8คำถามเกี่ยวกับนักฉุกเฉินการแพทย์ | เวช กิจ ฉุกเฉิน เงินเดือน | เว็บนี้ให้ข่าวสารล่าสุดทุกวัน

You are viewing this post: 8คำถามเกี่ยวกับนักฉุกเฉินการแพทย์ | เวช กิจ ฉุกเฉิน เงินเดือน | เว็บนี้ให้ข่าวสารล่าสุดทุกวัน

Table of Contents

8คำถามเกี่ยวกับนักฉุกเฉินการแพทย์ | เว็บนี้ให้ข่าวสารล่าสุดทุกวัน.

รายละเอียด ชื่อตำแหน่ง: นักปฏิบัติการฉุกเฉินการแพทย์ (ปฏิบัติงานที่ภาควิชาเวชศาสตร์ฉุกเฉิน) จำนวน 1 อัตรา อัตราเงินเดือน: 17,290บาท กรณีไม่มีใบประกาศนียบัตรนักปฏิบัติการฉุกเฉินการแพทย์ฝึกหัด อัตราค่าจ้าง เดือนละ 15,000 บาท

สรุปปฏิบัติการฉุกเฉินการแพทย์นี้เป็นยังไงกันแน่อ่ะคะ เงินเดือนจบมาเท่าไหร ทำงานที่ไหน แล้วได้เป็นข้าราชการรึเปล่า

ตามหัวข้อเลยค่ะ เราเป็นเด็กแอดปี 60 สนใจสาขาปฏิบัติการฉุกเฉินการแพทยย์นี้อยู่บ้าง มันเป็นยังไงเหรอคะเป็น paramedic นักปฏิบัติการฉุกเฉินการแพทย์นี้มีอะไรเด่นเป็นพิเศษที่ระบุว่าเป็นพารามีดิกรึเปล่า? รู้ว่าไม่ใช่หมอค่ะ เคยไปโอเพ็นเฮ้าส์ที่มหิดลเห็นว่าปี 1 เรียนกับพยาบาลงั้นก็ไม่ต่างกับพยาบาลใช่มั้ยคะ? แต่จะแยกเรียนเฉพาะตอนปี2

เคยเห็นคนที่ใส่ชุดข้างหลังเขียนว่า PARAMEDIC อ่ะค่ะ เขาพูดกับเพื่อนที่มาด้วยกันประมาณว่าตอนนี้ที่ทำอยู่ก็ไม่ต่างจากตอนเป็น EMT เลย คือเคยพอจะไปหามาบ้างค่ะว่า EMT เขาเป็นระดับเบสิค ส่วนพารามีดิกถ้าจบมาจะทำได้มากกว่าเป็นแอดวานซ์ แต่จะทำอะไรก็ต้องหมออนุญาตก่อน แต่ที่เราจับใจความได้วันนั้นมันดูเหมือนไม่ได้หมายความแบบนั้นเลย

แล้วเห็นว่าไม่รับแค่ม. 6แต่รับคนที่ทำงานในโรง’บาลมาก่อนแล้วงี้ถ้าจบไปเด็กม.6จะเสียเปรียบในการทำงานมั้ยค่ะ แล้วสมมติถ้าม.6 จบไปประสบการณ์ของเราที่เป็นพารามีดิกจะสู้ EMT ที่อยู่ในโรง’บาลลได้มั้ย ถ้าเกิดสู้ไม่ได้เราก็มีโอกาสทางการงานต่ำกว่าใช่มั้ย คือพยายามหาข้อมูลดูมันไม่ค่อยได้คำตอบตามที่เราสงสัยอ่ะค่ะเลยลองถามเองดีกว่า

อยากขอคำปรึกษาแบบโลกไม่สวยค่ะ ประกอบการตัดสินใจหรืออินบ็อกเรามาก็ได้

ถาม
1. เป็น Paramedic มีอะไรที่บอกว่าทำได้เฉพาะเรามั้ย
2. ม.6 เสียเปรียบกว่ารึเปล่า
3. สังคมม.6 กับ EMT แตกต่างกันมากมั้ยในด้านความคคิด การทำงาน
4. เงินเดือน แล้วได้เป็นข้าราชการมั้ย
5. จบแล้วต่ออะไรได้บ้าง ต่อหมอได้มั้ยคะ?

 

รูปภาพที่เกี่ยวข้องกับบทความ 8คำถามเกี่ยวกับนักฉุกเฉินการแพทย์.

8คำถามเกี่ยวกับนักฉุกเฉินการแพทย์
8คำถามเกี่ยวกับนักฉุกเฉินการแพทย์

สามารถดูข้อมูลที่เป็นประโยชน์เพิ่มเติมได้ที่นี่: ดูที่นี่

บทช่วยสอนที่เกี่ยวข้องกับหมวดหมู่ เวช กิจ ฉุกเฉิน เงินเดือน

8 คำถามเกี่ยวกับเหตุฉุกเฉินทางการแพทย์

พาราเมดิก เงินเดือนเท่าไหร่
พาราเมดิก เงินเดือนเท่าไหร่

 

เรียนแกรม

8 คำถามเกี่ยวกับเหตุฉุกเฉินทางการแพทย์

พยาบาลห้องฉุกเฉิน VS พยาบาลห้องฉุกเฉิน ต่างกันยังไง? l สร้างคำตอบ

 

หากข้อมูลขาดหาย ขออภัยล่วงหน้า หากใครมีข้อมูลดีๆ คอมเม้นต์ไว้ได้เลย สำหรับผู้ที่สนใจสามารถเข้ามาอ่านเพิ่มเติมได้ หากข้อมูลที่ฉันทำร้ายใคร ต้องขออภัยมา ณ ที่นี้ด้วยค่า ขอบคุณทุกคนที่มาดู อย่าลืมกดไลค์กดแชร์กดติดตามกดกระดิ่งด้วยนะครับ ขอบคุณมาก

พาราเมดิก เงินเดือนเท่าไหร่
พาราเมดิก เงินเดือนเท่าไหร่

พยาบาลห้องฉุกเฉิน VS พยาบาลห้องฉุกเฉิน ต่างกันยังไง? l สร้างคำตอบ

คณะแพทยศาสตร์ฉุกเฉิน ม.มหาสารคาม

 

