขอได้จนถึง 30/12/2564
สินเชื่อบ้าน New Home
ดอกเบี้ยต่ำ 6 เดือนแรก
เริ่มต้น 1.99% ต่อปี
สำหรับ บ้านใหม่ แกะกล่อง
เงินงวดเริ่มต้นเพียง 5,200 บาท ต่อเดือน
ผ่อนสบายสูงสุด 40 ปี
ฟรีค่าธรรมเนียมการยื่นกู้
โครงการบ้าน ธอส. เพื่อสานรัก
ดอกเบี้ยปีแรก 3.00% ต่อปี
ฟรีค่าธรรมเนียมการยื่นกู้
ผ่อนนานสูงสุด 40 ปี
วงเงินกู้สูงสุดไม่เกิน 3 ล้านบาท
สินเชื่อบ้าน ALL HOME
ดอกเบี้ยเริ่มต้น 2.95% ต่อปี
ฟรีค่าธรรมเนียมการยื่นกู้
ผ่อนได้นานสูงสุด 40 ปี
สินเชื่อบ้าน Dream Homes by GHB
ดอกเบี้ย3 ปีแรก เริ่มต้น 3.25% ต่อปี
ฟรีค่าธรรมเนียมการยื่นกู้
ผ่อนได้นานสูงสุด 40 ปี
สินเชื่อบ้าน Developer
สำหรับลูกค้าที่ซื้อที่อยู่อาศัยภายใต้โครงการจัดสรรกับธนาคาร
ดอกเบี้ยเริ่มต้น 2.80% ต่อปี
ฟรีค่าธรรมเนียมการยื่นกู้
ผ่อนได้นานสูงสุด 40 ปี
สินเชื่อบ้านธอส สินเชื่อบ้าน2564 กู้บ้านธอส ธนาคารธอส สินเชื่อบ้านธอส2564 สินเชื่อบ้าน ธอสสินเชื่อบ้าน GHB ดอกเบี้ยบ้านธอส

สรุปสินเชื่อบ้านธนาคาร ธอส ปลายปี 2564 กู้ตัวไหนดี?

ดอกเบี้ย เขาคิดกันยังไง? | MONEY 101 EP.1


MONEY 101 ความรู้การเงินพื้นฐานสั้นๆ ง่ายๆ เริ่มตอนแรกด้วยเรื่อง ‘ดอกเบี้ย’ เคยรู้กันหรือเปล่าว่าเขาคำนวณดอกเบี้ยกันอย่างไร?
———————————————
THE STANDARD : STAND UP FOR THE PEOPLE
สำนักข่าวที่นำเสนอข้อมูลข่าวสารในแนวทางสร้างสรรค์
THE STANDARD Website : http://www.thestandard.co
Facebook : https://www.facebook.com/thestandardth
Twitter : https://twitter.com/thestandardth
Ig : @thestandardth.ig
ดอกเบี้ย Money101 KrungthaiAXALife TheStandardco TheStandardth StandUpforThePeople MoneyCoachTH

ดอกเบี้ย เขาคิดกันยังไง? | MONEY 101 EP.1

#คุยต้องรวย “รีไฟแนนซ์,ดอกเบี้ยลอยตัว” เข้าใจง่ายในคลิปนี้!!!


หลายๆคนอาจจะยังไม่เข้าใจว่า การรีไฟแนนซ์,ดอกเบี้ยลอยตัว คืออะไร
ถ้าอยากจะแก้ปัญหาด้านการเงินก็ต้องรู้กันไว้หน่อย…
ในคลิปโค้ชหนุ่มอธิบายไว้แล้ว ลองฟังดู!!
คุยต้องรวย หนุ่มมันนี่โค้ช รีไฟแนนซ์ดอกเบี้ยลอยตัวเข้าใจง่ายในคลิปนี้

#คุยต้องรวย “รีไฟแนนซ์,ดอกเบี้ยลอยตัว” เข้าใจง่ายในคลิปนี้!!!

