สอบเค้าโครง 3 บท | โครงร่างงานวิจัย 3 บท

You are viewing this post: สอบเค้าโครง 3 บท | โครงร่างงานวิจัย 3 บท

สอบเค้าโครง 3 บท

 

นอกจากการดูบทความนี้แล้ว คุณยังสามารถดูข้อมูลที่เป็นประโยชน์อื่นๆ อีกมากมายที่เราให้ไว้ที่นี่: ดูความรู้เพิ่มเติมที่นี่

สอบเค้าโครงวิทยานิพนธ์

สอบเค้าโครง 3 บท

นำเสนอโครงร่าง 3 บท โชติพชร พุ่มพฤกษ์

 

นศ.ป.โท สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มรภ.นครราชสีมา

นำเสนอโครงร่าง 3 บท โชติพชร พุ่มพฤกษ์

การทำงานนำเสนอ 5 บท

 

อธิบายวิธีทำ PowerPoint คณะไอที ม.ราชภัฏมหาสารคาม

การทำงานนำเสนอ 5 บท

สอบวิจัย 3 บท ออนไลน์ ด้วยโปรแกรม Zoom ภายใน 10 นาที (Infographic Presentation Design)

 

นำเสนอเค้าโครงปริญญานิพนธ์ออนไลน์ ด้วยโปรแกรม Zoom
ใช้การนำเสนอแบบ Infographic Presentation Design ด้วย Keynote

สอบวิจัย 3 บท ออนไลน์ ด้วยโปรแกรม Zoom ภายใน 10 นาที (Infographic Presentation Design)

[Research] EP.5 บทที่ 3 วิธีการดำเนินการวิจัย ประชากร กลุ่มตัวอย่าง เครื่องมือที่ใช้ในการวัดผล

 

เรื่องยากจะเป็นเรื่องง่าย ใครว่าศัพท์เทคนิคเยอะ แต่ง่ายนิดเดียวบทนี้ มาลองดูกัน
Ep.5 methodology วิธีดำเนินการวิจัย
หลักการ: ทำกับกลุ่มตัวอย่างใด, เครื่องมืออะไร และวิธีการวิเคราะห์แบบใด
ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง (Sample)
ประชากร(population) กลุ่มตัวอย่าง (sampling) แตกต่างกันอย่างไร
Probability sampling ในคลิปประกอบด้วย
Simple random sampling
Systematic sampling
Stratified sampling แบ่งชั้นภูมิ (Proportional sample, Dispropotional sample)
Cluster sampling สุ่มตัวอย่างแบบกลุ่ม
Multistage area sampling
Nonprobability sampling ในคลิปประกอบด้วย
Convenient sampling
Purposive sampling (Judgement sampling)
Quota sampling
Snowball sampling
เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูล (Measure)
วิธีการวิเคราะห์ข้อมูล
วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล (Data collection procedure)
ฝากติดตาม กดไลค์ กดสับตะไคร้ ;D
Facebook: Is that nerd
Youtube: Is that nerd
วิจัยบท3 population sample sampling

[Research] EP.5 บทที่ 3 วิธีการดำเนินการวิจัย ประชากร กลุ่มตัวอย่าง เครื่องมือที่ใช้ในการวัดผล

การสอบเค้าโครงวิทยานิพนธ์

การสอบเค้าโครงวิทยานิพนธ์(Defense Thesis) เป็นกิจกรรมที่ดำเนินการหลังจากที่นิสิต นักศึกษาได้เขียนเค้าโครงวิทยานิพนธ์เสนออาจารย์ควบคุมวิทยานิพนธ์หรืออาจารย์ที่ปรึกษาปรับปรุงแก้ไขตามข้อชี้แนะของอาจารย์ควบคุมวิทยานิพนธ์จนเป็นที่พอใจจึงดำเนินการขอสอบเค้าโครงวิทยานิพนธ์ (Defense Thesis)ต่อไป เพื่อให้การสอบเค้าโครงวิทยานิพนธ์(Defense Thesis)สัมฤทธิ์ผลอย่างดี  ควรทำสรุปสาระสำคัญของเค้าโครงวิทยานิพนธ์และปฏิบัติตามข้อเสนอแนะในการสอบเค้าโครงวิทยานิพนธ์(Defense Thesis)