แนะนำสาขาเวชศาสตร์ฉุกเฉิน คณะแพทยศาสตร์มหาวิทยาลัยมหาสารคาม วิดีโอแนะนำสาขาการแพทย์ฉุกเฉินเกี่ยวกับการเป็นแพทย์ สามารถรับชมได้ที่ลิงค์นี้ https://www.youtube.com/watch?v=6HV42f_Uf78

คณะแพทยศาสตร์ฉุกเฉิน ม.มหาสารคาม

คลิปนี้คุณมาเรียน “แพทย์พยาบาลรามาธิบดีมหิดล” ได้อย่างไร? •..•

 

ขอบคุณทุกคนที่ติดตามและสนับสนุนมุกมาโดยตลอด 💗✨ มีคำถามอยากให้มุกทำคลิปอะไร คอมเม้นไว้เยอะๆ นะคะ มุกจะตอบทุกคอมเม้นเลย ชอบๆ

มาเรียนได้ยังไง

หลักสูตรประกาศนียบัตร ภาควิชาการแพทย์ฉุกเฉิน

 

หลักสูตรประกาศนียบัตร ภาควิชาการแพทย์ฉุกเฉิน

จะเรียนรู้ปฏิบัติการฉุกเฉินรามาธิบดีได้อย่างไร? ส่วนที่ 2 ถาม-ตอบ [by We Mahidol]

 

ทุกคำถาม พีพีมีคำตอบสำหรับคำถามที่นักศึกษาสงสัยเกี่ยวกับสาขาปฏิบัติการการแพทย์ฉุกเฉิน คณะแพทยศาสตร์ รพ.รามาธิบดี ม.มหิดล แพทย์ฉุกเฉินต้องมีคุณสมบัติอย่างไร? ฉันต้องเตรียมอะไรบ้างในการเรียน? แล้วถ้ากลัวเลือดจะเรียนได้ไหม? ผู้หญิงจะเสียเปรียบผู้ชายเมื่อมาโรงเรียนหรือไม่? หาคำตอบร่วมกันได้ใน “เรียนแพทย์ฉุกเฉิน รามาธิบดี ม.มหิดล เป็นยังไงบ้าง” WeMahidol Mahidol เรียนมหิดลเป็นอย่างไรบ้าง? ปฏิบัติการการแพทย์ฉุกเฉิน รามาธิบดี YouTube : เรา มหิดล Facebook : http://www.facebook.com/wemahidol Instagram : https://www.instagram.com/wemahidol/ Twitter : https://twitter.com/wemahidol University Mahidol University Mahidol University : https://www.mahidol.ac.th/th/ เว็บไซต์ : https://channel.mahidol.ac.th/

จะเรียนรู้ปฏิบัติการฉุกเฉินรามาธิบดีได้อย่างไร? ส่วนที่ 2 ถาม-ตอบ [by We Mahidol]

เจ้าหน้าที่การแพทย์ฉุกเฉิน 290 ราย ร้องเรียน สธ. ไม่ระบุชื่ออยู่ในระบบ คสช. : สถานีร้องเรียน (23 มิ.ย. 63)

 

เจ้าหน้าที่การแพทย์ฉุกเฉินร้องกระทรวงสาธารณสุข หลังพบเจ้าหน้าที่ 290 ราย ไม่ระบุชื่ออยู่ในระบบ คสช. ขณะที่กระทรวงสาธารณสุขเตรียมช่วยส่งเรื่องให้สำนักงาน ก.พ. หรือ ก.พ. ให้ไปบรรจุ ในเดือนกันยายน. สามารถติดตามชมรายการสถานีประชาชนในอดีตได้ http://www.thaipbs.or.th/People กด Subscribe ติดตามรายการดีๆของช่องได้ที่ : http://goo.gl/hdy2ye และติดตาม Thai PBS ออนไลน์ได้ที่ Website : http://www. thaipbs.or.th Facebook : http://www.fb.com/ThaiPBSfan Twitter : http://www.twitter.com/ThaiPBS Instagram : http://www.instagram.com/ThaiPBS LINE : http://www.thaipbs.or.th www.thaipbs.or.th/AddLINE YouTube : http://www.youtube.com/ThaiPBS

เจ้าหน้าที่การแพทย์ฉุกเฉิน 290 ราย ร้องเรียน สธ. ยันไม่ระบุชื่ออยู่ในระบบ คสช. : สถานีร้องเรียน (23 มิ.ย. 63)

พาราเมดิกคืออะไร? ระบบการแพทย์ฉุกเฉินทำอย่างไร? แจงแบบจุก!

 

ขอขอบคุณทุกท่านมากที่ให้ความสนใจระบบการแพทย์ฉุกเฉินและอาชีพแพทย์ คลิปนี้พยายามอธิบายให้เข้าใจง่ายที่สุด เนื้อหาอาจไม่สมบูรณ์ เพราะรายละเอียดค่อนข้างเยอะจริงๆ ซึ่งน่าจะเพียงพอเพื่อเป็นแนวทางให้น้องๆที่สนใจและคนทั่วไปที่ต้องการเข้าใจระบบและหน้าที่ของ Paramedic ขอขอบคุณทุกท่านที่ติดตามและสนับสนุนเรื่องตลกมาโดยตลอด อย่าลืมกด like กด Subscribe เพื่อเป็นกำลังใจให้กัน และ Comment พูดคุยกันนะครับ หากผิดพลาดประการใดก็ขออภัยไว้ ณ ที่นี้ด้วย

พาราเมดิกคืออะไร? ระบบการแพทย์ฉุกเฉินทำอย่างไร? แจงแบบจุก!

พยาบาลจบใหม่เงินเดือนเท่าไหร่?

 

เงินเดือนเอกชน/รัฐบาล

พยาบาลจบใหม่เงินเดือนเท่าไหร่?

ผิดหวัง จนท.ฉุกเฉิน ร้อง สธ. วางตำแหน่งไม่เป็นธรรม |

 

เจ้าหน้าที่การแพทย์ฉุกเฉินหลายสิบคนรวมตัวกันเพื่อบุกกระทรวงสาธารณสุข เรียกหาตำแหน่งข้าราชการที่ไม่เป็นธรรม หลัง ครม.มีมติให้เพิ่มตำแหน่งข้าราชการในราชการช่วงโควิด-19 แต่บุคลากรทางการแพทย์ฉุกเฉินไม่มีสิทธิ์รับราชการ ติดตามข่าวสารเพิ่มเติมได้ที่เว็บไซต์ https://www.pptvhd36.com และช่องทางโซเชียลมีเดีย Facebook : https://www.facebook.com/PPTVHD36 Twitter : https://twitter.com/PPTVHD36 Instagram : https://www.instagram.com/ pptvhd36 / ไลน์ทีวี : https://tv.line.me/st/pptvhd36

ผิดหวัง จนท.ฉุกเฉิน ร้อง สธ. วางตำแหน่งไม่เป็นธรรม | .