กู้ซื้อบ้านจะเลือกดอกเบี้ยบ้านแบบไหนดี | วิธีเลือกสินเชื่อบ้าน


กู้ซื้อบ้านจะเลือกดอกเบี้ยบ้านแบบไหนดี | วิธีเลือกสินเชื่อบ้าน
สวัสดีครับผม วิน Guru Living ครับ วันนี้ผมจะคุยกับหัวข้อที่ได้รับความสนใจมากๆและผมเชื่อว่าต้องเป็นปัญหาของหลายๆคนแน่ๆครับ นั่นคือ เวลาที่เราจะกู้ขอสินเชื่อบ้านเราจะเลือกดอกเบี้ยบ้านแบบไหนดี ดอกเบี้ยบ้านแบบไหนที่เหมาะกับเราคลิปนี้ผมจะมาสรุปให้ฟังครับ
ลักษณะของดอกเบี้ยบ้านที่เราจะมาคุยกันวันนี้นะครับมันจะแบ่งได้ 2 แบบหลักๆครับนั่นคือแบบคงที่และแบบลอยตัวครับ
ดอกเบี้ยบ้านแบบคงที่คือ
ดอกเบี้ยบ้านที่ธนาคารจะกำหนดเป็นค่าตายตัวเลยครับว่าปีที่เท่านี้เราจ่ายดอกเบี้ยเท่าไหร่ยกตัวอย่างเช่นบางธนาคารบอกว่าให้อัตราดอกเบี้ยคงที่
ปีที่ 1 2.5%
ปีที่ 2 2.8%
ปีที่ 3 3%
ดอกเบี้ยที่เราต้องจ่ายให้กับธนาคารก็จะเป็นไปตามที่ตกลงตามนี้เลยครับไม่มีการเพิ่มขึ้นหรือลดลง
แต่สำหรับดอกเบี้ยบ้านอีกแบบนะครับเรียกว่าดอกเบี้ยแบบลอยตัวครับ
ขึ้นดอกเบี้ยแบบลอยตัวนี้ครับอัตราดอกเบี้ยจะถูกหรือแพงจะขึ้นอยู่กับค่าที่เรียกว่า MRR ครับ Minimum Retail Rate อัตราดอกเบี้ยที่ธนาคารปล่อยให้กับลูกค้ารายย่อยนะครับก็คือถ้าเรากู้สินเชื่อบ้านหรือว่าสินเชื่อส่วนบุคคลเนี่ยเราก็จะใช้ค่า mrr ตัวนี้ล่ะครับในกรณีเราเป็นลูกค้ารายย่อยทั่วไป
โดยถ้าเป็นดอกเบี้ยแบบลอยตัวธนาคารก็อาจจะกำหนดว่าเช่น
ปีที่ 1 MRR 4
ปีที่ 23 MRR 3
ซึ่งถ้าธนาคารให้อัตราดอกเบี้ยมาแบบนี้ครับเราก็ต้องมาดูค่า mrr ปัจจุบันของธนาคารนั้นๆครับว่าตอนนี้ MRR ของเขาอยู่ที่เท่าไร
ยกตัวอย่างให้ดูแบบเห็นภาพชัดๆเลยนะครับสมมุติว่าผมไปกู้เงิน
ธนาคาร A ตอนนี้ mrr ของธนาคารนี้อยู่ที่ 6%
ถ้าแทนค่าจากโจทย์ด้านบนจะได้เป็น
ปีที่ 1 MRR 4 = 64 = 2%
ปีที่ 23 MRR 3 = 6 3 = 3%
สวัสดีครับก็เป็นทั้ง 2 รูปแบบของอัตราดอกเบี้ยนะครับซึ่งโดยปกติเวลาเราไปกู้ซื้อบ้านหรือรีไฟแนนซ์บ้านครับเราจะต้องเลือกว่าเราจะเลือกแบบไหน
มาถึงคำถามสำคัญนะครับว่าตกลงแบบไหนดีกว่ากันนะครับ
โดยส่วนมากแล้วนะครับ ถ้าเราเลือกอัตราดอกเบี้ยแบบลอยตัวครับอัตราดอกเบี้ยเฉลี่ยแล้วจะถูกกว่าแบบคงที่มากๆครับเพราะธนาคารไม่จำเป็นต้องแบกความเสี่ยง
ความเสี่ยงอะไรรู้ไหมครับ ถ้าเราเลือกอัตราดอกเบี้ยแบบลอยตัวครับอัตราดอกเบี้ยที่เราต้องจ่ายธนาคารจะขึ้นอยู่กับภาวะเศรษฐกิจและอัตราดอกเบี้ยนโยบายโดยรวมของประเทศครับ ดังนั้นครับหมายความว่าถ้าช่วงไหนอัตราดอกเบี้ยนโยบาย ที่ออกโดยธนาคารแห่งประเทศไทยประกาศลดลงช่วงนั้นเราก็จะจ่ายดอกเบี้ยต่ำไปด้วยครับ เหมือนช่วงเวลานี้นะครับที่อัตราดอกเบี้ยนโยบายค่อนข้างต่ำ แต่ในทางกลับกันครับ ถ้าเกิดว่าช่วงไหนอัตราดอกเบี้ยนโยบายปรับขึ้นหมายความว่าเราต้องจ่ายดอกเบี้ยใน Rate ที่แพงขึ้นเหมือนกันครับ
ซึ่งจริงๆแล้วแนวโน้มอัตราดอกเบี้ยนโยบายครับ ของประเทศต่างๆทั่วทั้งโลกเลยนะครับจริงๆมันมีแนวโน้มเป็น Down Trend หรือจะลดลงเรื่อยๆครับ แต่มันก็มีบางช่วงเวลาเหมือนกันนะครับที่ดอกเบี้ยนโยบายปรับตัวขึ้นดังนั้นก็เป็นเรื่องที่ต้องระมัดระวังและทำความเข้าใจกันนะครับ

