35 กู่เจ้านายฝ่ายเหนือในวัดสวนดอก th | เจ้านาย ฝ่าย เหนือ

You are viewing this post: 35 กู่เจ้านายฝ่ายเหนือในวัดสวนดอก th | เจ้านาย ฝ่าย เหนือ

35 กู่เจ้านายฝ่ายเหนือในวัดสวนดอก th


นอกจากการดูบทความนี้แล้ว คุณยังสามารถดูข้อมูลที่เป็นประโยชน์อื่นๆ อีกมากมายที่เราให้ไว้ที่นี่: ดูเพิ่มเติม

กู่เจ้านายฝ่ายเหนือในวัดสวนดอก Ku Chao Dara Ratsami
กู่ หรือสถูป เป็นที่บรรจุอัฐิ เจ้านายฝ่ายเหนือหรือเจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่ แต่เดิมสร้างไว้บนฝั่งแม่น้ำปิงด้านทิศตะวันตกเชิงสะพานนวรัฐบริเวณ ข่วงเมรุ ซึ่งเป็นสนามโล่งสำหรับเผาพระศพของเจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่ ดุจเดียวกับทุ่งพระเมรุหรือสนามหลวงในปัจจุบัน และเมื่อเผาแล้วก็จะสร้างกู่หรือที่เก็บกระดูกขึ้นในบริเวณนั้นซึ่งเจ้าองค์สุดท้ายที่มีการสร้างเมรุขึ้นคือพระเจ้าอินทวิชยานนท์ เจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่องค์ที่ ๗ ผู้ซึ่งเป็นพระบิดา ของพระราชายาเจ้าดารารัศมี พระราชชายเจ้าดารารัศมี ในราชการที่ 5 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ได้พิจารณาเห็นว่าสถานที่ตั้งของสถูปเจ้านายฝ่ายเหนือบนฝั่งแม่น้ำปิง ทางทิศตะวันตก (ตลาดวโรรสแถวตรอกข่วงเมรุ) นั้น ไม่เป็นการบังควร ควรหาที่เหมาะสมยิ่งกว่านี้ เพราะสถานที่ดังกล่าวอยู่ใกล้แม่น้ำปิงเกินไป จึงเห็นควรย้ายสถูปทั้งหมดไปไว้ที่วัดสวนดอก โดยย้ายสถูปเก่าเหล่านั้นทั้งหมดมาไว้ที่วัดสวนดอกในปี 2452 โดยให้ช่างจากกรุงเทพฯ เป็นคนออกแบบและสร้างกู่โดยกู่ในยุคแรกนั้นเป็นสถาปัตยกรรมไทยล้านนายุโรป ผสมผสานกันหลากหลาย กู่มีลักษณะคล้ายเจดีย์ขนาดเล็กมีลักษณะศิลปที่แตกต่างกันเช่น พระเจดีย์ทรงลังกา ทรงผสมผสานลังกาล้านนา คือเป็นเจดีย์สร้างแบบแปดเหลี่ยมไม้สิบสอง และพระเจดีย์ทรงพุ่มข้าวบิณฑ์หรือดอกบัวตูมที่เลียนแบบมาจากศิลปะสุโขทัย ตลอดจนกลุ่มเจดีย์เล็กที่เรียกว่า “กู่” นอกจากนี้ยังมีกู่ครูบาศรีวิชัยตั้งอยู่บริเวณด้านใต้พระวิหารใหญ่ด้วย เมื่อสร้างกู่และรื้อย้ายอัฐิมาไว้ ณ วัดสวนดอกแล้ว ทรงโปรดให้จัดงานเฉลิมฉลอง ๕ วัน ๕ คืน และเป็นครั้งแรกที่มีการนำศิลปะการแสดงจากเมืองหลวงมาเผยแพร่ยังเชียงใหม่ด้วย คือ การแสดงละคร เรื่องสาวเครือฟ้า ปัจจุบัน กู่เจ้านายฝ่ายเหนือ แห่งนี้ ได้ถูกจดทะเบียนให้เป็นโบราณสถานสำคัญ ภายใต้การกำกับดูแลของกรมศิลปากร ขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถานแห่งชาติ ปี พ.ศ. 2478

35  กู่เจ้านายฝ่ายเหนือในวัดสวนดอก  th

วัฒนธรรมสำรับอาหารคุ้มเจ้านายฝ่ายเหนือในกระบวนพิธีบายศรีทูลพระขวัญ (Chiangmai Royal Cuisine)


