8คำถามเกี่ยวกับนักฉุกเฉินการแพทย์ | เวช กิจ ฉุกเฉิน เงินเดือน | เว็บนี้ให้ข่าวสารล่าสุดทุกวัน

You are viewing this post: 8คำถามเกี่ยวกับนักฉุกเฉินการแพทย์ | เวช กิจ ฉุกเฉิน เงินเดือน | เว็บนี้ให้ข่าวสารล่าสุดทุกวัน

Table of Contents

8คำถามเกี่ยวกับนักฉุกเฉินการแพทย์ | เว็บนี้ให้ข่าวสารล่าสุดทุกวัน.

รายละเอียด ชื่อตำแหน่ง: นักปฏิบัติการฉุกเฉินการแพทย์ (ปฏิบัติงานที่ภาควิชาเวชศาสตร์ฉุกเฉิน) จำนวน 1 อัตรา อัตราเงินเดือน: 17,290บาท กรณีไม่มีใบประกาศนียบัตรนักปฏิบัติการฉุกเฉินการแพทย์ฝึกหัด อัตราค่าจ้าง เดือนละ 15,000 บาท

สรุปปฏิบัติการฉุกเฉินการแพทย์นี้เป็นยังไงกันแน่อ่ะคะ เงินเดือนจบมาเท่าไหร ทำงานที่ไหน แล้วได้เป็นข้าราชการรึเปล่า

ตามหัวข้อเลยค่ะ เราเป็นเด็กแอดปี 60 สนใจสาขาปฏิบัติการฉุกเฉินการแพทยย์นี้อยู่บ้าง มันเป็นยังไงเหรอคะเป็น paramedic นักปฏิบัติการฉุกเฉินการแพทย์นี้มีอะไรเด่นเป็นพิเศษที่ระบุว่าเป็นพารามีดิกรึเปล่า? รู้ว่าไม่ใช่หมอค่ะ เคยไปโอเพ็นเฮ้าส์ที่มหิดลเห็นว่าปี 1 เรียนกับพยาบาลงั้นก็ไม่ต่างกับพยาบาลใช่มั้ยคะ? แต่จะแยกเรียนเฉพาะตอนปี2

เคยเห็นคนที่ใส่ชุดข้างหลังเขียนว่า PARAMEDIC อ่ะค่ะ เขาพูดกับเพื่อนที่มาด้วยกันประมาณว่าตอนนี้ที่ทำอยู่ก็ไม่ต่างจากตอนเป็น EMT เลย คือเคยพอจะไปหามาบ้างค่ะว่า EMT เขาเป็นระดับเบสิค ส่วนพารามีดิกถ้าจบมาจะทำได้มากกว่าเป็นแอดวานซ์ แต่จะทำอะไรก็ต้องหมออนุญาตก่อน แต่ที่เราจับใจความได้วันนั้นมันดูเหมือนไม่ได้หมายความแบบนั้นเลย

แล้วเห็นว่าไม่รับแค่ม. 6แต่รับคนที่ทำงานในโรง’บาลมาก่อนแล้วงี้ถ้าจบไปเด็กม.6จะเสียเปรียบในการทำงานมั้ยค่ะ แล้วสมมติถ้าม.6 จบไปประสบการณ์ของเราที่เป็นพารามีดิกจะสู้ EMT ที่อยู่ในโรง’บาลลได้มั้ย ถ้าเกิดสู้ไม่ได้เราก็มีโอกาสทางการงานต่ำกว่าใช่มั้ย คือพยายามหาข้อมูลดูมันไม่ค่อยได้คำตอบตามที่เราสงสัยอ่ะค่ะเลยลองถามเองดีกว่า

อยากขอคำปรึกษาแบบโลกไม่สวยค่ะ ประกอบการตัดสินใจหรืออินบ็อกเรามาก็ได้

ถาม
1. เป็น Paramedic มีอะไรที่บอกว่าทำได้เฉพาะเรามั้ย
2. ม.6 เสียเปรียบกว่ารึเปล่า
3. สังคมม.6 กับ EMT แตกต่างกันมากมั้ยในด้านความคคิด การทำงาน
4. เงินเดือน แล้วได้เป็นข้าราชการมั้ย
5. จบแล้วต่ออะไรได้บ้าง ต่อหมอได้มั้ยคะ?

 

รูปภาพที่เกี่ยวข้องกับบทความ 8คำถามเกี่ยวกับนักฉุกเฉินการแพทย์.

8คำถามเกี่ยวกับนักฉุกเฉินการแพทย์
8คำถามเกี่ยวกับนักฉุกเฉินการแพทย์

สามารถดูข้อมูลที่เป็นประโยชน์เพิ่มเติมได้ที่นี่: ดูที่นี่

บทช่วยสอนที่เกี่ยวข้องกับหมวดหมู่ เวช กิจ ฉุกเฉิน เงินเดือน

8 คำถามเกี่ยวกับเหตุฉุกเฉินทางการแพทย์

พาราเมดิก เงินเดือนเท่าไหร่
พาราเมดิก เงินเดือนเท่าไหร่

 

เรียนแกรม

8 คำถามเกี่ยวกับเหตุฉุกเฉินทางการแพทย์

พยาบาลห้องฉุกเฉิน VS พยาบาลห้องฉุกเฉิน ต่างกันยังไง? l สร้างคำตอบ

 

หากข้อมูลขาดหาย ขออภัยล่วงหน้า หากใครมีข้อมูลดีๆ คอมเม้นต์ไว้ได้เลย สำหรับผู้ที่สนใจสามารถเข้ามาอ่านเพิ่มเติมได้ หากข้อมูลที่ฉันทำร้ายใคร ต้องขออภัยมา ณ ที่นี้ด้วยค่า ขอบคุณทุกคนที่มาดู อย่าลืมกดไลค์กดแชร์กดติดตามกดกระดิ่งด้วยนะครับ ขอบคุณมาก