>>Castu เราหวังว่าข้อมูลนี้จะมีคุณค่าอย่างยิ่งสำหรับคุณ ขอบคุณมากที่รับชม.

คำหลักเกี่ยวข้องกับเนื้อหาเวช กิจ ฉุกเฉิน เงินเดือน.

#8คำถามเกยวกบนกฉกเฉนการแพทย

paramedic,นักฉุกเฉินการเเพทย์,เด็ก63,เรียนต่อ

8คำถามเกี่ยวกับนักฉุกเฉินการแพทย์

เวช กิจ ฉุกเฉิน เงินเดือน.

เป็นเรื่องง่ายที่คนไทยจะได้รับการช่วยเหลือในกรณีฉุกเฉิน เพียงแค่หยิบโทรศัพท์ข้างๆขึ้นมาแล้วโทร “1669”

นักปฏิบัติการฉุกเฉินการแพทย์(PARAMEDIC), เจ้าพนักงานฉุกเฉินการแพทย์(AEMT), พนักงานฉุกเฉินการแพทย์(EMT), อาสาสมัครฉุกเฉินการแพทย์(EMR) พวกเขาเหล่านี้คือบุคลากรในวิชาชีพ “ปฏิบัติการฉุกเฉินการแพทย์” หรือเดิมที่เรารู้จักกันในชื่อ “เวชกิจฉุกเฉิน” พวกเขาเหล่านี้เตรียมพร้อมและรอคอยเวลาที่จะช่วยชีวิตคุณทุกวินาที ซึ่งต้องยอมรับว่างานนี้ไม่ใช่เรื่องง่าย และไม่ใช่ว่าใครจะทำก็ได้ด้วยเพราะกฏหมายและความเป็นวิชาชีพเฉพาะที่เชี่ยวชาญด้านการแพทย์ฉุกเฉิน

ไม่ใช่ทุกวิชาชีพด้านการแพทย์จะทำงานเหมือนกัน ไม่ใช่ว่าการช่วยเหลือจะเหมือนๆกันในทุกครั้งที่ปฏิบัติงาน และไม่ใช่ทุกความช่วยเหลือที่โทรมาร้องขอจะมีภาวะคุกคามชีวิต แต่มันเป็นปัญหาที่เกิดขึ้นและต่างต้องการความช่วยเหลือ และบางครั้งต้องใช้เวลานานนับชั่วโมงในที่เกิดเหตุหรือมากกว่านั้น

เพื่อให้เราเข้าใจในบริบทการทำงานของวิชาชีพนี้มากขึ้น เราจะพาไปพูดคุยกับ ไอราพต โพธิ์แหบ, เจ้าพนักงานฉุกเฉินการแพทย์, นักวิชาการสาธารณสุข, และวิทยากรฝึกอบรมหลักสูตรต่างๆด้านการแพทย์ฉุกเฉินของโรงพยาบาลธวัชบุรี จังหวัดร้อยเอ็ด

ช่วยเล่าเกี่ยวกับการทำงานในปัจจุบัน และทำงานนี้มานานแค่ไหนแล้ว?

ปัจจุบันผมอยู่วงการการแพทย์ฉุกเฉินมา 4 ปี โดยเริ่มจากการสอบคัดเลือกเข้าศึกษาในหลักสูตร ปวส.เวชกิจฉุกเฉิน ที่ วสส.ขอนแก่นเป็นเวลา 2 ปี หลังจากผมเรียนจบและเริ่มทำงานตอนอายุ 19 ปี ในการทำงานช่วยชีวิตผู้คน และต้องใช้เวลาเสาร์-อาทิตย์ในการเรียนต่อเนื่องจนจบหลักสูตรสาธารณสุขศาสตรบัณฑิต และปัจจุบันกำลังศึกษาในระดับปริญญาโท หลักสูตรสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิตที่มหาวิทยาลัยมหาสารคาม

ทำไมถึงเลือกที่จะมาเรียนและได้ทำงานในอาชีพนี้?

ก่อนที่ผมจะเข้าสู่วงการการแพทย์ฉุกเฉินต้องขอย้อนไปในอดีตว่าผมคลุกคลีกับการเจ็บป่วยของคนอื่นมาตั้งแต่ยังเด็ก เนื่องจากที่บ้านผมเปิดคลีนิค ซึ่งชุมชนที่ผมอาศัยที่ห่างไกลความเจริญ ห่างไกลโรงพยาบาลเกือบชั่วโมง และทุกๆเช้าก่อนไปเรียนและหลังโรงเรียนเลิกผมจะต้องตื่นขึ้นมาช่วยแม่จัดเตรียมคลีนิครวมไปถึงจัดยาต่างๆ ซึ่งด้วยความที่เป็นชุมชนที่ห่างไกลความเจริญผมต้องเจอทั้งผู้ป่วยทุกชนิดทั้งฉุกเฉินและไม่ฉุกเฉิน 7 วันต่อสัปดาห์ 365 วันทั้งปี

พอผมโตขึ้นผมมีความตั้งใจไว้ว่าผมจะต้องเชี่ยวชาญในสิ่งที่แม่ผมท่านไม่เชี่ยวชาญ นั่นคือ “การช่วยชีวิตโดยการแก้ใขภาวะคุกคามชีวิตนอกโรงพยาบาล” เพื่อให้ชาวบ้านในโซนพื้นที่ใกล้เคียงกันได้มีโอกาสรอดชีวิตที่มากกว่าแต่ก่อน

ในส่วนของการทำงาน แนวทางในการเข้าศึกษา และประสบการณ์ในการทำงานที่ผ่านมาเป็นยังไง?