แต่สำหรับคนที่เลือกอัตราดอกเบี้ยแบบคงที่หรือที่เรียกว่า Fix Rate นะครับ ผมต้องบอกว่าการเลือกแบบนี้ครับเราไม่ต้องสนใจเศรษฐกิจไม่ต้องสนใจดอกเบี้ยนโยบายว่าเขาจะเพิ่มหรือเขาจะลดเลยครับเราจ่ายดอกเบี้ยตามแต่ตกลงกับธนาคารเลย

ดังนั้นครับกลับมาคำถามเลยว่าตกลงเราควรเลือกอะไรดีครับของผมนะครับเอาที่เราสบายใจครับถ้าเกิดว่าเราคาดการณ์ว่าดอกเบี้ยนโยบายจะลดลงเรื่อยๆนะครับเราก็อาจจะเลือกเป็นอัตราดอกเบี้ยแบบลอยตัวก็ได้เพราะเราจะได้ดอกเบี้ยที่ถูกลงเรื่อยๆครับแบบนี้ก็โอเคหรือถ้าใครเป็นคนไม่ชอบเสี่ยงหรือไม่ชอบลุ้นนะครับอยากได้อะไรที่มันคงที่เป็นตัวเลขที่สามารถคำนวณได้ก็อาจจะเลือกเป็นอัตราดอกเบี้ยแบบคงที่ซึ่งมันก็ไม่มีผิดไม่มีถูกนะครับ
ต้องบอกอย่างนี้นะครับว่าอัตราดอกเบี้ยที่แตกต่างกันสัก 12 เปอร์เซ็นต์ สำหรับบางคนเขายอมแลกมาครับเพื่อความสบายใจเล็กๆน้อยๆนะไม่ต้องมากังวลว่าต่อให้เศรษฐกิจมันเปลี่ยนแปลงไปขนาดไหนต่อให้ดอกเบี้ยมันขึ้นขนาดไหนเขาก็ยังจ่ายในอัตราที่เขายอมรับได้แบบนี้มันก็มีเหมือนกันนะครับสุดท้ายก็ลองไปพิจารณากันดูนะฮะ

ดอกเบี้ยบ้าน กู้บ้าน เลือกดอกเบี้ยบ้าน ดอกเบี้ย สินเชื่อบ้าน

กู้ซื้อบ้านจะเลือกดอกเบี้ยบ้านแบบไหนดี  | วิธีเลือกสินเชื่อบ้าน

เทคนิคผ่อนบ้าน ให้หนี้หมดเร็วขึ้น 10 ปี ประหยัดดอกเบี้ยเป็นล้าน!!


เทคนิคผ่อนบ้าน ให้หนี้หมดเร็วขึ้น 10 ปี ประหยัดดอกเบี้ยเป็นล้าน!!
หนี้บ้านสำหรับหลายๆคนแล้วถือว่าเป็นหนี้ก้อนที่ใหญ่ที่สุดและระยะเวลาการผ่อนชำระยาวนานที่สุดเลยก็ว่าได้นะครับ เพราะระยะเวลาที่ธนาคารเขาให้เราผ่อนบ้านเนี่ยเริ่มตั้งแต่ 20 ไปจนถึง 40 ปีเลยก็มีครับ ซึ่งเอาเข้าจิงๆถ้าเราผ่อนไปเรื่อยๆตามที่ธนาคารเขาบอกนี่คือทำงานจนเกษียนเลยนะครับกว่าหนี้ของเราจะหมด
แต่ประเด็นที่น่าสนใจคือไม่ใช่แค่เรื่องระยะที่นานหรอกนะครับ การผ่อนบ้านให้จำไว้เลยนะครับว่ายิ่งเราผ่อนนานเท่าไร เรายิ่งเสียดอกเบี้ยมากขึ้นเท่านั้น เพราะอะไรหรอครับเพราะว่าการคิดดอกเบี้ยบ้านเนี่ยเขาจะคิดแบบ ลดต้นลดดอกครับ อธิบายง่ายๆว่าดอกเบี้ยจะคิดตามเงินต้นครับ ผมได้ทำคลิปอธิบายเรื่องนี้ไว้อย่างระเอียดแล้วลองเข้าไปดูคลิปในช่องได้นะครับ