พาราเมดิก เงินเดือนเท่าไหร่
พาราเมดิก เงินเดือนเท่าไหร่

พยาบาลห้องฉุกเฉิน VS พยาบาลห้องฉุกเฉิน ต่างกันยังไง? l สร้างคำตอบ

คณะแพทยศาสตร์ฉุกเฉิน ม.มหาสารคาม

 

แนะนำสาขาเวชศาสตร์ฉุกเฉิน คณะแพทยศาสตร์มหาวิทยาลัยมหาสารคาม วิดีโอแนะนำสาขาการแพทย์ฉุกเฉินเกี่ยวกับการเป็นแพทย์ สามารถรับชมได้ที่ลิงค์นี้ https://www.youtube.com/watch?v=6HV42f_Uf78

คณะแพทยศาสตร์ฉุกเฉิน ม.มหาสารคาม

คลิปนี้คุณมาเรียน “แพทย์พยาบาลรามาธิบดีมหิดล” ได้อย่างไร? •..•

 

ขอบคุณทุกคนที่ติดตามและสนับสนุนมุกมาโดยตลอด 💗✨ มีคำถามอยากให้มุกทำคลิปอะไร คอมเม้นไว้เยอะๆ นะคะ มุกจะตอบทุกคอมเม้นเลย ชอบๆ

มาเรียนได้ยังไง

หลักสูตรประกาศนียบัตร ภาควิชาการแพทย์ฉุกเฉิน

 

หลักสูตรประกาศนียบัตร ภาควิชาการแพทย์ฉุกเฉิน

จะเรียนรู้ปฏิบัติการฉุกเฉินรามาธิบดีได้อย่างไร? ส่วนที่ 2 ถาม-ตอบ [by We Mahidol]

 

ทุกคำถาม พีพีมีคำตอบสำหรับคำถามที่นักศึกษาสงสัยเกี่ยวกับสาขาปฏิบัติการการแพทย์ฉุกเฉิน คณะแพทยศาสตร์ รพ.รามาธิบดี ม.มหิดล แพทย์ฉุกเฉินต้องมีคุณสมบัติอย่างไร? ฉันต้องเตรียมอะไรบ้างในการเรียน? แล้วถ้ากลัวเลือดจะเรียนได้ไหม? ผู้หญิงจะเสียเปรียบผู้ชายเมื่อมาโรงเรียนหรือไม่? หาคำตอบร่วมกันได้ใน “เรียนแพทย์ฉุกเฉิน รามาธิบดี ม.มหิดล เป็นยังไงบ้าง” WeMahidol Mahidol เรียนมหิดลเป็นอย่างไรบ้าง? ปฏิบัติการการแพทย์ฉุกเฉิน รามาธิบดี YouTube : เรา มหิดล Facebook : http://www.facebook.com/wemahidol Instagram : https://www.instagram.com/wemahidol/ Twitter : https://twitter.com/wemahidol University Mahidol University Mahidol University : https://www.mahidol.ac.th/th/ เว็บไซต์ : https://channel.mahidol.ac.th/

จะเรียนรู้ปฏิบัติการฉุกเฉินรามาธิบดีได้อย่างไร? ส่วนที่ 2 ถาม-ตอบ [by We Mahidol]

เจ้าหน้าที่การแพทย์ฉุกเฉิน 290 ราย ร้องเรียน สธ. ไม่ระบุชื่ออยู่ในระบบ คสช. : สถานีร้องเรียน (23 มิ.ย. 63)

 

เจ้าหน้าที่การแพทย์ฉุกเฉินร้องกระทรวงสาธารณสุข หลังพบเจ้าหน้าที่ 290 ราย ไม่ระบุชื่ออยู่ในระบบ คสช. ขณะที่กระทรวงสาธารณสุขเตรียมช่วยส่งเรื่องให้สำนักงาน ก.พ. หรือ ก.พ. ให้ไปบรรจุ ในเดือนกันยายน. สามารถติดตามชมรายการสถานีประชาชนในอดีตได้ http://www.thaipbs.or.th/People กด Subscribe ติดตามรายการดีๆของช่องได้ที่ : http://goo.gl/hdy2ye และติดตาม Thai PBS ออนไลน์ได้ที่ Website : http://www. thaipbs.or.th Facebook : http://www.fb.com/ThaiPBSfan Twitter : http://www.twitter.com/ThaiPBS Instagram : http://www.instagram.com/ThaiPBS LINE : http://www.thaipbs.or.th www.thaipbs.or.th/AddLINE YouTube : http://www.youtube.com/ThaiPBS

เจ้าหน้าที่การแพทย์ฉุกเฉิน 290 ราย ร้องเรียน สธ. ยันไม่ระบุชื่ออยู่ในระบบ คสช. : สถานีร้องเรียน (23 มิ.ย. 63)

พาราเมดิกคืออะไร? ระบบการแพทย์ฉุกเฉินทำอย่างไร? แจงแบบจุก!

 

ขอขอบคุณทุกท่านมากที่ให้ความสนใจระบบการแพทย์ฉุกเฉินและอาชีพแพทย์ คลิปนี้พยายามอธิบายให้เข้าใจง่ายที่สุด เนื้อหาอาจไม่สมบูรณ์ เพราะรายละเอียดค่อนข้างเยอะจริงๆ ซึ่งน่าจะเพียงพอเพื่อเป็นแนวทางให้น้องๆที่สนใจและคนทั่วไปที่ต้องการเข้าใจระบบและหน้าที่ของ Paramedic ขอขอบคุณทุกท่านที่ติดตามและสนับสนุนเรื่องตลกมาโดยตลอด อย่าลืมกด like กด Subscribe เพื่อเป็นกำลังใจให้กัน และ Comment พูดคุยกันนะครับ หากผิดพลาดประการใดก็ขออภัยไว้ ณ ที่นี้ด้วย

พาราเมดิกคืออะไร? ระบบการแพทย์ฉุกเฉินทำอย่างไร? แจงแบบจุก!