ในการที่จะเข้ามาเป็นเจ้าพนักงานฉุกเฉินการแพทย์ หรือที่ส่วนใหญ่คุ้นหูก็ในชื่อ จพ.เวชกิจฉุกเฉิน คือจะต้องสอบแข่งขันเพื่อเป็นนักเรียนทุนของ สสจ. ในจังหวัดตัวเอง จากนั้นก็เข้าศึกษาในสถาบันการศึกษาที่สังกัดสถาบันพระบรมราชชนก และเรียนจนจบการศึกษาในระดับอนุปริญญา คือ ปวส.เวชกิจฉุกเฉิน ซึ่งจะต้องใช้เวลาเรียนตลอด 2 ปี ตอนนั้นเราเรียนกัน 3 เทอมต่อ 1 ปี ไม่มีหยุดปิดเทอม ระหว่างการศึกษาจะมีทั้งการเรียนในห้องเรียน และการฝึกปฏิบัติงาน หรือพูดง่ายๆคือการขึ้นเวรของนักศึกษาฝึกงาน

ในส่วนของระดับอื่นๆได้แก่ นักปฏิบัติการฉุกเฉินการแพทย์(PARAMEDIC) ระดับนี้จะใช้เวลาเรียนทั้งสิ้น 4 ปี มีทั้งภาคทฤษฏีและปฏิบัติเหมือนกัน ซึ่งหลักสูตรที่เปิดสอนนักปฏิบัติการฉุกเฉินการแพทย์จะเป็นคณะแพทยศาสตร์ของมหาวิทยาลัยต่างๆซึ่งปัจจุบันมีดังนี้ (คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา, ภาควิชาเวชศาสตร์ฉุกเฉิน คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล และคณะแพทยศาสตร์วชิรพยาบาล มหาวิทยาลัยนวมินทราธิราช) ซึ่งในแต่ละปีจะมีการรับนักศึกษาเข้าเรียนเพียงไม่กี่สิบคน/แห่งเท่านั้น

ระดับต่อมาคือพนักงานฉุกเฉินการแพทย์ จะเป็นหลักสูตรฝึกอบรมซึ่งผู้ที่จะสามารถเข้าฝึกอบรมจะต้องมัคุณสมบัติตามที่กำหนดเท่านั้น เช่น ผ่านการอบรมในหลักสูตรอาสาสมัครฉุกเฉินการแพทย์และปฏิบัติงานมาแล้วในระยะเวลาหนึ่ง หรือจบการศึกษาในระดับที่กำหนด และอื่นๆตามเงื่อนใขที่ อศป. กำหนด โดยหลักสูตรนี้จะเป็นการอบรม 115 ชั่วโมง โดยแบ่งเป็นทั้งภาคทฤษฏี ภาคปฏิบัติ รวมไปถึงการขึ้นฝึกปฏิบัติงานจริงด้วย

สุดท้ายคืออาสามัครฉุกเฉินการแพทย์ จะเป็นหลักสูตรฝึกอบรมเช่นเดียวกันกับหลักสูตรพนักงานฉุกเฉินการแพทย์ แต่ใช้เวลาฝึกอบรมน้อยกว่าคือ 40 ชั่วโมง และมีทั้งภาคทฤษฏี ภาคปฏิบัติ รวมไปถึงการขึ้นฝึกปฏิบัติงานจริงเช่นกัน

ในการทำงานของผมส่วนใหญ่จะเน้นการช่วยชีวิตนอกโรงพยาบาล ซึ่งก็คือ ณ จุดเกิดเหตุเป็นหลัก เช่น ข้างถนนจุดที่เกิดอุบัติเหตุ ในป่าลึก หรือในบ้านคนที่ต้องการความช่วยเหลือ ซึ่งจะมีการให้ยาฉุกเฉินและการใช้อุปกรณ์ทางการแพทย์แก้ใขภาวะคุกคามชีวิตเพื่อช่วยชีวิตผู้ป่วยฉุกเฉินภายใต้อำนาจ ขอบเขต หน้าที่ หรือคำสั่งการแพทย์ ตามที่กฏหมายกำหนด

คนทั่วไปหรือบางทีบุคลากรทางการแพทย์ด้วยกันยังไม่รู้ด้วยซ้ำถึงความแตกต่างระหว่างผู้ปฏิบัติการแต่ละระดับ จริงๆแล้วมันเหมือนทหารหรือตำรวจ ที่มีระดับยศแตกต่างกัน กล่าวคือยิ่งยศสูงก็จะมี อำนาจ ขอบเขต หน้าที่ในการให้ยาหรือใช้อุปกรณ์รุกล้ำร่างกายบางอย่างได้ตามที่ได้ศึกษาและฝึกปฏิบัติมา ในส่วนของเจ้าพนักงานฉุกเฉินการแพทย์และนักปฏิบัติการฉุกเฉินการแพทย์จะได้ฝึกทักษะและศึกษาเกี่ยวกับกายวิภาคศาสตร์และสรีรวิทยา, พยาธิสรีรวิทยา, Cardiology, Pulmonology, Neurology และเภสัชวิทยา รวมไปถึงการปฏิบัติงานในสภาวะภัยพิบัติและในสถานการณ์พิเศษต่างๆ การดับเพลิง การโรยตัวจากที่สูง การป้องกันตัวแบบต่างๆ การช่วยชีวิตเชิงยุทธวิธี การยกและการเคลื่อนย้าย การช่วยฟื้นคืนชีพขั้นสูง การกู้ชีพและช่วยชีวิตทางน้ำ การเคลื่อนย้ายทางอากาศ ฯลฯ นอกจากนี้จะต้องมีการฝึกทักษะของการใส่ท่อช่วยหายใจ การเจาะปอด การให้สารน้ำทางหลอดเลือดดำ การให้สารน้ำทางใขกระดูก และการให้ยาทางต่างๆ

ในการปฏิบัติงานในที่เกิดเหตุหรือบนรถปฏิบัติการฉุกเฉิน (AMBULANCE) เราจะต้องปฏิบัติงานภายใต้เกณฑ์และวิธีปฏิบัติการแพทย์ (Protocols) ที่กำหนดโดยแพทย์อำนวยการปฏิบัติการ ซึ่งแนวทางปฏิบัติเหล่านี้จะกำหนดให้ต้องปฏิบัติการให้การช่วยเหลืออะไรแก่ผู้ป่วยฉุกเฉินเป็นอย่างต่ำ เช่น ผู้ป่วยทุกรายที่ไม่รู้สึกตัว, เจ็บแน่นหน้าอก, หายใจเร็ว, คลื่นใส้อาเจียน หรือแขนขาอ่อนแรงต้องได้รับการตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ (12-lead ECG)

อะไรบ้างคือการปฏิบัติงานของวิชาชีพนี้แต่คนทั่วไปไม่รู้ และเวลาส่วนใหญ่ในชีวิตผู้ปฏิบัติการฉุกเฉินการแพทย์ทำอะไร?