ข้อปฏิบัติในการสอบเค้าโครงวิทยานิพนธ์(Defense Thesis)
1.  ก่อนสอบ นิสติ นักศึกษาตั้งสติให้ดี ถ้านิสิต  นักศึกษาทำงานด้วยความซื่อสัตย์และเอาใจใส่มาตลอด ก็ไม่มีอะไรน่าหนักใจ แต่ไม่ได้หมายความว่าเค้าโครงวิทยานิพนธ์ที่ส่งในครั้งนี้เป็นเล่มเค้าโครงวิทยานิพนธ์ที่สมบูรณ์   นิสิต นักศึกษาต้องเตรียมใจในการแก้ไขงานอีกครั้งหนึ่ง โดยยึดคำวิพากษ์และข้อเสนอแนะของคณะกรรมการสอบสอบเค้าโครงวิทยานิพนธ์(Defense Thesis) เป็นหลัก นิสิต นักศึกษา ไม่ควรตื่นเต้นมากเกินไป ควรพักผ่อนให้เพียงพออย่าเครียด อาจทำอะไรเป็นการผ่อนคลายบ้าง และเข้านอนหัวค่ำ เพื่อตื่นแต่เช้าในวันรุ่งขึ้นและเดินทางสู่ห้องสอบด้วยความแจ่มใส
2.  ในการสอบปกป้องเค้าโครงวิทยานิพนธ์(Defense Thesis) นิสิต นักศึกษาควรมาถึงห้องสอบล่วงหน้าอย่างน้อย 30 นาที และตรวจดูความเรียบร้อย  เช่น เครื่องดื่มหรืออาหารว่างมีหรือไม่ ดูสภาพห้องสอบว่าที่นั่งของตนและที่นั่งของคณะกรรมการอยู่ตรงไหน  นิสิต  นักศึกษาควรใช้เวลาช่วงนี้ติดตั้งอุปกรณ์ประกอบการนำเสนอข้อมูล อาจเป็นคอมพิวเตอร์โน้ตบุ๊ก หรือการเตรียมเปิดไฟล์หรือสไลด์ในการนำเสนอ
3.  ก่อนขึ้นสอบปกป้องเค้าโครงวิทยานิพนธ์  นิสิต  นักศึกษาควรทำสรุปสาระสำคัญ    ลงในกระดาษแผ่นเดียว   ให้ครอบคลุมสาระสำคัญของการวิจัยทั้งหมด อาจใช้แผนผังความคิด  (Mind Mapping) หรือผังมโนทัศน์ (Concept Map) ในการสรุปสาระสำคัญของการวิจัยหรืออาจใช้คำย่อ สัญลักษณ์ และตารางช่วยให้สรุปอย่างเป็นระบบตามความจำเป็นได้ ส่วนนี้จะเป็นประโยชน์ช่วยให้เข้าใจเรื่องที่วิจัยอย่างชัดเจน สามารถนำไปดูแล้วอธิบายการวิจัยได้อย่างกระชับและครบถ้วนโดยไม่ต้องเปิดอ่านในเล่มเค้าโครงวิทยานิพนธ์