พยาบาลจบใหม่เงินเดือนเท่าไหร่?

 

เงินเดือนเอกชน/รัฐบาล

พยาบาลจบใหม่เงินเดือนเท่าไหร่?

ผิดหวัง จนท.ฉุกเฉิน ร้อง สธ. วางตำแหน่งไม่เป็นธรรม |

 

เจ้าหน้าที่การแพทย์ฉุกเฉินหลายสิบคนรวมตัวกันเพื่อบุกกระทรวงสาธารณสุข เรียกหาตำแหน่งข้าราชการที่ไม่เป็นธรรม หลัง ครม.มีมติให้เพิ่มตำแหน่งข้าราชการในราชการช่วงโควิด-19 แต่บุคลากรทางการแพทย์ฉุกเฉินไม่มีสิทธิ์รับราชการ ติดตามข่าวสารเพิ่มเติมได้ที่เว็บไซต์ https://www.pptvhd36.com และช่องทางโซเชียลมีเดีย Facebook : https://www.facebook.com/PPTVHD36 Twitter : https://twitter.com/PPTVHD36 Instagram : https://www.instagram.com/ pptvhd36 / ไลน์ทีวี : https://tv.line.me/st/pptvhd36

ผิดหวัง จนท.ฉุกเฉิน ร้อง สธ. วางตำแหน่งไม่เป็นธรรม | .

>>Castu เราหวังว่าข้อมูลนี้จะมีคุณค่าอย่างยิ่งสำหรับคุณ ขอบคุณมากที่รับชม.

คำหลักเกี่ยวข้องกับเนื้อหาเวช กิจ ฉุกเฉิน เงินเดือน.

#8คำถามเกยวกบนกฉกเฉนการแพทย

paramedic,นักฉุกเฉินการเเพทย์,เด็ก63,เรียนต่อ

8คำถามเกี่ยวกับนักฉุกเฉินการแพทย์

เวช กิจ ฉุกเฉิน เงินเดือน.

เป็นเรื่องง่ายที่คนไทยจะได้รับการช่วยเหลือในกรณีฉุกเฉิน เพียงแค่หยิบโทรศัพท์ข้างๆขึ้นมาแล้วโทร “1669”

นักปฏิบัติการฉุกเฉินการแพทย์(PARAMEDIC), เจ้าพนักงานฉุกเฉินการแพทย์(AEMT), พนักงานฉุกเฉินการแพทย์(EMT), อาสาสมัครฉุกเฉินการแพทย์(EMR) พวกเขาเหล่านี้คือบุคลากรในวิชาชีพ “ปฏิบัติการฉุกเฉินการแพทย์” หรือเดิมที่เรารู้จักกันในชื่อ “เวชกิจฉุกเฉิน” พวกเขาเหล่านี้เตรียมพร้อมและรอคอยเวลาที่จะช่วยชีวิตคุณทุกวินาที ซึ่งต้องยอมรับว่างานนี้ไม่ใช่เรื่องง่าย และไม่ใช่ว่าใครจะทำก็ได้ด้วยเพราะกฏหมายและความเป็นวิชาชีพเฉพาะที่เชี่ยวชาญด้านการแพทย์ฉุกเฉิน

ไม่ใช่ทุกวิชาชีพด้านการแพทย์จะทำงานเหมือนกัน ไม่ใช่ว่าการช่วยเหลือจะเหมือนๆกันในทุกครั้งที่ปฏิบัติงาน และไม่ใช่ทุกความช่วยเหลือที่โทรมาร้องขอจะมีภาวะคุกคามชีวิต แต่มันเป็นปัญหาที่เกิดขึ้นและต่างต้องการความช่วยเหลือ และบางครั้งต้องใช้เวลานานนับชั่วโมงในที่เกิดเหตุหรือมากกว่านั้น

เพื่อให้เราเข้าใจในบริบทการทำงานของวิชาชีพนี้มากขึ้น เราจะพาไปพูดคุยกับ ไอราพต โพธิ์แหบ, เจ้าพนักงานฉุกเฉินการแพทย์, นักวิชาการสาธารณสุข, และวิทยากรฝึกอบรมหลักสูตรต่างๆด้านการแพทย์ฉุกเฉินของโรงพยาบาลธวัชบุรี จังหวัดร้อยเอ็ด

ช่วยเล่าเกี่ยวกับการทำงานในปัจจุบัน และทำงานนี้มานานแค่ไหนแล้ว?

ปัจจุบันผมอยู่วงการการแพทย์ฉุกเฉินมา 4 ปี โดยเริ่มจากการสอบคัดเลือกเข้าศึกษาในหลักสูตร ปวส.เวชกิจฉุกเฉิน ที่ วสส.ขอนแก่นเป็นเวลา 2 ปี หลังจากผมเรียนจบและเริ่มทำงานตอนอายุ 19 ปี ในการทำงานช่วยชีวิตผู้คน และต้องใช้เวลาเสาร์-อาทิตย์ในการเรียนต่อเนื่องจนจบหลักสูตรสาธารณสุขศาสตรบัณฑิต และปัจจุบันกำลังศึกษาในระดับปริญญาโท หลักสูตรสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิตที่มหาวิทยาลัยมหาสารคาม

ทำไมถึงเลือกที่จะมาเรียนและได้ทำงานในอาชีพนี้?