ดังนั้นไอการที่เราผ่อนบ้านเป็นเวลา 30 40 ปีเนี่ยนอกจากมันจะเป็นภาระระยะยาวมากๆแล้วเรายังต้องจ่ายดอกเบี้ยอีกเยอะมากๆด้วยครับเดี๋ยวจะหาว่าผมเว่อร์จนเกินไป ผมจะคำนวนออกมาให้ดูกันเลยดีกว่าครับ
สมมุติว่าผมซื้อคอนโดราคา 3 ล้านบาท ผมผ่อน 30 ปี โดยผมกำหนดอัตราดอกเบี้ยเฉลี่ยทั้งสัญญาอยู่ที่ 7% เหมือนที่ผมบอกทุกครั้งนะครับว่าที่ผมใช้ 7% เพราะเอาเอาเฉลี่ยทั้งสัญญาและปัดขึ้นนิดนึงเป็นค่าเผื่อเหลือความปลอดภัยเวลาคำนวน ดังนั้นถ้าเราเอาข้อมูลเหล่านี้เข้าไปคิดคำนวนในโปรกแกรม EZ Financial Calculator เราจะได้ออกมาว่า
เราจะต้องผ่อนธนาคารเดือนละ 19,959 บาท/เดือน
ถ้าผ่อนครบ 30 ปี เราจะต้องจ่ายค่างวดทั้งหมด = 7,184,265 บาท
ทุกคนไม่ได้ฟังผิดไปหรอกนะครับ กู้มาสามล้าน จ่ายจริง 7 ล้าน
นั่นหมายความว่าดอกเบี้ยตลอดอายุสัญญานี่คือ 4 ล้านกว่าบาทเลยครับ
วิธีแรกครับคือการโปะหรือการผ่อนชำระเพิ่มจากที่ผ่อนอยู่
จริงๆวิธีนี้มีหลายท่านทำกันแล้วแต่ยังมีอีกหลายๆคนที่ยังไม่รู้นะครับว่าสามารถโปะเพิ่มได้ ฉันอยากให้ทำความเข้าใจกันก่อนครับว่าเงินที่เราผ่อนเพิ่มเข้าไปเนี่ยมันจะไปตัดแต่ในส่วนเงินต้นทั้งนั้นเลยครับยกตัวอย่าง
เช่นปกติแล้วผ่อนชำระค่าบ้านอยู่เดือนละ 10,000 บาทถ้าเราผ่อนเพิ่มเข้าไปอีกสักเดือนละ 1,000 บาท 1000 ที่เราใส่เพิ่มเข้าไปนี่แหละครับมันจะไปตัดเป็นส่วนของเงินต้นทั้งนั้นเลยดังนั้นการผ่อนเพิ่มต่อเดือนจึงช่วยให้นี่เราหมดเร็วขึ้นอย่างมากนะครับที่สำคัญจะช่วยประหยัดดอกเบี้ยด้วยเพราะเมื่อเงินต้นโดนตัดออกดอกเบี้ยที่เราจะต้องจ่ายก็ลดเป็นสัดส่วนตามไปด้วยครับ

วิธีแรกเห็นว่าหมดเร็วแล้วใช่ไหมครับมาแต่มันยังมีอีกวิธีที่ควรทำร่วมกัด้วยระหว่างที่เราโปะครับนั่นคือการรีไฟแนนซ์ทุกๆ 3 ปีครับ
รีไฟแนนซ์คือการขอสินเชื่อก้อนใหม่จากธนาคารครับ อาจจะเป็นธนาคารเดิมที่เรากู้อยู่หรือไปยื่นขอธนาคารใหม่ก็ได้ครับ นั่นหมายความว่าเราจะเปลี่ยนหนี้เดิมทั้งก้อน กลายมาเป็นหนี้ก้อนใหม่เลยครับ พูดง่ายๆว่าขอกู้ใหม่อีกรอบ แต่ที่พิเศษกว่านั้นก็คือ การรีไฟแนนซ์เราสามารถกำหนดแผนการในการผ่อนชำระได้หลากหลายมากขึ้นด้วยครับยกตัวอย่างเช่น