4.  ในการสอบปกป้องเค้าโครงวิทยานิพนธ์  นิสิต  นักศึกษาควรมีการตรวจสอบหัวข้อทุกข้ออย่างละเอียด  ชัดเจน  รอบคอบ  รัดกุมในทุกส่วน (โดยทั่วไปมักประกอบไปด้วย  ภูมิหลัง  ความเป็นมาของการวิจัย  ความมุ่งหมาย  สมมติฐาน  (ถ้ามี)  ขอบเขต  นิยามศัพท์เฉพาะ  แนวคิด  ทฤษฎี  และผลงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง  วิธีดำเนินการวิจัย  ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง  เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล  สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล )  ซึ่งจะเป็นประโยชน์มาก  เพราะเค้าโครงดังกล่าวเป็นเงื่อนไขที่จะต้องปฏิบัติตาม  เป็นการป้องกันปัญหาต่าง ๆ  ที่จะตามมา
5.  นิสิต  นักศึกษา ส่วนใหญ่ เตรียมตัวมายังไม่ดีพอ  เค้าโครงวิทยานิพนธ์มีความบกพร่องหลายแห่ง  การนำเสนอไม่น่าสนใจ  บางคนเสนอโดยการอ่านจากเอกสารที่เตรียมมาก  การตอบคำถามบางครั้งไม่ตรงประเด็นหรือตอบไม่ได้  โดยเฉพาะในคำตอบที่เป็นการประเมินความรู้  ความเข้าใจในวิธีการ  หลักการ  ทั้งนี้เนื่องจากขาดความรอบรู้อย่างแท้จริง  เตรียมตัวมาน้อย  ดังนั้นเพื่อตัดข้อบกพร่องดังกล่าว นิสิต  นักศึกษาจะต้องเตรียมพร้อมในการสอบปกป้องเค้าโครงวิทยานิพนธ์(Defense Thesis)  โดยเตรียมการนำเสนอให้กระชับ  รัดกุม  เข้าใจง่าย  น่าสนใจ  ด้วยความคล่องแคล่วถูกต้องแม่นยำ  รวมทั้งเตรียมตอบคำถามต่าง ๆ  ที่แสดงถึงการมีความรอบรู้ในเรื่องที่ทำวิทยานิพนธ์  เช่น เตรียมตัวก่อนสอบ  10 วัน เป็นต้น และควรซักซ้อมด้วยตนเองให้คล่องโดยเฉพาะถ้าได้ซักซ้อมกับอาจารย์ผู้ควบคุมวิทยานิพนธ์ในส่วนสำคัญจะช่วยได้มาก
6.  ด้านกรรมการสอบปกป้องเค้าโครงวิทยานิพนธ์  โดยทั่วไปประกอบด้วยอาจารย์ควบคุมหรืออาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์และกรรมการจากภายนอก  กรรมการจากภายนอกอาจมีจำนวนเท่ากันกับอาจารย์ที่ปรึกษาหรือมากกว่า
7.  พิธีการสอบก็จะเริ่มโดยที่ท่านประธานจะให้ นิสิต  นักศึกษานำเสนองานวิจัย ขอให้ นิสิต  นักศึกษาคิดว่า การสอบปกป้องเค้าโครงวิทยานิพนธ์เป็นเหมือนการนำเสนอบทความทางวิชาการในที่ประชุมครั้งใหญ่ ถ้าเป็นไปได้  ไม่ควรอ่านจากใช้โน้ตย่อ ควรนำเสนอจากความเข้าใจ ซึ่งไม่น่าจะยาก เนื่องจากเป็นงานของ  นิสิต  นักศึกษาเอง