งานการแพทย์ฉุกเฉินจริงๆแล้วมีหลายมิติมาก ตั้งแต่การป้องกันและลดความรุนแรงเมื่อเกิดการเจ็บป่วยฉุกเฉินขึ้น, การช่วยชีวิตในที่เกิดเหตุ, การช่วยแพทย์ช่วยชีวิตผู้ป่วยฉุกเฉินในห้องฉุกเฉินของโรงพยาบาล, การทำหัตถการต่างๆช่วยกัน, การอบรมเพิ่มความรู้และอัพเดทแนวทางใหม่ๆเสมอ, การค้นคว้าเก็บรวบรวม การทำวิจัยต่างๆ รวมไปถึงทุกครั้งที่ประชาชนที่เจ็บหรือป่วยฉุกเฉินโทร 1669 เราคือผู้รับสายเหล่านั้นก่อนจะส่งเจ้าหน้าที่กู้ชีพ หรือเวชกิจฉุกเฉินระดับต่างๆออกไปให้ความช่วยเหลือตามระดับความรุนแรง และทันทีที่วางสายเราจะต้องเดินทางไปยังจุดเกิดเหตุในระยะเวลาที่กำหนดซึ่งโดยมากคือ 10 นาที และนั่นมันหมายถึงหนึ่งในอันตรายของพวกเราในขณะปฏิบัติงาน

อย่างไรก็ตามในปัจจุบันผู้ปฏิบัติการฉุกเฉินการแพทย์ (EMTs) หรือเวชกิจฉุกเฉินระดับต่างๆยังคงมีความขาดแคลนและยังคงปฏิบัติงานอยู่ทั่วประเทศตลอด 24 ชั่วโมงหมุนเวียนกัน ทั้งหน่วยงานราชการ หน่วยงานเอกชน และภาคมูลนิธิ และถึงแม้ว่าเราทุกคนต่างมีหลายๆสิ่งที่แตกต่างกันในการทำงาน แต่สิ่งที่วิชาชีพนี้เราทำเหมือนกันคือ “การช่วยชีวิตผู้คน แล้วเคลื่อนย้ายนำส่งโรงพยาบาลอย่างปลอดภัย”

อะไรคือสิ่งที่…คนทั่วไปเข้าใจผิดเกี่ยวกับการทำงานของพวกคุณ?

จากประสบการณ์ของผมต้องขอบอกว่าบางคนเรียกผมคนขับรถกู้ชีพ ซึ่งมันเหมือนกับที่คนเข้าใจผิดเรียกตำรวจว่าคนขับรถตำรวจ ทั้งๆที่คนขับรถตำรวจทุกคนคือตำรวจ นอกจากนี้ประชาชนยังคิดว่าหน้าที่ของเราคือการมารับคนเจ็บแล้วเอาไปส่งโรงพยาบาลเท่านั้น จริงๆแล้วเราจะไปโทษประชาชนก็ไม่ได้เพราะระบบ EMS จริงๆเกิดขึ้นเมื่อช่วง พ.ศ. 2535 หรือก่อนนี้เพียงไม่กี่ปี โดยเราได้เปลี่ยนจากให้ผู้ป่วยมาโรงพยาบาลเพื่อช่วยชีวิต แต่เราได้เปลี่ยนเป็นเอาห้องฉุกเฉินทั้งห้องออกไปหาผู้ป่วยฉุกเฉิน เช่น เมื่อมีผู้ป่วยเกิดหยุดหายใจและหัวใจหยุดเต้นนอกโรงพยาบาล ภายใต้มือของพวกเราในชุดปฏิบัติการระดับสูง ไม่มีอะไรที่เราทำไม่ได้เหมือนที่ห้องฉุกเฉินทำเพื่อช่วยชีวิตผู้ป่วยรายนี้

ปกติการทำงานเวลาที่เราใช้ในการทำงานส่วนใหญ่จะอยู่ “จุดเกิดเหตุ” ช่วยชีวิตผู้ป่วยฉุกเฉินจนสามารถสร้างความเปลี่ยนแปลง นั่นคือการกลับมามีชีพจรของผู้ป่วยรายนี้ หรือพิจารณาตัดสินใจให้ยาและสอดใส่อุปกรณ์รุกล้ำร่างกายต่างๆเพื่อแก้ใขและช่วยชีวิตผู้ป่วยจากเงื้อมมือมัจจุราช

ผู้ปฏิบัติการฉุกเฉินการแพทย์ทุกคนเป็นแขนเป็นขาให้กับแพทย์โดยการช่วยชีวิตตั้งแต่ผู้ป่วยยังไปไม่ถึงโรงพยาบาล เราเป็นหูเป็นตาให้ชุมชนและบ้านเมืองของเรา บ้านทุกหลัง ถนนทุกสาย ทุกตรอกซอกซอยเราสามารถเข้าถึงทุกที่นำเรื่องราวของผู้ป่วยฉุกเฉินส่งมอบให้แพทย์ฟังเพื่อวินิจฉัยและรักษา

นอกจากนี้ผู้คนยังมักจะคิดว่างานของเรามีแต่เลือด หรือลำใส้ที่โผล่ออกมา แต่ต้องขอบคุณที่เคสเหล่านี้หายากและไม่ได้มีบ่อยนัก ถึงแม้ส่วนใหญ่การออกเหตุของเราคืออุบัติเหตุจราจรก็ตาม จริงๆแล้วผู้ป่วยที่ต้องการขอความช่วยเหลือในปัจจุบันคือผู้ป่วยที่สูงวัยทั้งเป็นโรคเฉียบพลันและโรคเรื้อรัง และเหตุการณ์เช่นออกไปพาคุณยายลุกขึ้นจากพื้นเหล่านี้มันโอเคกว่าการออกไปเจอรถยนต์ชนกัน (จริงๆแล้วอุบัติเหตุจราจรไทยเป็นอันดับ 2 ของโลกเลยหละครับ)

คนส่วนใหญ่คิดว่าเราเปิดไฟและเสียงไซเรนเล่น แต่ความจริงคือเบื้องหน้าที่รอเราอยู่คือคนที่กำลังจะจากไป หรือในโรคที่เวลามีส่วนสำคัญต่อการได้รับยาให้ทันเวลาเช่น โรคหลอดเลือดหัวใจ โรคหลอดเลือดสมอง เราต้องไปให้ทันเวลา เพื่อให้เกิดความพิการหรือสูญเสียให้น้อยที่สุด และทุกคนจะต้องปฏิบัติตามกฏหมายนั่นคือให้สิทธิแก่รถฉุกเฉินได้ไปก่อน

ปกติแล้วต้องทำงานวันละกี่ชั่วโมง?