ก่อนที่ผมจะเข้าสู่วงการการแพทย์ฉุกเฉินต้องขอย้อนไปในอดีตว่าผมคลุกคลีกับการเจ็บป่วยของคนอื่นมาตั้งแต่ยังเด็ก เนื่องจากที่บ้านผมเปิดคลีนิค ซึ่งชุมชนที่ผมอาศัยที่ห่างไกลความเจริญ ห่างไกลโรงพยาบาลเกือบชั่วโมง และทุกๆเช้าก่อนไปเรียนและหลังโรงเรียนเลิกผมจะต้องตื่นขึ้นมาช่วยแม่จัดเตรียมคลีนิครวมไปถึงจัดยาต่างๆ ซึ่งด้วยความที่เป็นชุมชนที่ห่างไกลความเจริญผมต้องเจอทั้งผู้ป่วยทุกชนิดทั้งฉุกเฉินและไม่ฉุกเฉิน 7 วันต่อสัปดาห์ 365 วันทั้งปี

พอผมโตขึ้นผมมีความตั้งใจไว้ว่าผมจะต้องเชี่ยวชาญในสิ่งที่แม่ผมท่านไม่เชี่ยวชาญ นั่นคือ “การช่วยชีวิตโดยการแก้ใขภาวะคุกคามชีวิตนอกโรงพยาบาล” เพื่อให้ชาวบ้านในโซนพื้นที่ใกล้เคียงกันได้มีโอกาสรอดชีวิตที่มากกว่าแต่ก่อน

ในส่วนของการทำงาน แนวทางในการเข้าศึกษา และประสบการณ์ในการทำงานที่ผ่านมาเป็นยังไง?

ในการที่จะเข้ามาเป็นเจ้าพนักงานฉุกเฉินการแพทย์ หรือที่ส่วนใหญ่คุ้นหูก็ในชื่อ จพ.เวชกิจฉุกเฉิน คือจะต้องสอบแข่งขันเพื่อเป็นนักเรียนทุนของ สสจ. ในจังหวัดตัวเอง จากนั้นก็เข้าศึกษาในสถาบันการศึกษาที่สังกัดสถาบันพระบรมราชชนก และเรียนจนจบการศึกษาในระดับอนุปริญญา คือ ปวส.เวชกิจฉุกเฉิน ซึ่งจะต้องใช้เวลาเรียนตลอด 2 ปี ตอนนั้นเราเรียนกัน 3 เทอมต่อ 1 ปี ไม่มีหยุดปิดเทอม ระหว่างการศึกษาจะมีทั้งการเรียนในห้องเรียน และการฝึกปฏิบัติงาน หรือพูดง่ายๆคือการขึ้นเวรของนักศึกษาฝึกงาน

ในส่วนของระดับอื่นๆได้แก่ นักปฏิบัติการฉุกเฉินการแพทย์(PARAMEDIC) ระดับนี้จะใช้เวลาเรียนทั้งสิ้น 4 ปี มีทั้งภาคทฤษฏีและปฏิบัติเหมือนกัน ซึ่งหลักสูตรที่เปิดสอนนักปฏิบัติการฉุกเฉินการแพทย์จะเป็นคณะแพทยศาสตร์ของมหาวิทยาลัยต่างๆซึ่งปัจจุบันมีดังนี้ (คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา, ภาควิชาเวชศาสตร์ฉุกเฉิน คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล และคณะแพทยศาสตร์วชิรพยาบาล มหาวิทยาลัยนวมินทราธิราช) ซึ่งในแต่ละปีจะมีการรับนักศึกษาเข้าเรียนเพียงไม่กี่สิบคน/แห่งเท่านั้น

ระดับต่อมาคือพนักงานฉุกเฉินการแพทย์ จะเป็นหลักสูตรฝึกอบรมซึ่งผู้ที่จะสามารถเข้าฝึกอบรมจะต้องมัคุณสมบัติตามที่กำหนดเท่านั้น เช่น ผ่านการอบรมในหลักสูตรอาสาสมัครฉุกเฉินการแพทย์และปฏิบัติงานมาแล้วในระยะเวลาหนึ่ง หรือจบการศึกษาในระดับที่กำหนด และอื่นๆตามเงื่อนใขที่ อศป. กำหนด โดยหลักสูตรนี้จะเป็นการอบรม 115 ชั่วโมง โดยแบ่งเป็นทั้งภาคทฤษฏี ภาคปฏิบัติ รวมไปถึงการขึ้นฝึกปฏิบัติงานจริงด้วย

สุดท้ายคืออาสามัครฉุกเฉินการแพทย์ จะเป็นหลักสูตรฝึกอบรมเช่นเดียวกันกับหลักสูตรพนักงานฉุกเฉินการแพทย์ แต่ใช้เวลาฝึกอบรมน้อยกว่าคือ 40 ชั่วโมง และมีทั้งภาคทฤษฏี ภาคปฏิบัติ รวมไปถึงการขึ้นฝึกปฏิบัติงานจริงเช่นกัน

ในการทำงานของผมส่วนใหญ่จะเน้นการช่วยชีวิตนอกโรงพยาบาล ซึ่งก็คือ ณ จุดเกิดเหตุเป็นหลัก เช่น ข้างถนนจุดที่เกิดอุบัติเหตุ ในป่าลึก หรือในบ้านคนที่ต้องการความช่วยเหลือ ซึ่งจะมีการให้ยาฉุกเฉินและการใช้อุปกรณ์ทางการแพทย์แก้ใขภาวะคุกคามชีวิตเพื่อช่วยชีวิตผู้ป่วยฉุกเฉินภายใต้อำนาจ ขอบเขต หน้าที่ หรือคำสั่งการแพทย์ ตามที่กฏหมายกำหนด