ขั้นตอนทั่วไปการสอบปกป้องเค้าโครงวิทยานิพนธ์  

แบ่งออกเป็น 3 ขั้นตอน  ดังนี้
ขั้นตอนที่หนึ่ง  เมื่อคณะกรรมการสอบเค้าโครงวิทยานิพนธ์มาครบ ท่านประธานคุมสอบเค้าโครงวิทยานิพนธ์ก็จะให้  นิสิต  นักศึกษารายงานเค้าโครงวิทยานิพนธ์  อาจให้กล่าวเฉพาะประเด็นที่สำคัญ  เช่น  เหตุผลที่เลือกทำการศึกษาค้นคว้าในเรื่องนั้น  ความมุ่งหมายของการวิจัย วิธีดำเนินการวิจัย (ประชากร กลุ่มตัวอย่าง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย  สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล) ในขั้นตอนนี้นิสิตนักศึกษาอาจนำเสนอโดยใช้สื่อต่าง ๆ  เช่น  แผ่นใส  Power Point   เป็นต้น  การใช้สื่อต่าง ๆ  จะช่วยให้รายงานได้ดี   มีความน่าสนใจ   ในการเตรียมสื่อผู้วิจัยได้มีโอกาสคิดวิธีนำเสนอ  ได้สรุปเนื้อหาสาระที่สำคัญเพื่อนำเสนอ  ช่วยในการจดจำสาระดังกล่าว  และต้องเตรียมแผนสำรองกรณีที่มีปัญหาที่อาจเกิดขึ้นโดยที่ไม่สามารถควบคุมได้  เช่น  ไฟฟ้าดับ  เป็นต้น  ข้อสำคัญคือต้องทำการซักซ้อมติดตั้งอุปกรณ์ต่าง ๆ  ตรวจสอบการใช้งานจนมั่นใจก่อนถึงเวลาสอบ
ขั้นตอนที่สอง  หลังนิสิต นักศึกษารายงานเค้าโครงวิทยานิพนธ์  กรรมการสอบจะซักถามข้อสงสัย  สอบถามเพื่อตรวจสอบความรู้ความเข้าใจของผู้ทำวิทยานิพนธ์  แม้กระทั่งการทักท้วงโต้แย้งในประเด็นต่าง ๆ  ที่อาจเป็นข้อผิดพลาดของรายงานการวิจัยเพื่อให้มีการแก้ไขให้ถูกต้อง  ซึ่งนิสิต  นักศึกษาต้องแสดงให้เห็นเป็นที่ประจักษ์ ว่าตนมีความพร้อมที่จะทำเรื่องนี้  ตอบโดยแสดงความรู้อย่างชัดถ้อยชัดคำ รวมทั้ง แสดงความคิดเห็นด้วยความมั่นใจ อย่างไรก็ตาม นิสิต  นักศึกษาต้องอ่อนน้อม อ่อนโยน และเคารพกรรมการสอบปกป้อง ถ้าไม่ เข้าใจหรือได้ยินคำถามถูกต้องหรือไม่ สามารถขอให้อาจารย์สอบถามอีกครั้งได้
คำถามในการสอบปกป้องเค้าโครงวิทยานิพนธ์ที่น่าสนใจ  กรรมการมักจะถามนิสิต  นักศึกษา  ที่ทำวิทยานิพนธ์  มีดังนี้
–   ทำไมนิสิต ถึงทำเรื่องนี้ ได้ประโยชน์ในด้านใดบ้างหรือได้ประโยชน์หรือไม่ อย่างไร
– ประชากรและกลุ่มตัวอย่างเป็นใคร ที่ไหน อย่างไร วิธีการสุ่มกลุ่มตัวอย่าง ได้มาอย่างไร ทำไมถึงเลือกวิธีการนี้
– เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย
– สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล มีความเหมาะสมหรือไม่ อย่างไร
– ตัวแปรที่ใช้ในการวิจัย มีอะไรบ้าง
– เรื่องที่ทำ คิดว่าจะดำเนินการเสร็จหรือไม่ อย่างไร
ขั้นตอนที่สาม  กรรมการสอบพิจารณาประเมินผลการสอบปกป้องเค้าโครงวิทยานิพนธ์หลังจากการตอบคำถามเสร็จสิ้นแล้ว ประธานกรรมการจะพิจารณาการสอบเค้าโครงวิทยานิพนธ์ที่เพิ่งสอบเสร็จไป ปกติแล้วในระดับปริญญาโทหรือเอก อาจารย์จะให้ นิสิต นักศึกษาสอบผ่าน  อาจต้องมีการแก้ไขงานบ้างจะมากหรือน้อยแตกต่างกันไป หลังจากทราบผลการสอบแล้ว ควรกล่าวขอบคุณกรรมการคุมสอบ และควรเข้าพบอาจารย์ที่ปรึกษาทันที เพื่อปรึกษาเรื่องการแก้ไขเค้าโครงวิทยานิพนธ์และดำเนินขั้นตอนต่อไป  ส่วนกรณีสอบไม่ผ่าน คือ นิสิต นักศึกษาไม่รู้เรื่องจริง ๆ ตอบคำถามไม่ได้  คณะกรรมการก็จะเห็นควรให้นิสิต นักศึกษาสอบใหม่อีกครั้ง  ส่วนมากมีน้อยมากหรือไม่มีเลยก็ว่าได้

7 ขั้นตอนเตรียม พรีเซ็นต์ Thesis ผ่านฉลุยแบบกรรมการสอบต้องยืนแล้วปรบมือให้

1.ศึกษารายละเอียดงาน ขั้นแรกคุณต้องย่อภาพรวมและรวบยอดความคิดงานที่ทำไว้ออกมาให้สั้นที่สุด เรียกว่าเอาแต่เนื้อไว้ก่อน แล้วทำความเข้าใจให้ดี สรุปเนื้อหาประเด็นสำคัญออกมาเป็นข้อ ๆ ลำดับขั้นตอนสอดคล้องตามรูปแบบการนำเสนอที่ทางมหาวิทยาลัยกำหนด