หน่วยงานของผมใน 1 วันจะแบ่งเป็น 3 เวร เวรละ 8 ชั่วโมง ซึ่งส่วนมากเราจะทำงานกัน 2 เวรต่อวัน นั่นคือ 16 ชั่วโมง/วัน เช่น เข้าเวร 08.00 น. ลงเวร 00.00 น. แล้ว 8 โมงเช้าวันต่อมาก็มาขึ้นเวรต่อ ซึ่งกลางคืนก็จะมีคนมาขึ้นเวรทดแทนเปลี่ยนกันคือ 00.00 – 08.00 น. แต่ไม่ใช้ทุกหน่วยงานจะเป็นเวรแบบ 8 ชั่วโมง เพื่อนของผมหลายคนขึ้นเวรแบบ 12 ชั่วโมง/เวร บางหน่วยงานขึ้นเวรแบบ 24 ชั่วโมง คือ ทำงานทั้งวัน วันต่อไปหยุด ลักษณะนี้ แต่ก็มีบ้างที่อยู่เวรกัน 2-3 วันติดต่อกันแบบไม่ได้กลับบ้านกันเลยก็มี ยิ่งเป็นช่วงเทศกาลยิ่งไม่ต้องพูดถึง แทบจำทางกลับบ้านไม่ได้ (555…) แต่กลางคืนเวลาไม่มีคนโทรขอความช่วยเหลือเราก็ได้พักบ้างนะครับ

มีเคล็ดลับอะไรที่จะแนะนำเพื่อนๆในวิชาชีพ หรือคนที่กำลังคิดที่จะก้าวเข้ามาทำงานนี้บ้าง?

ผมไม่แน่ใจว่าจะมีเคล็ดลับอะไรที่จะเป็นประโยชน์บ้างนะครับ แต่มีสิ่งที่เราทุกคนควรปฏิบัติต่อผู้ป่วยของเราคือ การปฏิบัติต่อผู้ป่วยทุกคนเหมือนเราปฏิบัติต่อคนในครอบครัวของเรา และอย่าหมดกำลังใจเพราะเราไม่ได้เป็นคนที่ทำให้เหตุฉุกเฉินเหล่านี้เกิดขึ้น หรือถ้ามีคนขอความช่วยเหลือในวันเลวร้ายที่สุดในชีวิตของพวกเขาสิ่งที่เขาคาดหวังคือคาดหวังให้เราช่วยพวกเขา นอกจากนี้เราจะต้องปฏิบัติงานแบบมีสติ ใจเย็น และปฏิบัติงานในฐานะวิชาชีพ ในการทำงานพวกเราจะต้องมีความยืดหยุ่นเสมอเพราะเราทำงานบนความเปลี่ยนแปลงและความแตกต่าง ไม่ว่าจะเป็นผู้ป่วย ที่เกิดเหตุ ยา หรือสภาพการปฏิบัติงานของวงการการแพทย์ฉุกเฉิน

เวลาว่างทำอะไรบ้างที่แตกต่างจากคนอื่นหรือเพื่อนร่วมวิชาชีพ?

ต้องขอบอกว่ารายจ่ายในแต่ละเดือนผมเยอะพอสมควร ด้วยความที่เป็นคนหมั่นแสวงหาความรู้อยู่เสมอในทุกๆเดือนผมจะต้องเข้าอบรมในหลักสูตรต่างๆที่เกี่ยวกับการแพทย์ฉุกเฉินอย่างน้อยเดือนละ 1 ครั้ง นอกจากนี้ยังต้องเสียค่าสมาชิกวารสารวิชาการและวิจัยด้านการแพทย์ฉุกเฉินของต่างประเทศ เพราะในทางการแพทย์จะมีการเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอและงานด้านการแพทย์ฉุกเฉินก็เช่นกัน และผมต้องการให้เพื่อนร่วมวิชาชีพผมได้รับและเข้าถึงข้อมูลใหม่ๆอยู่เสมอ และผมร่วมกับคณะกรรมการสมาคมผู้ปฏิบัติการฉุกเฉินการแพทย์ไทย (EMPAT) ยังช่วยกันตลอดเวลาเพื่อผลักดันทั้งความก้าวหน้าด้านวิชาการและวิชาชีพให้แก่ทุกคนอยู่เสมอ แต่ยังไม่ประสบผลสำเร็จนักเนื่องจากพวกเรายังไม่ได้รับความสนใจสมัครสมาชิกสมาคมกัน

สิ่งที่เลวร้ายที่สุดในการทำงานคืออะไร และมีวิธีจัดการมันอย่างไร แล้วเกิดความเครียดบ้างหรือไม่?

สำหรับผมสิ่งที่เลวร้ายในชีวิตการทำงานคือ “การทำงานกับเด็ก…” คือไม่ได้หมายความว่าผมไม่รักเด็กนะครับ ผมกลับมีความสุขเสมอที่อยู่ใกล้เด็กๆ แต่ในงานของพวกเราจะไม่ได้เห็นเด็กในวันที่ดี เมื่อผมเห็นเด็ก พวกเขาจะนอนอยู่บนพื้นถนนมีผู้ปกครองร้องให้ฟูมฟายปริ่มขาดใจ หรือพวกเขาไม่หายใจหัวใจหยุดเต้น ไม่ก็ตกเป็นเหยื่อของความรุนแรง สำหรับผมงานนี้เป็นงานที่ยากหนักหนาสาหัส และมันจะตามหลอกหลอนไปอีกนาน

คนที่ทำงาน EMS จะเกิดความเหนื่อยหน่ายท้อแท้กายใจมากกว่าคนอื่น โดยทั่วไปคนที่ทำงานนี้จะอยู่ได้ประมาณ 2 ปี ก่อนจะออกไปหางานอื่นที่ไม่ลำบากแบบนี้ทำ ต่อมาคือความเครียดซึ่งมันเป็นธรรมดาของร่างกายซึ่งเราส่วนมากจะมีน้ำหนักเกินและนอนหลับไม่สนิทกัน นอกจากนี้ยังมีอัตราการดื่มแอลกอฮอล์สูง การสูบบุหรี่ อัตราการหย่า แยก และมีความผิดปกติที่เกิดหลังความเครียดที่สะเทือนใจ (Post-Traumatic Stress Disorder : PTSD) ในอัตราสูงกว่าทหารทำการรบ ส่วนตัวหมอวินิจฉัยว่าผมเป็น PTSD, ความดันโลหิตสูงก่อนวัยอันควร, มีนิสัยรัปทานอาหารไม่ดี และนอนหลับไม่สนิท

โห… แล้วงานนี้มีอะไรที่สนุกและน่าภูมิใจบ้าง?