คนทั่วไปหรือบางทีบุคลากรทางการแพทย์ด้วยกันยังไม่รู้ด้วยซ้ำถึงความแตกต่างระหว่างผู้ปฏิบัติการแต่ละระดับ จริงๆแล้วมันเหมือนทหารหรือตำรวจ ที่มีระดับยศแตกต่างกัน กล่าวคือยิ่งยศสูงก็จะมี อำนาจ ขอบเขต หน้าที่ในการให้ยาหรือใช้อุปกรณ์รุกล้ำร่างกายบางอย่างได้ตามที่ได้ศึกษาและฝึกปฏิบัติมา ในส่วนของเจ้าพนักงานฉุกเฉินการแพทย์และนักปฏิบัติการฉุกเฉินการแพทย์จะได้ฝึกทักษะและศึกษาเกี่ยวกับกายวิภาคศาสตร์และสรีรวิทยา, พยาธิสรีรวิทยา, Cardiology, Pulmonology, Neurology และเภสัชวิทยา รวมไปถึงการปฏิบัติงานในสภาวะภัยพิบัติและในสถานการณ์พิเศษต่างๆ การดับเพลิง การโรยตัวจากที่สูง การป้องกันตัวแบบต่างๆ การช่วยชีวิตเชิงยุทธวิธี การยกและการเคลื่อนย้าย การช่วยฟื้นคืนชีพขั้นสูง การกู้ชีพและช่วยชีวิตทางน้ำ การเคลื่อนย้ายทางอากาศ ฯลฯ นอกจากนี้จะต้องมีการฝึกทักษะของการใส่ท่อช่วยหายใจ การเจาะปอด การให้สารน้ำทางหลอดเลือดดำ การให้สารน้ำทางใขกระดูก และการให้ยาทางต่างๆ

ในการปฏิบัติงานในที่เกิดเหตุหรือบนรถปฏิบัติการฉุกเฉิน (AMBULANCE) เราจะต้องปฏิบัติงานภายใต้เกณฑ์และวิธีปฏิบัติการแพทย์ (Protocols) ที่กำหนดโดยแพทย์อำนวยการปฏิบัติการ ซึ่งแนวทางปฏิบัติเหล่านี้จะกำหนดให้ต้องปฏิบัติการให้การช่วยเหลืออะไรแก่ผู้ป่วยฉุกเฉินเป็นอย่างต่ำ เช่น ผู้ป่วยทุกรายที่ไม่รู้สึกตัว, เจ็บแน่นหน้าอก, หายใจเร็ว, คลื่นใส้อาเจียน หรือแขนขาอ่อนแรงต้องได้รับการตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ (12-lead ECG)

อะไรบ้างคือการปฏิบัติงานของวิชาชีพนี้แต่คนทั่วไปไม่รู้ และเวลาส่วนใหญ่ในชีวิตผู้ปฏิบัติการฉุกเฉินการแพทย์ทำอะไร?

งานการแพทย์ฉุกเฉินจริงๆแล้วมีหลายมิติมาก ตั้งแต่การป้องกันและลดความรุนแรงเมื่อเกิดการเจ็บป่วยฉุกเฉินขึ้น, การช่วยชีวิตในที่เกิดเหตุ, การช่วยแพทย์ช่วยชีวิตผู้ป่วยฉุกเฉินในห้องฉุกเฉินของโรงพยาบาล, การทำหัตถการต่างๆช่วยกัน, การอบรมเพิ่มความรู้และอัพเดทแนวทางใหม่ๆเสมอ, การค้นคว้าเก็บรวบรวม การทำวิจัยต่างๆ รวมไปถึงทุกครั้งที่ประชาชนที่เจ็บหรือป่วยฉุกเฉินโทร 1669 เราคือผู้รับสายเหล่านั้นก่อนจะส่งเจ้าหน้าที่กู้ชีพ หรือเวชกิจฉุกเฉินระดับต่างๆออกไปให้ความช่วยเหลือตามระดับความรุนแรง และทันทีที่วางสายเราจะต้องเดินทางไปยังจุดเกิดเหตุในระยะเวลาที่กำหนดซึ่งโดยมากคือ 10 นาที และนั่นมันหมายถึงหนึ่งในอันตรายของพวกเราในขณะปฏิบัติงาน

อย่างไรก็ตามในปัจจุบันผู้ปฏิบัติการฉุกเฉินการแพทย์ (EMTs) หรือเวชกิจฉุกเฉินระดับต่างๆยังคงมีความขาดแคลนและยังคงปฏิบัติงานอยู่ทั่วประเทศตลอด 24 ชั่วโมงหมุนเวียนกัน ทั้งหน่วยงานราชการ หน่วยงานเอกชน และภาคมูลนิธิ และถึงแม้ว่าเราทุกคนต่างมีหลายๆสิ่งที่แตกต่างกันในการทำงาน แต่สิ่งที่วิชาชีพนี้เราทำเหมือนกันคือ “การช่วยชีวิตผู้คน แล้วเคลื่อนย้ายนำส่งโรงพยาบาลอย่างปลอดภัย”

อะไรคือสิ่งที่…คนทั่วไปเข้าใจผิดเกี่ยวกับการทำงานของพวกคุณ?

จากประสบการณ์ของผมต้องขอบอกว่าบางคนเรียกผมคนขับรถกู้ชีพ ซึ่งมันเหมือนกับที่คนเข้าใจผิดเรียกตำรวจว่าคนขับรถตำรวจ ทั้งๆที่คนขับรถตำรวจทุกคนคือตำรวจ นอกจากนี้ประชาชนยังคิดว่าหน้าที่ของเราคือการมารับคนเจ็บแล้วเอาไปส่งโรงพยาบาลเท่านั้น จริงๆแล้วเราจะไปโทษประชาชนก็ไม่ได้เพราะระบบ EMS จริงๆเกิดขึ้นเมื่อช่วง พ.ศ. 2535 หรือก่อนนี้เพียงไม่กี่ปี โดยเราได้เปลี่ยนจากให้ผู้ป่วยมาโรงพยาบาลเพื่อช่วยชีวิต แต่เราได้เปลี่ยนเป็นเอาห้องฉุกเฉินทั้งห้องออกไปหาผู้ป่วยฉุกเฉิน เช่น เมื่อมีผู้ป่วยเกิดหยุดหายใจและหัวใจหยุดเต้นนอกโรงพยาบาล ภายใต้มือของพวกเราในชุดปฏิบัติการระดับสูง ไม่มีอะไรที่เราทำไม่ได้เหมือนที่ห้องฉุกเฉินทำเพื่อช่วยชีวิตผู้ป่วยรายนี้