              2.หาเอกสารอ้างอิง ทีนี้มาพิจารณาว่าในงานตรงไหนมีสาระสลับซับซ้อน บางจุดอาจมองภาพไม่ชัดเจนต้องหาข้อเท็จจริง หนังสือ เอกสารที่นักวิชาการรุ่นก่อน ๆ เขียนไว้พร้อมทั้งนำหลักฐาน เอกสารมาสนับสนุนที่สำคัญเตรียมทำสำเนาไว้แสดงให้กรรมการสอบทราบ ตรงนี้คือตัวสะท้อนให้กรรมการสอบรู้สึกว่าคุณใส่ใจในรายละเอียด มีการเตรียมความพร้อมก่อนทำการพรีเซ็นต์ Thesis ซึ่งจะโน้มน้าวใจกรรมการสอบทุกท่านให้มาเชื่อมั่นในตัวคุณ เชื่อว่านี่คือจุดเริ่มต้นสำหรับความสำเร็จ อย่างน้อยหนึ่งในกลุ่มกรรมการสอบเริ่มเทใจให้คุณแล้ว เพราะกรรมการที่นั่งฟังคือนักวิชาการจะเชื่อมั่นในแนวคิด ข้อเท็จจริงที่มีการยอมรับกันอย่างแพร่หลาย และนี่คือสิ่งที่จะทำคะแนนสำหรับคุณได้ดีทีเดียว

              3.เตรียมสื่อในการนำเสนอ ก่อนอื่นคุณต้องวางโครงร่างความคิดรวบยอดทั้งหมดจากข้อที่หนึ่ง ออกมาตามความคิดคุณ ซึ่งจะกระตุ้นความสอดคล้องระหว่างเนื้อหาประเด็นสำคัญกับระบบกระบวนการคิดที่จะสื่อออกมา แล้วรีบลำดับความคิดและจัดสื่อผสานกัน กล่าวคือคุณจะพูดอะไรต้องแสดงออกทางสื่อพร้อมกันโดย แสดง Main Idea ที่ต้องการสื่อสาร แล้วประเด็นย่อยทั้งหมดเปรียบเหมือนแผนที่ในการดำเนินเรื่อง ทำให้ตัวคุณมั่นใจในการนำเสนอ เมื่อทราบแนวทางแล้วควรจัดทำสื่อ ซึ่งตามมาตรฐานสากลในการพรีเซ็นต์ Thesis ต้องใช้โปรแกรมการนำเสนอที่เรียกกันว่า Power Point และสื่ออื่น ๆ แล้วแต่กรรมการสอบจะกำหนดเพิ่มเติม คุณจะต้องใส่เนื้อหาสาระ ข้อความรูปภาพ กราฟในแต่ละสไลด์ โดยใช้โทนสีสอดคล้องกับสาระที่จะนำเสนอ และปรับแต่งอย่างสวยงาม

              4.ซ้อมพูด ว่าไปเรื่องการพรีเซ็นต์ Thesis แต่ละมหาวิทยาลัยมีกติกาที่เหมือนกันคือจะกำหนดเวลาการนำเสนอไว้ และอาจารย์ที่ปรึกษาจะกำชับอยู่ตลอดเวลาว่าห้ามใช้เวลาเกินเพราะจะทำให้เสียคะแนน บางคนยังขู่ซ้ำว่าอาจทำให้คุณสอบตกเลยนะ แน่นอนว่าการได้เตรียมตัวพูดมาก่อน พร้อมทั้งซ้อมจับเวลาในการพรีเซ็นต์ Thesis หลาย ๆ ครั้งจะทำให้คุณเชื่อมั่นในตัวเองมากขึ้น ยิ่งการพูดที่ฉะฉาน ท่าทางที่มั่นใจ ทั้งสีหน้าแววตามุ่งมั่น น้ำเสียงมีโทนสูงต่ำ และเน้นประเด็นสำคัญแบบชัด ๆ เชื่อว่ากรรมการสอบได้ยินคงรู้สึกคล้อยตามไปกับคุณอย่างน้อยร้อยละห้าสิบแล้ว เพราะความอคติที่ฝังแน่นอยู่ในใจนักวิชาการผ่านรุ่นสู่รุ่นคือผู้พรีเซ็นต์ Thesis ที่มีแววตาที่ไม่ค่อยกล้าจะสู้คน พูดสั่น ๆ ติด ๆ ขัด ๆ แล้วยิ่งมือไม้สั่น พร้อมทั้งมีอาการคล้ายคนเป็นลมคือกรรมการสอบจะยึดว่าคือตัวสะท้อนการทำงานแบบลวก ๆ ไม่พร้อมจะนำเสนอ ข้อมูลไม่ได้หา กะว่าดำน้ำมา หวังจะหลอกกรรมการคุณมีโอกาสสอบตกสูง