อย่างที่รู้คือ “เราช่วยชีวิตคนอื่น” บางวันผมเริ่มด้วยอาการเบลอ มันเป็นเรื่องง่ายในแต่ละวันของผมที่จะเจออะไรที่น่าเบื่อ ออกเหตุไปเจอคนเมาอาละวาด ผู้ป่วยจิตเวชคลุ้มคลั่งโวยวายวิ่งไล่ทำร้ายเจ้าหน้าที่ (หึหึ) ผู้ป่วยใช้สารเสพติด บางคนที่ขาดการบำบัด สิ่งสำคัญที่ผมภูมิใจในงานนี้คือ : ช่วยให้คุณแม่มือใหม่ได้ยินเสียงหายใจแรกของลูกน้อย หรือเพียงแค่พยุงคุณยายของคนอื่นลุกขึ้นจากพื้นห้อง รวมไปถึงการได้รับคำขอบคุณ (ซึ่งจริงๆแล้วหาได้น้อยมากที่จะมีใครขอบคุณเรา) ซึ่งนั่นเป็นสิ่งที่ทำให้ผมรู้สึกดี เมื่อไม่นานที่ผ่านมามีคนไข้ขับมอเตอร์ไซค์คว่ำมีอาการบาดเจ็บที่ศีรษะและมีลมรั่วในช่องเยื่อหุ้มปอด ผมและทีมสามารถช่วยชีวิตไว้ได้ ไม่กี่เดือนถัดมาผู้ป่วยคนนี้และครอบครัวขอเข้าพบผมที่โรงพยาบาลเพื่อคุยด้วย ถึงแม้ว่ามันจะเป็นเรื่องยากที่จะฟื้นตัวหลังจากบาดเจ็บที่สมอง แต่เขาก็ฟื้นตัวสมบูรณ์ ผมจ้องมองใบหน้าเขาตอนที่เขาบอกว่าผมคือ หมอที่เก่งสำหรับเขาและเขาติดหนี้บุณคุณผม แต่ก็อย่างว่าผมไม่ใช่หมอ ผมเป็นผู้ปฏิบัติการฉุกเฉินการแพทย์ และไม่ควรต้องมีใครมาติดหนี้บุญคุณใครเพราะผมเองก็เพียงแค่ทำตามอำนาจหน้าที่

การทำงานลักษณะนี้จริงๆแล้วได้เงินเดือนเท่าไหร่ และคาดหวังอะไรได้บ้าง

สำหรับผมเงินเดือนสายวิชาชีพนี้เป็นอะไรที่ต่ำถึงยอดแย่สุดๆ ผมจบออกมาใหม่ๆเงินเดือนเริ่มต้นเดือนแรกของผมไม่ถึงเก้าพันด้วยซ้ำ ซึ่งต่างจากเงินเดือนของกู้ชีพในประเทศที่พัฒนาแล้วอย่างเทียบไม่ได้ที่โน่นเขาได้กันอย่างต่ำคือเดือนละแสน นี่ของเราอย่าไปพูดถึงหมื่น เงินสิทธิประโยชน์อื่นๆก็ไม่ได้ จะพูดว่าเหลื่อมล้ำก็ไม่ได้เพราะมันไม่มีค่าอะไรตอบแทนเราบ้างเลย และน่าเสียดายที่วิชาชีพเรามีแต่คนหนุ่มสาว (เพราะส่วนใหญ่คนที่มีอายุเขาทำงานมาหนักพอแล้วก็ลาออกไปหาอะไรทำที่มันได้เงินเยอะกว่า) ซึ่งคนหนุ่มสาวยังต้องทำงานอีกนาน ขอให้วางแผนทางการเงินดีๆในสภาวะเศรษฐกิจฝืดเคืองเช่นนี้

“อย่างไรก็ตามผมเชื่อว่าทำดีซักวันต้องได้ดีบ้าง และมันเป็นเกียรติของผมที่ได้ช่วยชีวิตผู้อื่นในวันที่ตกอยู่ในขุมนรกของชีวิต”

ปัจจุบันคนไทยให้คุณค่าและปฏิบัติต่อพวกคุณอย่างไรบ้าง?

ผมคิดว่าคนทั่วไปให้คุณค่าวิชาชีพนี้ต่ำไปมากจนไม่สนอะไรเกี่ยวกับพวกเราเลย ถ้าเขาจะสนใจพวกเราก็ต่อเมื่อตอนที่พวกเขาต้องการให้พวกเราช่วยชีวิตและต้องการรถกู้ชีพ บางคนทั้งที่มีวุฒิภาวะหรือไม่มีก็จะมีการโทรแกล้งหรือก่อกวน 1669 นอกจากนี้ส่วนใหญ่ยังคิดว่าเราเป็นรถแท๊กซี่สำหรับพาไปโรงพยาบาล ซึ่งนั่นไม่ใช่สิ่งที่ถูกเพราะสิ่งที่เราทำคือสงวนไว้ให้บริการและช่วยชีวิตผู้ป่วยฉุกเฉินที่มีภยันตรายต่อชีวิตเท่านั้น บางคนแค่ไอ เจ็บคอ หรือปวดท้องเท่านั้น และที่บ้านมีรถจอดจนที่จอดเต็มยังโทร 1669 เพื่อให้ช่วยพาไปโรงพยาบาลแต่จริงๆแล้วเราสามารถบอกปฏิเสธและให้คำแนะนำไปเลยก็ได้หากรู้ว่าไม่ฉุกเฉินตั้งแต่แรก หรือด้วยนิสัยถาวรของหลายคนเมื่อเราซักประวัติเพื่อประกอบการตรวจร่างกายมักจะบอกว่า “จะมาถามทำไม โรงพยาบาลเขามีข้อมูลทั้งหมด” ซึ่งนั่นมันเป็นเรื่องจริงและพวกเราไม่สามารถเข้าถึงอาการเจ็บป่วยของคุณในขณะนั้นได้ซึ่งจะทำให้ตัวคุณ ญาติคุณ หรือคนที่คุณรักสูญเสียเวลาและไม่ได้รับการรักษาที่เหมาะสม บางคราคุณอาจต้องเสียเวลาไปหลายชั่วโมงจากพฤติกรรมของคุณเพราะเราไม่มีข้อมูลที่จำเป็นส่งต่อให้แพทย์

มีอะไรจะแนะนำคนที่คิดจะก้าวเข้ามาสู่วิชาชีพนี้บ้าง?