ปกติการทำงานเวลาที่เราใช้ในการทำงานส่วนใหญ่จะอยู่ “จุดเกิดเหตุ” ช่วยชีวิตผู้ป่วยฉุกเฉินจนสามารถสร้างความเปลี่ยนแปลง นั่นคือการกลับมามีชีพจรของผู้ป่วยรายนี้ หรือพิจารณาตัดสินใจให้ยาและสอดใส่อุปกรณ์รุกล้ำร่างกายต่างๆเพื่อแก้ใขและช่วยชีวิตผู้ป่วยจากเงื้อมมือมัจจุราช

ผู้ปฏิบัติการฉุกเฉินการแพทย์ทุกคนเป็นแขนเป็นขาให้กับแพทย์โดยการช่วยชีวิตตั้งแต่ผู้ป่วยยังไปไม่ถึงโรงพยาบาล เราเป็นหูเป็นตาให้ชุมชนและบ้านเมืองของเรา บ้านทุกหลัง ถนนทุกสาย ทุกตรอกซอกซอยเราสามารถเข้าถึงทุกที่นำเรื่องราวของผู้ป่วยฉุกเฉินส่งมอบให้แพทย์ฟังเพื่อวินิจฉัยและรักษา

นอกจากนี้ผู้คนยังมักจะคิดว่างานของเรามีแต่เลือด หรือลำใส้ที่โผล่ออกมา แต่ต้องขอบคุณที่เคสเหล่านี้หายากและไม่ได้มีบ่อยนัก ถึงแม้ส่วนใหญ่การออกเหตุของเราคืออุบัติเหตุจราจรก็ตาม จริงๆแล้วผู้ป่วยที่ต้องการขอความช่วยเหลือในปัจจุบันคือผู้ป่วยที่สูงวัยทั้งเป็นโรคเฉียบพลันและโรคเรื้อรัง และเหตุการณ์เช่นออกไปพาคุณยายลุกขึ้นจากพื้นเหล่านี้มันโอเคกว่าการออกไปเจอรถยนต์ชนกัน (จริงๆแล้วอุบัติเหตุจราจรไทยเป็นอันดับ 2 ของโลกเลยหละครับ)

คนส่วนใหญ่คิดว่าเราเปิดไฟและเสียงไซเรนเล่น แต่ความจริงคือเบื้องหน้าที่รอเราอยู่คือคนที่กำลังจะจากไป หรือในโรคที่เวลามีส่วนสำคัญต่อการได้รับยาให้ทันเวลาเช่น โรคหลอดเลือดหัวใจ โรคหลอดเลือดสมอง เราต้องไปให้ทันเวลา เพื่อให้เกิดความพิการหรือสูญเสียให้น้อยที่สุด และทุกคนจะต้องปฏิบัติตามกฏหมายนั่นคือให้สิทธิแก่รถฉุกเฉินได้ไปก่อน

ปกติแล้วต้องทำงานวันละกี่ชั่วโมง?

หน่วยงานของผมใน 1 วันจะแบ่งเป็น 3 เวร เวรละ 8 ชั่วโมง ซึ่งส่วนมากเราจะทำงานกัน 2 เวรต่อวัน นั่นคือ 16 ชั่วโมง/วัน เช่น เข้าเวร 08.00 น. ลงเวร 00.00 น. แล้ว 8 โมงเช้าวันต่อมาก็มาขึ้นเวรต่อ ซึ่งกลางคืนก็จะมีคนมาขึ้นเวรทดแทนเปลี่ยนกันคือ 00.00 – 08.00 น. แต่ไม่ใช้ทุกหน่วยงานจะเป็นเวรแบบ 8 ชั่วโมง เพื่อนของผมหลายคนขึ้นเวรแบบ 12 ชั่วโมง/เวร บางหน่วยงานขึ้นเวรแบบ 24 ชั่วโมง คือ ทำงานทั้งวัน วันต่อไปหยุด ลักษณะนี้ แต่ก็มีบ้างที่อยู่เวรกัน 2-3 วันติดต่อกันแบบไม่ได้กลับบ้านกันเลยก็มี ยิ่งเป็นช่วงเทศกาลยิ่งไม่ต้องพูดถึง แทบจำทางกลับบ้านไม่ได้ (555…) แต่กลางคืนเวลาไม่มีคนโทรขอความช่วยเหลือเราก็ได้พักบ้างนะครับ

มีเคล็ดลับอะไรที่จะแนะนำเพื่อนๆในวิชาชีพ หรือคนที่กำลังคิดที่จะก้าวเข้ามาทำงานนี้บ้าง?

ผมไม่แน่ใจว่าจะมีเคล็ดลับอะไรที่จะเป็นประโยชน์บ้างนะครับ แต่มีสิ่งที่เราทุกคนควรปฏิบัติต่อผู้ป่วยของเราคือ การปฏิบัติต่อผู้ป่วยทุกคนเหมือนเราปฏิบัติต่อคนในครอบครัวของเรา และอย่าหมดกำลังใจเพราะเราไม่ได้เป็นคนที่ทำให้เหตุฉุกเฉินเหล่านี้เกิดขึ้น หรือถ้ามีคนขอความช่วยเหลือในวันเลวร้ายที่สุดในชีวิตของพวกเขาสิ่งที่เขาคาดหวังคือคาดหวังให้เราช่วยพวกเขา นอกจากนี้เราจะต้องปฏิบัติงานแบบมีสติ ใจเย็น และปฏิบัติงานในฐานะวิชาชีพ ในการทำงานพวกเราจะต้องมีความยืดหยุ่นเสมอเพราะเราทำงานบนความเปลี่ยนแปลงและความแตกต่าง ไม่ว่าจะเป็นผู้ป่วย ที่เกิดเหตุ ยา หรือสภาพการปฏิบัติงานของวงการการแพทย์ฉุกเฉิน

เวลาว่างทำอะไรบ้างที่แตกต่างจากคนอื่นหรือเพื่อนร่วมวิชาชีพ?