พระกระยาหารขึ้นโต๊ะเสวยในรูปแบบกระบวนบายศรีและขันโตก เป็นการจัดรูปแบบใหม่ที่ประยุกติ์ขึ้นให้เหมาะสมตามโอกาส รูปแบบอาหารขันโตกถูกจัดขึ้นครั้งแรก ปี พ.ศ.2489 งานเลี้ยงต้อนรับนายแพทย์เอ็ดวิน นายแพทย์ใหญ่โรงพยาบาลแมคคอมมิคและจัดเลี้ยงในสมาคมชาวเหนือในปีเดียวกัน ต่อมา พ.ศ.2496 จัดงานเลี้ยงส่งนายสัญญา ธรรมศักดิ์ อดีตข้าหลวงยุติธรรมภาคสี่ซึ่งขณะนั้นขันโตกยังไม่ได้เป็นที่รู้จักในหมู่ชาวไทยมากนัก กระทั่งมีการนำรูปแบบขันโตกมาจัดเป็นสำรับพระกระยาหารขันโตกถวายร่วมในกระบวนพิธีบายศรีทูลพระขวัญครั้งแรกเมื่อ พ.ศ.2507 ในการถวายรับเสด็จพระเจ้าโบดวงและพระราชินีฟาบิโอลาและจัดขึ้นเรื่อยมาตลอดรัชกาล ทุกครั้งมีการเผยแพร่ผ่านสื่อทั้งในและต่างประเทศทำให้วัฒนธรรมขันโตกเริ่มเป็นที่รู้จักมากขึ้น หนึ่งสำรับประกอบด้วยขันโตกเครื่องใหญ่และขันโตกเครื่องหวาน ลักษณะการจัดถวายพระกระยาหารหนึ่งสำรับต่อหนึ่งพระองค์ โดยวางขันโตกบนตั่งหน้าพระที่นั่ง หนึ่งโตกมีเจ้านายฝ่ายเหนือนั่งประจำโตกคอยแนะนำรายการพระกระยาหารและถวายการดูแลความเรียบร้อยของสำรับนั้น ๆ ระหว่างการเสวยมีการแสดงพื้นเมืองประกอบหน้าพระที่นั่ง นอกจากพระกระยาหารขันโตกสำหรับขึ้นโต๊ะเสวยแล้ว ยังจัดสำรับอาหารขันโตกสำหรับเลี้ยงแขกทั้งข้าราชการฝ่ายไทยและฝ่ายต่างประเทศที่มาเฝ้าฯด้วย (พ.ศ. 2513 เริ่มเกิดรูปแบบธุรกิจร้านอาหารขันโตกต้อนรับนักท่องเที่ยว มีศูนย์วัฒนธรรมเชียงใหม่ได้เริ่มดำเนินกิจการเป็นที่แรก)

วัฒนธรรมสำรับอาหารคุ้มเจ้านายฝ่ายเหนือในกระบวนพิธีบายศรีทูลพระขวัญ (Chiangmai Royal Cuisine)

ฮิวโก้ทายาทราชวงศ์จักรีเพราะขนบธรรมเนียมโบราณตาของเขาจึงต้องกลายเป็นเจ้าชายผู้อาภัพ


ทันทุกข่าวเล่าทุกเหตุการณ์ สยามบีซี SiamBC

ฮิวโก้ทายาทราชวงศ์จักรีเพราะขนบธรรมเนียมโบราณตาของเขาจึงต้องกลายเป็นเจ้าชายผู้อาภัพ

เฉลิมขวัญนพบุรี ๗๐๐ ปี นครเชียงใหม่(ตอนที่๑)


การแสดงแสง สี เสียง \”เฉลิมขวัญนพบุรี ๗๐๐ ปี นครเชียงใหม่\” เพื่อเฉลิมฉลองเมืองเชียงใหม่ มีอายุครบ ๗๐๐ ปี ในปี พ.ศ.๒๕๓๙ วันที่ กุมภาพันธ์ ๒๕๔๐ ณ วัดสวนดอก

เฉลิมขวัญนพบุรี ๗๐๐ ปี นครเชียงใหม่(ตอนที่๑)

เพลง \”เจ้าดวงเดือน เจ้านายฝ่ายเหนือ\”


เพลง \”เจ้าดวงเดือน เจ้านายฝ่ายเหนือ\”
ขับร้อง ปวิน เจียไพบูลย์
คำร้อง/ทำนอง ปวิน เจียไพบูลย์
เรียบเรียง สุรชัย จอมแปง, ปวิน เจียไพบูลย์
อำนวยเพลงโดย ดร.พัธ ธ รังษี บรมวงศ์ไพศาล , อาจารย์ นำชัย วงค์อินทอง (แมน เมืองลำปาง)
ลิขสิทธิ์ : ดร.พัธ ธ รังษี บรมวงศ์ไพศาล : ธันวาคม 2560
จัดทำโดย ดร.พัธ ธ รังษี บรมวงศ์ไพศาล ประธานเครือข่ายสังคมสร้างสรรค์ , ประธานชมรมสืบสานศิลปวัฒนธรรมเขลางค์ เพื่อเป็นมุทิตาจิต ยกย่องเกียรติคุณ เจ้าดวงเดือน ณ เชียงใหม่ ให้เป็นที่ปรากฎสืบไป

เพลง \

นอกจากการดูหัวข้อนี้แล้ว คุณยังสามารถเข้าถึงบทวิจารณ์ดีๆ อื่นๆ อีกมากมายได้ที่นี่: ดูวิธีอื่นๆMMO

Articles compiled by CASTU. See more articles in category: MMO

Leave a Comment