งานในวิชาชีพนี้เป็นงานที่ดีและคุ้มค่าทางจิตใจหากคุณชอบการช่วยผู้อื่น คุณจะได้อยู่ด่านหน้าเมื่อเกิดวิกฤตการณ์ในชีวิตของผู้อื่น คุณจะเป็นความแตกต่างระหว่างการ”อยู่ หรือ ไป”ของชีวิตผู้คน คุณจะอยู่บนรถที่วิ่งได้เร็วกว่าที่กฏหมายกำหนดด้วยแสงและเสียงไซเรน และบางวันชุดของคุณจะโชกไปด้วยเลือด วิชาชีพนี้ลักษณะการทำงานไม่ใช่เรื่องง่ายที่ใครๆจะเข้ามาทำกันก็ได้ คุณต้องมีทักษะ ความรู้ และความสามารถที่จะบริหารจัดการเหตุการณ์วิฤตต่างๆได้

EMS เป็นส่วนหนึ่งของการแพทย์ เป็นส่วนหนึ่งของการสังคมสงเคราะห์ เป็นส่วนหนึ่งของการขอคำปรึกษา เป็นส่วนหนึ่งของนักสืบ และเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตผม มันคืองานที่ผมรักและผมไม่คิดที่จะออกจากวิชาชีพนี้

นักปฏิบัติการฉุกเฉินการแพทย์

Paramedic VS พยาบาลห้องฉุกเฉิน ต่างกันยังไงคะ? l BUILD IN answer

Articles compiled by CASTU. See more articles in category: GENERAL NEWS

50 thoughts on “8คำถามเกี่ยวกับนักฉุกเฉินการแพทย์ | เวช กิจ ฉุกเฉิน เงินเดือน | เว็บนี้ให้ข่าวสารล่าสุดทุกวัน”

  1. จบป.ตรีแล้วอยากไปสมัครได้ไหมคะ ม.ปลายเรียนวิทย์-คณิตค่ะ แต่เกรดน้อยนิดมากค่ะ TT

    Reply
  2. งื้ออออ ติดตามพี่แล้ว อยากเรียนemtมากๆค่ะแต่เลือกไม่ถูกระหว่างemtกับพยาบาลค่ะ

    Reply
  3. น่ารักมากเลยครับ อยากถามเรื่องการเรียนจะตาม facebook ได้ไหมครับ

    Reply
  4. เคยได้ยินมาว่า paramedic มีเรียนสองปีด้วยใช่ไหมค่ะ ถ้ามีมันเเตกต่างจาก4ปี อย่างไรบ้างหรอค่ะ

    Reply
  5. ขออนุญาตสอบถามครับ เสื้อกาวน์ใส่ในเนื่องโอกาสไหนได้บ้างครับ…?

    Reply
  6. พี่คะ หนูห้ามยกของหนัก จะสามารถเรียนคณะนี้ได้ไหมคะ?

    Reply
  7. แล้วถ้าไม่ได้เรียนสายวิทสามารถสอบฉุกเฉินการเเพทย์ได้มั้ยครับ

    Reply
  8. พี่ครับฉุกเฉินการแพทย์ ได้รับราชการมั้ยครับ ?

    Reply
  9. ตอนทำงานจริงใส่เสื้อกาวน์หรือเสื้อ
    สกิลหรอครับ

    Reply
  10. ติวให้ผมหน่อย วิชาภาษาอังกฤษเนี้ย ปัญหาสุดๆผม ไปแบบครึ่งๆกลางๆมาก การปฐมพยาบาลเบื้องต้นเกี่ยวกับการทำCPR

    Reply
  11. พี่คะๆพี่คิดว่าคณะนี้เด็กซิ่วมีโอกาสติดมั้ยอ่ะ เห็นมีแต่คนบอกมหิดลไม่ค่อยอยากรับเด็กซิ่วอ่ะ

    Reply
  12. Just wish to say your article is as amazing. The clarity
    in your publish is just excellent and that i could assume you’re a professional on this subject.
    Fine along with your permission allow me to seize your RSS feed to stay updated with forthcoming post.
    Thank you one million and please keep up the gratifying work.

    Reply
  13. I think this is one of the most vital info for me. And i’m glad
    reading your article. But want to remark on few general things,
    The web site style is perfect, the articles is really excellent : D.
    Good job, cheers

    Reply
  14. Whats up very nice website!! Man .. Excellent .. Wonderful ..
    I’ll bookmark your web site and take the feeds additionally?
    I am happy to seek out numerous helpful info right here in the submit, we
    need work out more techniques in this regard, thank
    you for sharing. . . . . .

    Reply
  15. I believe this is one of the most important information for
    me. And i am happy reading your article. But want to commentary
    on some normal issues, The web site style is great, the articles is really excellent :
    D. Excellent task, cheers

    Reply
  16. Thanks for a marvelous posting! I actually enjoyed reading
    it, you might be a great author.I will be sure to bookmark your blog and
    will often come back in the future. I want to encourage that you continue your great writing, have a nice afternoon!

    Reply
  17. Howdy! I realize this is sort of off-topic however I had to ask.

    Does running a well-established blog such as
    yours require a massive amount work? I’m brand new to writing a blog but I do write in my
    diary everyday. I’d like to start a blog so I can share my own experience and
    views online. Please let me know if you have any kind
    of suggestions or tips for new aspiring bloggers.
    Thankyou!

    Reply
  18. Thanks for finally writing about > 8คำถามเกี่ยวกับนักฉุกเฉินการแพทย์ | เวช
    กิจ ฉุกเฉิน เงินเดือน | เว็บนี้ให้ข่าวสารล่าสุดทุกวัน – CASTU < Liked it!

    Reply

Leave a Comment