ต้องขอบอกว่ารายจ่ายในแต่ละเดือนผมเยอะพอสมควร ด้วยความที่เป็นคนหมั่นแสวงหาความรู้อยู่เสมอในทุกๆเดือนผมจะต้องเข้าอบรมในหลักสูตรต่างๆที่เกี่ยวกับการแพทย์ฉุกเฉินอย่างน้อยเดือนละ 1 ครั้ง นอกจากนี้ยังต้องเสียค่าสมาชิกวารสารวิชาการและวิจัยด้านการแพทย์ฉุกเฉินของต่างประเทศ เพราะในทางการแพทย์จะมีการเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอและงานด้านการแพทย์ฉุกเฉินก็เช่นกัน และผมต้องการให้เพื่อนร่วมวิชาชีพผมได้รับและเข้าถึงข้อมูลใหม่ๆอยู่เสมอ และผมร่วมกับคณะกรรมการสมาคมผู้ปฏิบัติการฉุกเฉินการแพทย์ไทย (EMPAT) ยังช่วยกันตลอดเวลาเพื่อผลักดันทั้งความก้าวหน้าด้านวิชาการและวิชาชีพให้แก่ทุกคนอยู่เสมอ แต่ยังไม่ประสบผลสำเร็จนักเนื่องจากพวกเรายังไม่ได้รับความสนใจสมัครสมาชิกสมาคมกัน

สิ่งที่เลวร้ายที่สุดในการทำงานคืออะไร และมีวิธีจัดการมันอย่างไร แล้วเกิดความเครียดบ้างหรือไม่?

สำหรับผมสิ่งที่เลวร้ายในชีวิตการทำงานคือ “การทำงานกับเด็ก…” คือไม่ได้หมายความว่าผมไม่รักเด็กนะครับ ผมกลับมีความสุขเสมอที่อยู่ใกล้เด็กๆ แต่ในงานของพวกเราจะไม่ได้เห็นเด็กในวันที่ดี เมื่อผมเห็นเด็ก พวกเขาจะนอนอยู่บนพื้นถนนมีผู้ปกครองร้องให้ฟูมฟายปริ่มขาดใจ หรือพวกเขาไม่หายใจหัวใจหยุดเต้น ไม่ก็ตกเป็นเหยื่อของความรุนแรง สำหรับผมงานนี้เป็นงานที่ยากหนักหนาสาหัส และมันจะตามหลอกหลอนไปอีกนาน

คนที่ทำงาน EMS จะเกิดความเหนื่อยหน่ายท้อแท้กายใจมากกว่าคนอื่น โดยทั่วไปคนที่ทำงานนี้จะอยู่ได้ประมาณ 2 ปี ก่อนจะออกไปหางานอื่นที่ไม่ลำบากแบบนี้ทำ ต่อมาคือความเครียดซึ่งมันเป็นธรรมดาของร่างกายซึ่งเราส่วนมากจะมีน้ำหนักเกินและนอนหลับไม่สนิทกัน นอกจากนี้ยังมีอัตราการดื่มแอลกอฮอล์สูง การสูบบุหรี่ อัตราการหย่า แยก และมีความผิดปกติที่เกิดหลังความเครียดที่สะเทือนใจ (Post-Traumatic Stress Disorder : PTSD) ในอัตราสูงกว่าทหารทำการรบ ส่วนตัวหมอวินิจฉัยว่าผมเป็น PTSD, ความดันโลหิตสูงก่อนวัยอันควร, มีนิสัยรัปทานอาหารไม่ดี และนอนหลับไม่สนิท

โห… แล้วงานนี้มีอะไรที่สนุกและน่าภูมิใจบ้าง?

อย่างที่รู้คือ “เราช่วยชีวิตคนอื่น” บางวันผมเริ่มด้วยอาการเบลอ มันเป็นเรื่องง่ายในแต่ละวันของผมที่จะเจออะไรที่น่าเบื่อ ออกเหตุไปเจอคนเมาอาละวาด ผู้ป่วยจิตเวชคลุ้มคลั่งโวยวายวิ่งไล่ทำร้ายเจ้าหน้าที่ (หึหึ) ผู้ป่วยใช้สารเสพติด บางคนที่ขาดการบำบัด สิ่งสำคัญที่ผมภูมิใจในงานนี้คือ : ช่วยให้คุณแม่มือใหม่ได้ยินเสียงหายใจแรกของลูกน้อย หรือเพียงแค่พยุงคุณยายของคนอื่นลุกขึ้นจากพื้นห้อง รวมไปถึงการได้รับคำขอบคุณ (ซึ่งจริงๆแล้วหาได้น้อยมากที่จะมีใครขอบคุณเรา) ซึ่งนั่นเป็นสิ่งที่ทำให้ผมรู้สึกดี เมื่อไม่นานที่ผ่านมามีคนไข้ขับมอเตอร์ไซค์คว่ำมีอาการบาดเจ็บที่ศีรษะและมีลมรั่วในช่องเยื่อหุ้มปอด ผมและทีมสามารถช่วยชีวิตไว้ได้ ไม่กี่เดือนถัดมาผู้ป่วยคนนี้และครอบครัวขอเข้าพบผมที่โรงพยาบาลเพื่อคุยด้วย ถึงแม้ว่ามันจะเป็นเรื่องยากที่จะฟื้นตัวหลังจากบาดเจ็บที่สมอง แต่เขาก็ฟื้นตัวสมบูรณ์ ผมจ้องมองใบหน้าเขาตอนที่เขาบอกว่าผมคือ หมอที่เก่งสำหรับเขาและเขาติดหนี้บุณคุณผม แต่ก็อย่างว่าผมไม่ใช่หมอ ผมเป็นผู้ปฏิบัติการฉุกเฉินการแพทย์ และไม่ควรต้องมีใครมาติดหนี้บุญคุณใครเพราะผมเองก็เพียงแค่ทำตามอำนาจหน้าที่