กรณีที่1 เราอยากผ่อนบ้านให้หมดเร็วขึ้น
เราอาจเลือกระยะเวลาผ่อนชำระให้สั้นลง ส่งเงินต่องวดให้มากขึ้น
จากของเดิมเราผ่อน ยอดสินเชื่อคงเหลือ 3,000,000 บาท ระยะเวลา 30 ปี ผ่อนต่อเดือน 19,000 ถ้าเราอยากผ่อนให้หมดเร็วขึ้นเราอาจเลือกการ Refinace เป็น
ยอดสินเชื่อ 3,000,000 บาท ระยะเวลา 20 ปี ผ่อนต่อเดือน 15,000 บาทต่อเดือน

กรณีที่ 2 เราอยากให้ยอดผ่อนชำระต่อเดือนลดลง
จากยอดหนี้เดิมที่เราผ่อนธนาคารมาแล้ว 3 ปี ผมสมมุติว่า ถ้ายอดสินเชื่อเดิมเราคือ 3 ล้าน เราผ่อนมา 3 ปี เงินต้นอาจจะคงเหลือประมาณ 2.8 ล้านบาท และยอดเดิมเราผ่อนธนาคารอยู่ที่เดือนละ 19,000 บาท

ดังนั้นถ้าสรุปคร่าวๆจากทั้ง 2 วิธีที่ผมได้ยกมาให้ดูดีนะครับว่าในแต่ละเดือนที่เราผ่อนธนาคารเราควรจะผ่อนเพิ่มจากที่เราผ่อนอยู่ทุกเดือนครับเพราะมันจะช่วยตัดเงินต้นไปได้เยอะเมื่อเทียบกับเงินต้นไปได้เยอะนี่ก็จะหมดเร็วขึ้นดอกเบี้ยที่จะต้องจ่ายมันก็ลดลงด้วยเพราะเราผ่อนชำระครบ 3 ปีเราก็วางแผนที่จะ รีไฟแนนซ์ เพื่อปรับโครงสร้างหนี้เหลือลดอัตราดอกเบี้ยอะไรก็ว่ากันไปนะครับซึ่งผมเชื่อว่าการทำแบบนี้จะช่วยประหยัดดอกเบี้ยให้เราได้เป็นเงินมหาศาลนะครับและทำให้นี่ของเราหมดเร็วขึ้นด้วยนะครับ

ดังนั้นสรถุปกันอีกทีนะครับ ถ้าเพื่อนๆฟังมาถึงตรงจุดนี้และกำลังผ่อนบ้านกันอยู่หรือกำลังวางแผนจะซื้อบ้าน สิ่งที่ผมอยากให้ทุกๆคนทำคือ วางแผนโปะเพิ่มต่อเดือนครับ จะมากจะน้อยไม่ว่ากันแต่อยากให้โปะนะครับ และช่วงไหนมีเงินพิเศษมีโบนัสอะไรก็แบ่งบางส่วนมาโปะได้ยิ่งดีครับ และเมื่อครบสามปีทุกๆสามปีก็ให้วางแผนที่จะรีไฟแนนซ์หรือรีเทนชั่นเพื่อปรับอัตราดอกเบี้ยลงมาให้มันถูกลงอีกนะครับ หมั่นทำแบบนี้ผมรับประกันเลยนะครับเผลอบางคนถ้าวินัยดีๆ สามารถโปะได้เยอะๆเนี่ย 10 ปีหนี้บ้านหมดก็มีเยอะแยะไปครับ เราจะได้เก็บเงินไว้สำหรับต่อยอดอนาคตหรือไว้ซื้อความสุขอะไรก็ว่ากันไปนะครับ

ผ่อนบ้าน เทคนิคผ่อนบ้าน ซื้อบ้าน ดอกเบี้ยบ้าน

เทคนิคผ่อนบ้าน ให้หนี้หมดเร็วขึ้น 10 ปี ประหยัดดอกเบี้ยเป็นล้าน!!

นอกจากการดูหัวข้อนี้แล้ว คุณยังสามารถเข้าถึงบทวิจารณ์ดีๆ อื่นๆ อีกมากมายได้ที่นี่: ดูวิธีอื่นๆINVESTMENT

Articles compiled by CASTU. See more articles in category: INVESTMENT

Leave a Comment