              5.จำลองเหตุการณ์ เมื่อทุกอย่างพร้อมทั้งเอกสาร สื่อสำหรับการนำเสนอ และการพูด ทีนี้ต้องเชิญญาติสนิท มิตรสหายรวมทั้งคนที่รู้ใจมานั่งฟังคุณ แต่ต้องหาคนที่มีประสบการณ์เรื่องการสอบวิทยานิพนธ์ด้วยจะยิ่งดีจัดบรรยากาศให้คล้ายห้องสอบมากที่สุด คือ แอร์เย็นจัดพุ่งมาที่ตัวคุณ ไฟส่องสว่างจับมาที่งานคุณ เครื่องขยายเสียงที่ดังชัดเจน ท้ายสุดต้องบอกทุกคนตั้งใจฟังแล้วตั้งคำถามไว้เตรียมซักคุณเมื่อจบการซ้อมการนำเสนอ

              6.ตอบคำถามผู้ที่คุณเชิญมานั่งฟัง ข้อนี้สำคัญที่สุดเพราะ คุณจะต้องตอบคำถามที่กรรมการสอบตั้งแล้วซักคุณอย่างชนิดที่ว่าเอาตาย ฉะนั้นคุณต้องเตรียมคำตอบจากผู้ที่คุณเชิญมานั่งฟัง โดยที่ต้องควบคุมอารมณ์ ยิ้มเข้าไว้ จัดการความเครียด ต้องผ่อนคลายแล้วค่อย ๆ คิดก่อนตอบ ขั้นตอนนี้ทำให้คุณเจอสิ่งที่คาดว่าจะพลาดตอนสอบ อย่างการพูดผิด การลืมประเด็นสำคัญ และบางครั้งต้องเจอการโดนกรรมการสอบกดดันอย่างชนิดที่คุณต้องหลั่งน้ำตาเลยทีเดียว

              7.พักผ่อนอย่างเต็มที่ การได้นอนเต็มอิ่มในคืนก่อนสอบจะทำให้คุณมีโอกาสสอบผ่านสูง แต่หลายคนจะไม่ค่อยใส่ใจเพราะมัวเตรียมตัว พรีเซ็นต์ Thesis เกือบสว่าง ต้องเข้าใจว่าการที่ร่างกายคุณได้นอนหลับสนิทจะผ่อนคลาย สมองคุณจะลำดับความคิด และจะวิเคราะห์ประเด็นสำคัญที่คุณจะต้องตอบคำถามที่กรรมการสอบตั้ง สุดท้ายก่อนอาบน้ำแต่งตัวซักซ้อมพูดทบทวนแล้วโทรขอกำลังใจจากคนที่คุณรักที่สุดด้วย

จากประสบการณ์คนที่เคย พรีเซ็นต์ Thesis จะเตรียมตัวแบบลวก ๆ ฝังใจเรื่องราวที่รุ่นพี่คนก่อน ๆบอกกล่าวว่ากรรมการโหดมาก แล้วยิ่งเวลาน้อย ทำให้ไม่มั่นใจ เสียขวัญและกำลังใจ แต่ทีมงาน WWW.THESIS.IN.TH จะให้คำแนะนำเรื่องเทคนิคการเตรียม พรีเซ็นต์ Thesis อย่างมืออาชีพจนกรรมการสอบต้องชื่นชมในผลงานคุณ และช่วยคุณสรุปประเด็นสำคัญอะไรควรพูดก่อน จัดหาเอกสารในการอ้างอิง สอนคุณใช้สื่อในการนำเสนอโดยไม่ติดขัด จัดบรรยากาศ สมจริงเตรียมทีมซักคุณ แบบชนิดที่ว่าเหมือนจำลองเหตุการณ์ในห้องสอบ พร้อมทั้งหาจุดที่คุณผิดพลาดแล้วจะหาทางแก้ไขอย่างทันท่วงที และทีมงานเชื่อว่า คุณต้องสอบวิทยานิพนธ์ผ่านแน่นอน คุณคงประทับใจไม่น้อยที่กรรมการสอบพร้อมใจกันยืนแล้วปรบมือให้ คลิกมาที่นี่สิ.

สรุป 7 คำถามที่ต้องเจอเมื่อสอบวิทยานิพนธ์ (5 บท)

วิธีการนำเสนอการสอบเค้าโครงวิจัย 3 บท

นอกจากการดูหัวข้อนี้แล้ว คุณยังสามารถเข้าถึงบทวิจารณ์ดีๆ อื่นๆ อีกมากมายได้ที่นี่: ดูบทความเพิ่มเติมในหมวดหมู่GENERAL NEWS

Articles compiled by CASTU. See more articles in category: GENERAL NEWS

Leave a Comment