การทำงานลักษณะนี้จริงๆแล้วได้เงินเดือนเท่าไหร่ และคาดหวังอะไรได้บ้าง

สำหรับผมเงินเดือนสายวิชาชีพนี้เป็นอะไรที่ต่ำถึงยอดแย่สุดๆ ผมจบออกมาใหม่ๆเงินเดือนเริ่มต้นเดือนแรกของผมไม่ถึงเก้าพันด้วยซ้ำ ซึ่งต่างจากเงินเดือนของกู้ชีพในประเทศที่พัฒนาแล้วอย่างเทียบไม่ได้ที่โน่นเขาได้กันอย่างต่ำคือเดือนละแสน นี่ของเราอย่าไปพูดถึงหมื่น เงินสิทธิประโยชน์อื่นๆก็ไม่ได้ จะพูดว่าเหลื่อมล้ำก็ไม่ได้เพราะมันไม่มีค่าอะไรตอบแทนเราบ้างเลย และน่าเสียดายที่วิชาชีพเรามีแต่คนหนุ่มสาว (เพราะส่วนใหญ่คนที่มีอายุเขาทำงานมาหนักพอแล้วก็ลาออกไปหาอะไรทำที่มันได้เงินเยอะกว่า) ซึ่งคนหนุ่มสาวยังต้องทำงานอีกนาน ขอให้วางแผนทางการเงินดีๆในสภาวะเศรษฐกิจฝืดเคืองเช่นนี้

“อย่างไรก็ตามผมเชื่อว่าทำดีซักวันต้องได้ดีบ้าง และมันเป็นเกียรติของผมที่ได้ช่วยชีวิตผู้อื่นในวันที่ตกอยู่ในขุมนรกของชีวิต”

ปัจจุบันคนไทยให้คุณค่าและปฏิบัติต่อพวกคุณอย่างไรบ้าง?

ผมคิดว่าคนทั่วไปให้คุณค่าวิชาชีพนี้ต่ำไปมากจนไม่สนอะไรเกี่ยวกับพวกเราเลย ถ้าเขาจะสนใจพวกเราก็ต่อเมื่อตอนที่พวกเขาต้องการให้พวกเราช่วยชีวิตและต้องการรถกู้ชีพ บางคนทั้งที่มีวุฒิภาวะหรือไม่มีก็จะมีการโทรแกล้งหรือก่อกวน 1669 นอกจากนี้ส่วนใหญ่ยังคิดว่าเราเป็นรถแท๊กซี่สำหรับพาไปโรงพยาบาล ซึ่งนั่นไม่ใช่สิ่งที่ถูกเพราะสิ่งที่เราทำคือสงวนไว้ให้บริการและช่วยชีวิตผู้ป่วยฉุกเฉินที่มีภยันตรายต่อชีวิตเท่านั้น บางคนแค่ไอ เจ็บคอ หรือปวดท้องเท่านั้น และที่บ้านมีรถจอดจนที่จอดเต็มยังโทร 1669 เพื่อให้ช่วยพาไปโรงพยาบาลแต่จริงๆแล้วเราสามารถบอกปฏิเสธและให้คำแนะนำไปเลยก็ได้หากรู้ว่าไม่ฉุกเฉินตั้งแต่แรก หรือด้วยนิสัยถาวรของหลายคนเมื่อเราซักประวัติเพื่อประกอบการตรวจร่างกายมักจะบอกว่า “จะมาถามทำไม โรงพยาบาลเขามีข้อมูลทั้งหมด” ซึ่งนั่นมันเป็นเรื่องจริงและพวกเราไม่สามารถเข้าถึงอาการเจ็บป่วยของคุณในขณะนั้นได้ซึ่งจะทำให้ตัวคุณ ญาติคุณ หรือคนที่คุณรักสูญเสียเวลาและไม่ได้รับการรักษาที่เหมาะสม บางคราคุณอาจต้องเสียเวลาไปหลายชั่วโมงจากพฤติกรรมของคุณเพราะเราไม่มีข้อมูลที่จำเป็นส่งต่อให้แพทย์

มีอะไรจะแนะนำคนที่คิดจะก้าวเข้ามาสู่วิชาชีพนี้บ้าง?

งานในวิชาชีพนี้เป็นงานที่ดีและคุ้มค่าทางจิตใจหากคุณชอบการช่วยผู้อื่น คุณจะได้อยู่ด่านหน้าเมื่อเกิดวิกฤตการณ์ในชีวิตของผู้อื่น คุณจะเป็นความแตกต่างระหว่างการ”อยู่ หรือ ไป”ของชีวิตผู้คน คุณจะอยู่บนรถที่วิ่งได้เร็วกว่าที่กฏหมายกำหนดด้วยแสงและเสียงไซเรน และบางวันชุดของคุณจะโชกไปด้วยเลือด วิชาชีพนี้ลักษณะการทำงานไม่ใช่เรื่องง่ายที่ใครๆจะเข้ามาทำกันก็ได้ คุณต้องมีทักษะ ความรู้ และความสามารถที่จะบริหารจัดการเหตุการณ์วิฤตต่างๆได้

EMS เป็นส่วนหนึ่งของการแพทย์ เป็นส่วนหนึ่งของการสังคมสงเคราะห์ เป็นส่วนหนึ่งของการขอคำปรึกษา เป็นส่วนหนึ่งของนักสืบ และเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตผม มันคืองานที่ผมรักและผมไม่คิดที่จะออกจากวิชาชีพนี้

นักปฏิบัติการฉุกเฉินการแพทย์

Paramedic VS พยาบาลห้องฉุกเฉิน ต่างกันยังไงคะ? l BUILD IN answer

Articles compiled by CASTU. See more articles in category: GENERAL NEWS

0 thoughts on “8คำถามเกี่ยวกับนักฉุกเฉินการแพทย์ | เวช กิจ ฉุกเฉิน เงินเดือน | เว็บนี้ให้ข่าวสารล่าสุดทุกวัน”

Leave a Comment